แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ ตามแนวคิดของปตัญชลี (๓/๕)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

บันทึก -(๑/๕)- ;  -(๒/๕)-



เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ

ตามแนวคิดของปตัญชลี
(๓/๕)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)

แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ; ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ตุลาคม ๒๕๕๒

 

"ตัสยะ วาจกะห์ ประณวะห์" (๑ : ๒๗) แปลว่า อีศวรนี้แสดงออกมาในรูปของเสียงและอักษร ซึ่งเสียงนี้คือสัญลักษณ์อักษร "โอม"[1] (ૐ ॐOm)

คำว่า "ประณวะ" แยกออกเป็น ประ+ณวะ "ประ" หมายถึง อย่างสมบูรณ์ อย่างรวดเร็ว อย่างแข็งขัน ส่วน "ณวะ" เป็นคำนามมาจากรากศัพท์ว่า "นุ" หมายถึง ๑) กล่าวสรรเสริญ ๒) นำไปสู่เป้าหมายเฉพาะ ดังนั้น "ณวะ" จึงหมายถึง การสรรเสริญและการนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้น "ประณวะ" ก็คือ ๑) การสวดอย่างจริงจัง ๒) เครื่องมือที่มีพลังซึ่งนำไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว ปกติแล้วผู้สวดทุกคนจะมีการอ้อนวอนร้องขอต่อเทพเจ้าที่ตนนับถือเพื่อให้ท่านมีเมตตาและช่วยเหลือเขาให้พ้นจากความทุกข์ยากลำบากทั้งหลาย อาจเป็นไปได้ว่าผู้สวดเกือบทั้งหมดในทุกศาสนาจะมีความคาดหวัง(ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม) ต่อประโยชน์หรือสิ่งดีๆ ที่จะได้จากเทพเจ้าทั้งหลาย ส่วนโอมหรือประณวะอาจจะเป็นการสวดเพียงอย่างเดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกับแง่มุมของการร้องขอประโยชน์ใดๆ ต่อเทพเจ้า โอมเป็นเพียงเสียงหรืออักษรหนึ่งที่มีอยู่ในความจริงและไม่มีความหมายเฉพาะ ในแง่นี้ประณวะหรือโอมอาจจะเป็นการสวดที่ดีที่สุดก็ได้

ประณวะได้รับการกล่าวยกย่องไว้อย่างสูงมากทั้งในโยคะสูตร คัมภีร์พระเวท และในศาสนาซึ่งไม่ได้ยอมรับพระเวทอย่างเช่น พุทธศาสนา และศาสนาเชน บางคนได้ยืนยันว่าประณวะได้ถูกรับมาใช้ในรูปแบบที่บิดเบือนไปจากเดิม ในศาสนาต่างๆ ที่แปลกแตกต่างไปจากศาสนาฮินดูและประเพณีอินเดียอย่างสิ้นเชิง เช่น คำว่า อาเมน และอามิน เป็นต้น ซึ่งเป็นของศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากศาสนายูดา[2] คำถามที่เกิดขึ้นในตอนนี้ก็คือ ทำไมเสียงหรืออักษรนี้จึงได้รับความเคารพนับถือมากเช่นนั้นจนเกือบจะเป็นสากลในแวดวงทางจิตวิญญาณศาสนา?


[1] สัญลักษณ์ ૐ ॐ โอม (Om) หรือ โอมการะ (Omkara) หรือ AUM

[2] Judaism เป็นลัทธิศาสนาของพวกยิว 

 

อ่านต่อ (๔/๕)


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 431957เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2011 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท