การทำงานในที่สภาพคนจำกัด ทรัพยากรจำกัด แต่ความต้องการของประชาชนไม่จำกัด ภายใต้ภารกิจที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน เราจะพบกับสภาพที่งานก็ต้องได้ คุณภาพก็ต้องมี สุขภาพดีก็ต้องทำให้เกิด และยังมีอีกหลายมาตรฐานที่ทยอยออกมาเรื่อยๆ คนคิดหลายกลุ่มแต่คนทำกลุ่มเดียว จะทำได้ต้องมีการบูรณาการทุกๆอย่างเข้าด้วยกันให้ได้ ถ้าบูรณาการได้จริงต้องทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ได้รู้สึกว่าทำอะไรมากกว่าการทำงานประจำ ทุกอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน แยกเป็นชิ้นไม่ออก ผมใช้คำว่าสร้างสุขเพราะจะได้มองสุขภาพกว้าง คำว่าสุขนั้นคือคุณภาพชีวิต(Quality of Life)นั่นเอง การสร้างสุขภาพที่มีโรงพยาบาลเป็นฐานคิดนั้นโรงพยาบาลต้องได้คุณภาพและมุ่งไปสู่การสร้างสุขภาพด้วย โดยอาศัยแนวคิดการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร(Total Quality Management :TQM) ในขณะเดียวกันการสร้างสุขภาพที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลางก็ควรใช้แนวคิดการจัดการสร้างสุขภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Healthy Management: :THM) ที่ต้องสร้างสุขภาพหรือทำให้เกิดสุขภาวะทุกคน ทุกงาน ทุกที่และทุกเวลา เป็นลักษณะ Health for All, All for Health แนวคิดหลัก (Core concepts ) ของ THM ดังรูป
<p>แนวคิดหลัก(Core concepts) ของการจัดการสร้างสุขภาพทั่วทั้งองค์กร อธิบายในรายละเอียด ดังนี้</p>
1. Focus on Health(มุ่งเน้นสุขภาวะ) เน้นด้านสุขภาพแบบองค์รวม(Holistic Approach)คือต้องมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย(Physical) จิตใจ(Mental) สังคม(Social)และเชาว์ปัญญา(Spiritual) ต้องมองที่สุขภาพหรือสุขภาวะ(Health)เพราะจะมีความเสี่ยงต่ำ(Low risk)และค่าใช้จ่ายต่ำ(Low cost)
2. Strategic driven(นำพาด้วยกลยุทธ์) ต้องขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ไม่ใช่ขับเคลื่อนด้วยโครงการเด่นหรือโครงการนำร่อง(Pilot project)เพราะจะยั่งยืนและไปได้ทั้งองค์กร เนื่องจากทุกส่วนในองค์กรมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเป็นระบบ(System Approach) จะสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกันได้ ต้องมีผู้นำที่มองการณ์ไกล(Visionary Leadership) และเจ้าหน้าที่มีความตื่นตัวสูงต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน(Agility) ซึ่งแนวคิดนี้เรามักได้ยินว่าเป็นทำเชิงยุทธศาสตร์(Strategy)ไม่ใช่เชิงยุทธวิธี
รายละเอียดฉบับเต็มอ่านได้จาก www.bantakhospital.com ครับ ผมพยายามcopyรูปอยู่แต่ยังทำไม่ได้ ถ้าทำได้จะเอามาลงให้ครับ
</font></font></font></font></font>