แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

การบรรลุเป้าหมายของโยคะด้วยอีศวรประณิธานะ ๓/๔



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

กลับสู่บันทึก -(๑/๔)-; -(๒/๔)-;



การบรรลุเป้าหมายของโยคะด้วยอีศวรประณิธานะ
(๓/๔)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี
แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ฉ.กันยายน ๒๕๕๒

 

ประณิธานะ หมายถึง การยอมจำนนอย่างสมบูรณ์ เมื่อทำได้อย่างสมบูรณ์บุคลิกภาพและความมีตัวมีตนของผู้นั้นจะสูญสลายไปอย่างสิ้นเชิง แม้แต่การยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่มีอยู่เดิมก็จะดับหายไปด้วย หนทางที่จะเข้าถึงอีศวรประณิธานะอย่างสมบูรณ์เช่นนั้นก็คือการบรรลุถึงขั้นสุดท้ายของโยคะหรือสภาวะไกวัลยะนั่นเอง ตราบใดที่ร่องรอยของ "ความเป็นตัวฉัน" ยังคงเหลืออยู่แสดงว่าการยอมจำนนนั้นยังไม่สมบูรณ์ในระดับที่มากพอ เราจึงเห็นได้ชัดว่าความสมบูรณ์ของอีศวรประณิธานะร้อยเปอร์เซ็นต์นี้เป็นสิ่งที่ยากมากที่จะฝึกปฏิบัติและเข้าถึงได้

บ่อยครั้งที่มีผู้เห็นว่าโยคะของปตัญชลีก็คือราชโยคะ[1] (Rajayoga) อย่างน้อยก็เห็นได้จากตำราโดยเฉพาะในหน้าท้าย สิ่งนี้ดูเหมือนจะไม่อาจเชื่อได้อย่างแน่นอน ชื่อที่ถูกต้องของโยคะของปตัญชลีควรจะเป็นอัษฏางค์โยคะหรือปตัญชลโยคะ (Patanjala Yoga) ดังนั้นโยคะที่อธิบายในปตัญชลีโยคะสูตรเหล่านี้จึงไม่ใช่สำนัก(หรือสาย)หนึ่งของโยคะที่สามารถพิจารณาอย่างเฉพาะเจาะจงในฐานะที่เป็นสำนักโยคะและตั้งชื่อว่า ราช (Raja) อย่างไรก็ตามหากคำว่าราชโยคะถูกแปลความว่าเป็นราชาในหมู่ของโยคะทั้งหลาย กล่าวคือโยคะที่มีความเป็นเลิศซึ่งรวมเอาแก่นแท้ของโยคะสำนักต่างๆ เอาไว้ เช่นนั้นแล้วโยคะสูตรของปตัญชลีก็มีแนวโน้มจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นราชาโยคะได้ เมื่อพิจารณาถึงแก่นของภักติโยคะ[2] (Bhaktiyoga) และกรรมโยคะ[3] (Karmayoga) ซึ่งเป็นสำนักโยคะที่เป็นอิสระและแตกต่างกัน ความสมบูรณ์ของภักติจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ฝึกปฏิบัติได้ยอมจำนนต่ออีศวร[4]อย่างสิ้นเชิง และเช่นเดียวกันสาระสำคัญของกรรมโยคะก็คือการทำกรรมด้วยทัศนคติที่ว่ากำลังกระทำสิ่งนั้นด้วยพลังแห่งเทพเจ้า และการมองตนเองว่าเป็นเพียงเครื่องมือแห่งการกระทำเพื่อสนองต่อเจตนารมณ์ของพระเจ้าเท่านั้น เมื่อเขาได้ขจัดตัวตนและความเป็นตัวฉันออกไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว นั่นคือเขาได้เข้าถึงการยอมจำนนอย่างสมบูรณ์

 

[1] ราชโยคะ คือ โยคะสำหรับผู้กล้าหาญจริงๆ ในการฝึกจิต แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการตั้งชื่อนี้ก็คือ ราชโยคะอยู่สูงกว่าหรือเหนือกว่าหฐโยคะ เพราะหฐโยคะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถอุทิศตัวอย่างเข้มข้นเพื่อฝึกสมาธิและสละเรื่องทางโลก ดังจะเห็นได้จากผู้ฝึกหฐโยคะในปัจจุบันทั้งชาวอินเดียและชาวตะวันตกที่ส่วนมากแล้วไม่ได้ศรัทธาในเป้าหมายทางจิตวิญญาณหรือแม้แต่พื้นฐานทางจริยธรรม และพบว่าบ่อยครั้งที่ใช้หฐโยคะเป็นเครื่องมือเพื่อฝึกความแข็งแรงและได้สัดส่วนของร่างกาย (ที่มา The Yoga Tradition)

[2] ภักติโยคะ คือ การอุทิศต่อพระเจ้า (ที่มา Yoga Kosa)

[3] กรรมโยคะ คือ การกระทำตามหน้าที่ กรรมโยคีก็คือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของเขาอยู่เสมอโดยปราศจากการยึดติดในผลประโยชน์ที่ได้รับ (ที่มา Yoga Kosa)

[4] อีศวรในที่นี้เป็นชื่อทั่วไปสำหรับเทพเจ้า 

 

(มีต่อ ๔/๔)


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 430975เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท