แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เหตุผลที่วันไหนไม่ได้ดื่มกาแฟแล้วปวดศีรษะ by กอง บก.



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

 


เหตุผลที่วันไหนไม่ได้ดื่มกาแฟแล้วปวดศีรษะ

กอง บก.
คอลัมน์ ; เทคนิคการสอน
โยคะสารัตถะ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

 

ในชั้นเรียนโยคะ ครูมักจะอธิบายเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมว่า คือการใส่ใจกับสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงในวิถีชีวิต ไม่ใช่แค่การฝึกโยคะวันละ 45 นาที แล้วเหมาเอาว่าพอแล้ว ที่สำคัญทำสิ่งดีๆ ต่อสุขภาพแล้ว ยังต้องป้องกันสิ่งไม่ดีต่อสุขภาพด้วย ตัวอย่างที่ยกบ่อยที่สุดคือ พวกเราครูโยคะส่วนนึงก็ยังกินกาแฟเป็นประจำ

พอยกตัวอย่างกาแฟ การโต้แย้งก็จะดังขึ้นทุกครั้ง "กาแฟไม่ดีตรงไหน?" คือปฏิกิริยาโต้ตอบแรก ในแทบทุกครั้งที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมา วันนี้ ก็เลยขอนำงานวิจัยนี้มาฝาก ไม่ใช่เพื่อจะบอกว่าแกปฟดีหรือไม่ดี แต่เพื่อจะบอกว่า ครูมีหน้าที่นำเสนอข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ พิจารณา การตัดสินใจ เป็นเรื่องของนักเรียน

เคยไหมครับ สำหรับคนที่ดื่มกาแฟทุก ๆ วัน พอวันไหนไม่ได้ดื่มกาแฟแล้วปวดศีรษะ ชนิดหัวแทบแตก มีผลการวิจัยอธิบายที่มาที่ไปแล้ว โดยนักวิจัยแห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์มองต์ และมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ สหรัฐอเมริกา

นักวิจัยจากทั้งสองคณะแพทย์ได้ร่วมมือกันตรวจผลทางสรีรวิทยาเพื่อหาคำอธิบายว่าทำไมคนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟจึงปวดศีรษะ และมีอาการอื่น ๆ ผลการวิจัยครั้งนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์จิตเวช-เภสัชศาสตร์ Psycho-pharmacology ฉบับล่าสุด

วิธีที่นักวิจัยทำคือ นำอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมดมาทำการตรวจคลื่นสมอง (EEG) ตรวจความเร็วในการไหลเวียนเลือดในสมอง (blood flow velocity in the brain) และให้ตอบแบบสอบถาม ขณะเดียวกันก็แบ่งอาสาสมัครโดยการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับคาเฟอีน และกลุ่มที่ได้ยาหลอก โดยไม่มีใครรู้ว่าตัวเองได้รับอะไร

เมื่อถึงเวลาตรวจสอบผลของการได้คาเฟอีนแล้วหยุดกะทันหัน พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองและการไหลเวียนของเลือดในสมองอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยกลุ่มที่ขาดคาเฟอีนพบมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของเลือดในสมอง ตรงนี้นักวิจัยบอกว่านี่แหละเป็นต้นเหตุของการปวดศีรษะ อีกประการคือ คลื่นสมองของอาสาสมัครกลุ่มนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการเพิ่มขึ้นของคลื่นธีต้า (increased theta rhythm) ซึ่งแสดงออกเป็น อาการไม่กระฉับกระเฉง ขาดพลังในการทำงาน นอกจากนี้ในแบบสอบถามที่อาสาสมัครตอบไว้ก็พบทำนองเดียวกันว่าในคนที่ขาดคาเฟอีนจะมีอาการเหนื่อยล้า ไม่ค่อยตื่นตัว ขาดพลัง และสมาธิความจดจ่อไม่ค่อยดี

โดยสรุปคือ เมื่อดื่มกาแฟเป็นกิจวัตรไประยะหนึ่ง พอไม่ได้ดื่มจะเกิดการเปลี่ยนขึ้นทั้งในคลื่นสมอง ปริมาณเลือดไหลเวียนในสมอง และความรู้สึกทางร่างกายของผู้ที่ดื่ม

ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่นักวิจัยพบคือ ในอาสาสมัครที่ดื่มกาแฟจนเป็นนิจสิน เมื่อเวลาผ่านไปนานก็ไม่พบความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ดื่มแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยดื่มกาแฟเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก

ดอกเตอร์สเตซี่ ซิกมอนด์ รองศาสตราจารย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์มองต์ ซึ่งเป็นผู้ทำวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า "สิ่งที่พบนี้ตรงข้ามกับความเชื่อดั้งเดิมของคนทั่วไป การดื่มกาแฟเป็นประจำไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่ม อย่างน้อย ก็ในแง่มุมที่ตรวจ" 

 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 432255เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2011 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท