โครงการ นิคมการเกษตรข้าวหอมมะลิ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2555


สนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปแบบของนิคมการเกษตร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการบริหารจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูปและการตลาดให้เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรม

       กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา  ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 11 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน ซึ่งวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานรากภาคการเกษตรให้เข้มแข็งสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอสำหรับผู้บริโภคทุกคนภายในประเทศ มีราคาที่เหมาะสม  และสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนในชนบท เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร และสร้างความสมดุลและมั่นคงของการใช้ผลผลิตการเกษตรเพื่อเป็นอาหารและพลังงาน

      สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด (ส.ป.ก.ร้อยเอ็ด)  ได้จัดตั้งโครงการนิคมการเกษตรข้าวหอมมะลิตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาแบบรายพื้นที่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมุ่งเน้นให้การผลิตทางการเกษตรเป็นฐานแห่งการสร้างรายได้แก่ประชาชนและประเทศชาติ โดยบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปแบบของนิคมการเกษตร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการบริหารจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูปและการตลาดให้เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรม มีการกำหนดพื้นที่ผลิต โดยใช้ศักยภาพทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่   ซึ่งในตำบลทุ่งกุลา  มีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลัก ประมาณ  80 %  ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ประสบปัญหาผลผลิตต่อไร่ตกต่ำ และมีต้นทุนในการผลิตสูง   ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีภาระหนี้สินมาก  โครงการนิคมการเกษตรข้าวหอมมะลิ  ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด  จึงมีแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยแบ่งการดำเนินงานของโครงการฯ ออกเป็น 7  ระยะ เกษตรกรประมาณ 2,100 ราย พื้นที่ประมาณ 35,000 ไร่ (เกษตรกรระยะละประมาณ 300 ราย พื้นที่ระยะละประมาณ 5,000 ไร่)  ดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 – 2554 ในพื้นที่ระยะที่ 1 – 3 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการค้า จากผลการดำเนินงานในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาเกษตรกรแกนนำและเกษตรกรทั่วไปสามารถเพิ่มผลิตจากเดิม 20 – 30 %

         ปี 2555  จึงได้ขยายการพัฒนาในพื้นที่ระยะที่  4  โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อไร่เพื่อการค้า  พร้อมทั้งพัฒนาต่อเนื่องในพื้นที่ระยะที่ 1 - 3 ให้มีเป้าหมายการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิตามระบบ GAP เป็นการดูแลสุขอนามัยของผู้บริโภค  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้แข่งขันได้ โดยเน้นการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกและสร้างรายได้ให้กับประเทศมาก  โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดโลกและมีโอกาสทางการตลาดสูง เป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารเลี้ยงประชากรไทยและประชากรโลก รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป

     ผู้เสนอโครงการ  นางสาวพยอม  ขันสัมฤทธิ์  นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ  ส.ป.ก.ร้อยเอ็ด

หมายเลขบันทึก: 430855เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2011 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท