กรมพระกำแพงอัครโยธิน


กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเป็น พระราชโอรส องค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาวาด พระองค์ประสูติ เมื่อ วัน จันทร์ เดือน 3 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่23 มกราคม พ.ศ.2424 ทรงมีพระนามเดิมว่า   " พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร "

                เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาที่โรงเรียน พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาโอวาทวรกิจ ( แก่น )  เป็นผู้ถวายพระอักษร  เมื่อ พ.ศ.2536 เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศฝรั่งเศส   แล้วไปศึกษาโรงเรียนแฮร์โรว์ในประเทศอังกฤษ ซึ่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ได้ชมเชยว่า พระองค์มีความสามารถ และ พรวิริยะ อุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาได้ทรงเข้าศึกษาวิชาวิศวกรรมที่ตรินิตี้คอลเลจแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริช ตามที่สมเด็จพระบรมชนกนาถกำหนดไว้สำหรับพระองค์เพื่อให้กลับมารับราชการสนองคถณประเทศชาติในสาขานี้  แล้วทรงศึกษาวิชาทหารช่างที่ชัทแทม หลังสำเร็จการศึกษาทรงได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยตรีในเหล่าทหารช่างเมื่อวันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 แล้ว เสด็จไปทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมชั้นสูงจากประเทศฝรั่งเศส    เมื่อสำเร็จการศึกษาได้ประทับทอดพระเนตรงาน  และทรงศึกษาหาความชำนาญอยู่ในประเทศอังกฤษ   กับได้เป็น สมาชิกสถาบันวิศวกรรมช่างโยธาแห่งประเทศอังกฤษ   M.I.C.E. ( Member of the Institute of Civil Engineers ) นับว่าพระองค์ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นสมาชิกของสถาบันนี้ในปี พ.ศ.2447 พระองค์ก็เสด็จกลับประเทศไทย ทรงได้รับพระราชทานยศเป็น  "นายพันตรีเหล่าทหารช่าง"

                  ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2448 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธินฤมล ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์

 ทรงเป็นต้นราชตระกูล "ฉัตรไชย" และทรงมีพระโอรสและธิดารวม 11 พระองค์ คือ

                                พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง มยุรฉัตร

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เปรมบุรฉัตร

หม่อมเจ้าหญิง  ฉัตรสุดา ฉัตรไชย

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง วิมลฉัตร

หม่อมเจ้าหญิง  กาณจนฉัตร ฉัตรไชย

หม่อมเจ้าหญิง  ภัทรลดา ฉัตรไชย

หม่อมเจ้าชาย   สุรฉัตร ฉัตรไชย

หม่อมเจ้าหญิง เฟื่องฉัตร ฉัตรไชย

หม่อมเจ้าหญิง หิรัญฉัตร ฉัตรไชย

หม่อมเจ้าชาย   ทิพยฉัตร ฉัตรไชย

หม่อมเจ้าหญิง พิบูลฉัตร ฉัตรไชย

พระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากร  นอกจากจะทรงรับราชการทหารแล้ว  ยังทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ และทรงวางฐานในกิจการด้านอื่นๆ เป็นต้นว่า การส่งวิทยุกระจายเสียง  การออมสิน  การโรงแรม  การสหกรณ์  การพาณิชย์ การท่องเที่ยว การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การบินทหารบก  และการคมนาคมโดยเฉพาะกิจการรถไฟที่พระองค์ทรงริเริ่มขยาย ปรับปรุงให้มีความเจริญรุดหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ  อันเป็นผลให้พระองค์ได้รับเลื่อนพระอิสริยยศมาโดยลำดับ

พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร   มีพระนามเต็มว่า    " นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินประชาธิบดินทรเจษฎภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฏ์ อเนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดามัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตร์ชัยดิลกบพิตร "

 ะบิดาแห่งกิจการรถไฟสมัยใหม่

เนื่องจากเมื่อพระองค์ท่านเสด็จมาเป็นผู้บัญชาการรถไฟใหม่ ๆ กิจการรถไฟมีคนไทยอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศมีชาวเยอรมัน อังกฤษ อิตาเลียน และชาวเอเซียชาติต่างๆ เช่น ชาวอิเดีย ชาวซีลอน และชาวพม่า พระองค์จึงทรงระดมคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทหารช่าง กรมแผนที่ และคนไทยที่พูดภาษาอังกฤษได้ จากห้างร้านต่าง ๆ ให้เข้ามาทำงานรถไฟ ทรงฝึกฝนคนไทยให้มีความสามารถในกิจการรถไฟด้วยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง ในที่สุดพระองค์ท่านก็ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ รุ่นแรก ๆ ได้ส่งไปสหรัฐอมริกา เพราะในยุโรปเกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาจึงส่งไปยุโรป เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เมื่อนักเรียนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับมารับราชการในกรมรถไฟหลวง ทำให้กิจการรถไฟเจริญก้านหน้ามาจนทุกวันนี้

กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (ผู้ก่อตั้งกองภาพยนตร์ เผยแผ่ข่าว)

กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว มีสำนักงานตั้งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หัวลำโพง (ตรงที่เป็นสะพานนพวงศ์ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานผลิตภาพยนตร์ที่มีอุปกรณ์แล ะบุคคลากรพร้อมมูลแห่งเดียวของสยาม อุปกรณ์สำคัญต่าง ๆ ได้แก่ กล้องถ่าย เครื่องล้างพิมพ์ภาพยนตร์เครื่องพิมพ ์ฟิล์มภาพยนตร์ล้วน เป็นมาตรฐาน สั่งเข้าจากสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกล้องถ่าย ภาพยนตร์ ยี่ห้อมิทเชล ซึ่งเป็นกล้องมาตรฐานของภาพยนตร์ฮอลลีวูด
             หน้าที่หลักของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว คือการผลิตภาพยนตร์ประเภทข่าวสารของ รัฐบาล เพื่อเผยแพร่กิจการต่าง ๆ ของรัฐ เป็นเครื่องมือทำประชาสัมพันธ์ให้รัฐบาล และเป็นเครื่องมือให้ความรู้และอบรมราษฎรในเรื่องต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐ นอกจากนี้ยังดำเนินกิจการในลักษณะธุรกิจ รับจ้างถ่ายทำภาพยนตร์ต่าง ๆ แก่เอกชนทั่วไปด้วย
            ความสำคัญของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวดำเนินมาจนกระทั่งปีพ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อได้เกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย บทบาทของกองเผยแผ่ข่าว จึงเสื่อมลงตามลำดับ จนในที่สุดก็ถูกยุบ ไปในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพราะรัฐบาล ได้ให้ความสำคัญกับกรมโฆษณาการแทน

 

หมายเลขบันทึก: 432254เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2011 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท