แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

การบรรลุเป้าหมายของโยคะด้วยอีศวรประณิธานะ ๒/๔



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

กลับสู่บันทึก (๑/๔)



การบรรลุเป้าหมายของโยคะด้วยอีศวรประณิธานะ
(๒/๔)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี
แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ฉ.กันยายน ๒๕๕๒

 

คำว่า "วา" แปลว่า "หรือ" ดังนั้นวิธีของอีศวรประณิธานะก็คือเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ คู่ขนานกัน และสมดุลกันอย่างดีสำหรับการบรรลุถึงเป้าหมายของโยคะในฐานะที่เป็นหนทางแห่งการดับการปรุงแต่งของจิต (จิตตะวฤตตินิโรธะ) ซึ่งได้เคยกล่าวไปแล้วในปตัญชลีโยคะสูตร (๑ : ๒) ดังนั้นผู้ฝึกโยคะสามารถใช้ทั้ง 2 วิธีนี้สลับกันหรือเป็นอิสระต่อกันก็ได้ เหตุผลที่สนับสนุนสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็คือ เส้นทางแห่งโยคะเปิดกว้างต่อผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า เขาสามารถฝึกโยคะเพื่อเข้าถึงเป้าหมายคือไกวัลยะโดยอาศัยหลักของการดับการปรุงแต่งของจิต ซึ่งสามารถบรรลุถึงได้โดยผ่านการฝึกอัษฏางค์โยคะ (มรรค ๘ ของโยคะ) โดยปราศจากความจำเป็นที่จะต้องเชื่อในการมีอยู่จริงของพระเจ้าหรืออีศวร

แต่ความเข้าใจดังกล่าวในประโยคนี้เป็นเพียงความหมายทางทฤษฎีเท่านั้น แท้จริงแล้วอาจจะมียารักษาสองชนิดหรือมากกว่านั้นเพื่อใช้รักษาโรคอย่างสมบูรณ์ ซึ่งยาเหล่านั้นก็มีประสิทธิผลเท่าๆ กัน และยิ่งกว่านั้นยาเหล่านี้ไม่ต้องมีข้อควรระวังเมื่อต้องใช้ร่วมกันอีกด้วย ภายใต้สถานการณ์เช่นนั้นยาเพียงชนิดเดียวอาจเพียงพอที่จะรักษาโรคได้ แต่หากใช้ยาร่วมกันสองชนิดหรือมากกว่าจะให้ผลที่ดีและเร็วกว่า สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและมีเหตุผลมากที่สุดที่จะรวมยาทั้งหลายมาใช้ในลักษณะที่เหมาะสม ในทำนองเดียวกันกับวิธีการของโยคะซึ่งมีทางเลือกอยู่ 2 วิธีคือ การดับการปรุงแต่งของจิต และอีศวรประณิธานะ ไม่เพียงไม่ต้องมีข้อควรระวังระหว่างสองวิธีนี้เท่านั้น แต่ทั้งสองวิธียังใช้ร่วมกันได้อย่างสะดวกอีกด้วย ดังนั้นจึงควรนำทั้งสองวิธีนี้มาใช้ร่วมกัน ในแง่นี้คำว่า "วา" แทนที่จะแปลว่า "หรือ" จึงควรจะแปลว่า "และ" เพื่อเป็นประโยชน์ในเป้าหมายทางการปฏิบัติ

แม้ว่าตามความหมายของคำและการอธิบายในประโยคนี้จะชี้ให้เห็นในเบื้องต้นว่าวิธีการดับการปรุงแต่งของจิตเป็นอิสระจากอีศวรประณิธานะอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีข้อสังเกตว่าวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงการดับการปรุงแต่งของจิตดูเหมือนจะเริ่มต้นด้วยกริยาโยคะ[1] (kriyayoga) และสำเร็จได้ด้วยการฝึกอัษฏางค์โยคะ ขณะเดียวกันทั้งกริยาโยคะพร้อมด้วยนิยมะ[2]ที่มาจากอัษฏางค์โยคะก็นับรวมอีศวรประณิธานะเข้าไปด้วยว่าเป็นองค์ประกอบที่จำเป็น ดังนั้นเมื่อมองอย่างนี้แล้วเราควรเข้าใจว่า แม้ปตัญชลีจะบอกว่าสภาวะไกวัลยะสามารถบรรลุถึงได้ด้วยการดับการปรุงแต่งของจิตโดยปราศจากอีศวรประณิธานะ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องยอมรับเรื่องอีศวร แต่ท่านก็ได้ชี้อย่างชัดเจนตามเป้าประสงค์ของการปฏิบัติว่าจำเป็นต้องอาศัยอีศวรประณิธานะเพื่อบรรลุถึงความสำเร็จขั้นสุดท้ายของโยคะ

 

[1] กริยาโยคะ คือ ตปัส(มีวินัยอดทน) สวาธยายะ(ศึกษาด้านใน) และอีศวรประณิธานะ(การอุทิศ) ทั้ง ๓ อย่างนี้ช่วยขจัดกิเลสให้เบาบาง และเตรียมความพร้อมให้โยคีทำความเพียรเพื่อเข้าถึงเป้าหมายของโยคะ (ที่มา Yoga Kosa)

[2] นิยมะประกอบด้วยข้อควรปฏิบัติ ๕ ประการคือ เศาจะ(ความสะอาด) สันโตษะ(ความพึงพอใจในสิ่งที่มีที่เป็น) ตปัส(มีวินัยอดทน) สวาธยายะ(ศึกษาด้านใน) และอีศวรประณิธานะ(การอุทิศ) ซึ่ง ๓ ประการหลังเป็นกลุ่มของกริยาโยคะดังที่กล่าวในเชิงอรรถที่ ๓ 

 

(มีต่อ ๓/๔)


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 430974เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท