แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

การบรรลุเป้าหมายของโยคะด้วยอีศวรประณิธานะ ๔/๔



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

กลับสู่บันทึก -(๑/๔)-; -(๒/๔)-;-(๓/๔)-



การบรรลุเป้าหมายของโยคะด้วยอีศวรประณิธานะ
(๔/๔)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี
แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ฉ.กันยายน ๒๕๕๒

 

อีกประเด็นหนึ่งที่ควรกล่าวถึงคือ อีศวรประณิธานะที่พูดถึงนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เรียบง่ายมาก คนจึงมีภาพในทำนองที่ว่าเขาไม่ต้องทำสิ่งใดๆ เช่น ฝึกอัษฏางค์โยคะ เป็นต้น แต่ที่ได้กล่าวแล้วว่าสิ่งนี้เป็นเพียงแค่คำพูดที่ปรากฏเท่านั้น จริงๆ แล้วในทางปฏิบัติไม่ง่ายเลย ถ้าอีศวรประณิธานะเป็นสิ่งที่ง่าย ทุกคนก็คงเป็นอิสระหลุดพ้นได้อย่างง่ายดาย คงไม่มีใครที่ไม่หลุดพ้น อีศวรประณิธานะอันสมบูรณ์เทียบได้กับการขจัด "ความเป็นตัวฉัน" ให้หมดไปซึ่งจะเข้าถึงได้ก็ด้วยความเพียรอันยิ่งยวดที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน ช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไม่ใช่แค่เป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี แต่อาจจะข้ามไปหลายช่วงชีวิตทีเดียว และความเพียรพยายามนี้ในความเป็นจริงแล้วจะต้องรวมถึงการปฏิบัติอภยาสะ[1]ของทุกๆ แขนงของโยคะ (อัษฏางค์โยคะ)

สรุปได้ว่าโยคะสูตรประโยคนี้ปตัญชลีต้องการบอกว่าการดับการปรุงแต่งของจิตควรจะได้รับการฝึกประกอบกับอีศวรประณิธานะ(การยอมจำนนอย่างถึงที่สุดหรือการละตัวตนอย่างสมบูรณ์) เพื่อให้เกิดผลที่ดีและเร็วกว่านั่นเอง ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งของการรวมการฝึกอีศวรประณิธานะกับการดับการปรุงแต่งของจิตก็เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ของการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โยคีต้องอาศัยอยู่ในโลกและสังคมมนุษย์นี้จนกระทั่งเขาบรรลุไกวัลยะ แม้ว่าเขาจะแยกตัวอยู่ลำพังก็ตาม แต่บางคนก็ยังติดต่อกับสังคมด้วยความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาชีวิตที่เหลือหรือร่างกายด้วย ถ้าโยคีรับเพียงวิธีการดับการปรุงแต่งของจิตโดยการฝึกอัษฏางค์โยคะ นั่นย่อมเป็นการซ่อนอันตรายไว้อย่างน่ากลัวเพราะเขาอาจพัฒนาจิตใจที่แข็งกระด้างหรือแม้แต่บุคลิกภาพที่โหดร้ายขึ้นมา(จากการที่ยังมีความยึดถือในตัวตนสูง) การฝึกอีศวรประณิธานะไปพร้อมกันด้วยจะช่วยลดผลกระทบนี้และทำให้เขาอ่อนโยนลง ดังนั้นเขาจึงมีบุคลิกภาพที่เปี่ยมด้วยความรักและความเมตตาเนื่องจากอีศวรประณิธานะมีนัยของการอุทิศ การยอมจำนน หรือการรัก(ต่อเทพเจ้า)นั่นเอง

 

[1] อภยาสะ คือ ความเพียรที่จะฝึกฝนปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสภาวะหนึ่งเพื่อให้เกิดหรือเข้าถึงสภาวะที่มีเสถียรภาพ (ปตัญชลีโยคะสูตร ๑ : ๑๒) 

 

เอกสารอ้างอิง :

๑) Karambelkar, P. V. (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

๒) Philosophico Literary Research Department, (1991). Yoga Kosa. Lonavla : Kaivalyadhama.

๓) Feuerstein, Georg. (1998). The Yoga Tradition. Arizona : Hohm Press.


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 430977เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท