ตอน การขอย้ายในครั้งแรก...


ตอน การขอย้ายในครั้งแรก...

 

 

 

ตอน...การขอย้ายในครั้งแรก...

 

 

          หลังจากที่ผู้เขียนได้ทำงานที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอทับคล้อ สังกัด สปจ.พิจิตร เป็นเวลา 2 ปี กว่า เมื่อ 29 ตุลาคม 2533 ผู้เขียนก็ได้ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเนินมะปราง สังกัด สปจ.พิษณุโลก สมัยนั้น...เนื่องจากเพื่อให้อยู่ใกล้ ๆ กับบ้านหรือครอบครัวนั่นเอง...แต่อนิจจา!...สปอ.อื่นใน สปจ.พิษณุโลก ไม่มีตำแหน่งให้ผู้เขียนได้ดำรงตำแหน่งมีแห่งเดียว คือ สปอ.เนินมะปราง สมัยก่อนความที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวจึงทำให้ผู้เขียนต้องไปเช่าบ้านอยู่เนื่องจากไม่สามารถที่จะเทียวไป – กลับได้ ผู้เขียนคิดว่า ก็ยังดีที่ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ต่อไปค่อยขยับเข้าไปใกล้บ้านอีกครั้งหนึ่งก็แล้วกัน...เป็นปกติที่ผู้เขียนก็ต้องเทียวกับบ้านทุกสัปดาห์ ไม่มีสัปดาห์ไหนจะไม่ได้กลับ...นี่คือ...”ความรับผิดชอบ” ของผู้เขียนก็ว่าได้ “ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ต่อหน้าที่ของแม่ที่มีต่อลูก ต่อหน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อ – แม่”...

 

 

          ผู้เขียนได้มาดำรงตำแหน่งที่นี่ ได้รับมอบหมายให้ทำงานเกี่ยวกับเรื่อง งานบริหารทั่วไป การรับ – ย้ายเด็กนักเรียน สวัสดิการร้านค้า การขอมีอาวุธปืน งานประชาสัมพันธ์ งานประกาศ ฯ การมอบรางวัล ฯ งานพิธีการต่าง ๆ การเปิดสำนักงาน งานประสานกับส่วนราชการต่าง ๆ ฯลฯ และทุก ๆ เรื่องที่อยู่ในงานบริหารทั่วไป ทำให้ผู้เขียนได้รับประสบการณ์ในด้านการบริหารงานทั่วไป ซึ่งผู้เขียนคิดว่า “เป็นงานเบ็ดเตล็ด ทั่ว ๆ ไป เมื่อไม่มีหน่วยงานใดรับงาน ฝ่ายที่ต้องรับทำงาน ก็คือ “งานบริหารทั่วไป” นั่นเอง...ซึ่งไม่เหมือนกับงานการเจ้าหน้าที่ในครั้งที่ผู้เขียนได้บรรจุรับราชการที่ สปอ.ทับคล้อ ในครั้งแรก...ผู้เขียนได้อยู่ที่นี่ ทำให้ได้เรียนรู้จากหัวหน้างาน ก็คือ พี่ทองสุด นงนุช ซึ่งได้สอนงานให้ผู้เขียนได้มีความรู้ มีประสบการณ์ในด้านงานบริหารทั่วไป เพราะผู้เขียนจะเป็นคนที่ไม่เกี่ยงงาน งานใดที่ต้องช่วยกันเพื่อให้งานได้สำเร็จ ลุล่วง ผู้เขียนก็จะช่วยทำ เพราะนั่นคือ “หน้าที่” เราได้รับเงินเดือนของทางราชการ ผู้เขียนได้เรียนรู้งานบริหารทั่วไปค่อนข้างมาก ๆ เพราะเราอยู่ที่นี่ เราจะอยู่กันในฐานะ พี่ – น้อง มากกว่า เจ้านาย – ลูกน้อง เพราะพวกเราถือว่า “อำนาจ” ไม่มีตัวตน มันเป็นไปตามโครงสร้าง ตำแหน่ง แต่สิ่งที่พวกเราได้รับ นั่นคือ...”ความมีน้ำใจ” ต่อกันมากกว่าสายบังคับบัญชา...

 

 

          บางครั้ง ทำให้ผู้เขียนนั่งทบทวนเรื่องประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่า...”การที่ตัวเราได้ทำงานมาก ๆ ทำให้เราได้รับความรู้ + ประสบการณ์ในการทำงานในแต่ละที่แต่ละแห่งและเป็นประโยชน์สำหรับตัวเราเป็นอย่างมาก”...สมัยก่อนไม่ได้นึกหรอกว่า “ความรู้ตอนนี้จะสามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาในยุคปัจจุบันนี้ได้...เพียงแต่คิดว่า...”ทำงานเพราะใจรักในงานมากกว่า...ทำงานแล้วทำให้ใจเรามีความสุข...เรียกว่า “ทำงานด้วยใจรักในงานมากกว่า”...ไม่คิดที่จะเกี่ยงงาน แม้แต่น้อย...ซึ่งปัจจุบันนี้ พี่ทองสุด ได้เห็นและเคยพูดคุยกับผู้เขียนมาเสมอว่า “เป็นเพราะผู้เขียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จึงมามีตำแหน่งที่ดีได้ในระดับหนึ่งในวันนี้”...

 

 

           เทคนิคการขอย้ายของผู้เขียนในครั้งแรกนี้...ผู้เขียนจะใช้วิธี “ขอพบ ผอ.ปจ.ด้วยตนเอง” นี่คือ..."ความกล้าของผู้เขียนอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนมีอยู่ในตัวเอง"...เพื่ออธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับการย้ายเพื่อขออยู่รวมกับคู่สมรส ดูแลบุตร ดูแลบิดา – มารดา จะเข้าไปเพื่ออธิบายด้วยตัวต่อตัว และก็เขียนคำร้องขอย้ายตามมา...การย้ายของผู้เขียนในแต่ละครั้ง ขอบอกได้เลยว่า...”ไม่เคยเสียเงิน แม้แต่บาทเดียว”...อยู่ที่ระบบคุณธรรมของผู้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้ผู้เขียนภูมิใจมาก ๆ กับการรับราชการ เพราะผู้เขียนได้ตั้งปณิธานไว้ตั้งแต่แรกว่า...”การรับราชการของผู้เขียน จะต้องไม่มีการเสียเงิน”...ได้ย้ายก็ย้าย ไม่ได้ย้ายก็ไม่ต้องย้าย นี่คือ...”อุดมการณ์ในใจของผู้เขียน”...เมื่อตัวเราเองตั้งมั่น ก็ขอให้ตั้งใจให้แน่วแน่ แล้วทำอย่างที่เราตั้งใจไว้...สำหรับใครต่อใครที่เสียเงิน ก็ช่างเขา ผู้เขียนจะไม่นำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง เพราะตัวเราตั้งความหวัง ความมีอุดมการณ์ไว้แล้ว...ใครจะเสียเงินก็ช่างเขา...มันจึงทำให้มาเป็นผู้เขียนในวันนี้ได้...เรียกว่า “มีความภาคภูมิใจกว่ากันเยอะเลยค่ะ”...สมกับคำที่ว่า “คนของพระราชา  ข้าของแผ่นดิน”...ซึ่งฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจผู้เขียนมาตลอดเวลา....

 


อ่านประสบการณ์ชีวิตของการทำงาน "รับราชการ" ทุกฉบับ

ได้จากที่นี่...

ประสบการณ์ชีวิตของการทำงาน "รับราชการ"


 

 

หมายเลขบันทึก: 430852เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2011 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ เห็นด้วยค่ะ

อำนาจ” ไม่มีตัวตน มันเป็นไปตามโครงสร้าง ตำแหน่ง แต่สิ่งที่พวกเราได้รับ นั่นคือ...”ความมีน้ำใจ” ต่อกันมากกว่าสายบังคับบัญชา...

 

หากผู้บริหารคนใหนคิดแบบนี้ก็จะดี เพราะตำแหน่งคือ "หัวโขน" แต่ส่วนมากเมื่อสวมหัวโขน มีอำนาจ ก็มักจะลืมตัวตน น่าเห็นใจจริงๆ

สวัสดีค่ะ

เรารู้จักกันที่ "นครไทย" เจ้าค่ะ

สวัสดีค่ะ

  แวะมาชื่นชมแนวคิดและชีวิตที่ต่อสู้ค่ะ

  ชอบภาพ welcome to my blog ค่ะ น่ารักมาก

ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ...คุณถาวรIco24 + ท่าน ผอ.บวร...Ico24...

 

สวัสดีค่ะ...ครู pole...Ico48...

  • อาจเป็นเพราะสมัยก่อนระบบราชการไทยเป็นระบบศักดินาด้วยกระมังค่ะ...
  • ความมีหัวโขน มันจึงติดมาถึงปัจจุบัน...ซึ่งการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ ถ้าทุกคนที่เป็นข้าราชการได้ทราบ จะเป็นเช่น อำนาจ” ไม่มีตัวตน มันเป็นไปตามโครงสร้าง ตำแหน่ง  จริง ๆ ค่ะ...
  • คงต้องอาศัยเวลาอีกนั่นแหล่ะค่ะ ไม่ทราบว่า "กว่าถั่วจะสุก งาจะไหม้ก่อนหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะค่ะ"...อิอิอิ...
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ...

สวัสดีค่ะ...พี่คิม...Ico48...

  • น้องจำได้จ้า...แล้วอย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะพี่คิม...

สวัสดีค่ะ...คุณถาวร...Ico48...

  • ค่ะ กว่าจะมาถึงวันนี้ เรียกว่า "เหนื่อย" มาก ๆ เลยสำหรับลูกผู้หญิงค่ะ...
  • ไม่ได้สบายอย่างที่ทุกคนเห็นในปัจจุบันหรอกค่ะ...
  • ขอบคุณนะค่ะ...
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท