นวัตกรรมการถ่ายภาพ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร


โจเซฟ เนีนพฟอร์ เนียพซ์ ชาวฝรั่งเศส ได้ใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารไวแสงใส่เข้าไปในกล้องออบสคิวรา ถ่ายภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างบ้านของเขาที่เมืองแกรส

สวัสดีครับ ชาว Gotoknow ทุกท่าน

เนื่องในวันที่ผมอยากเขียน Appreciative Innovation
เรามาย้อนรำลึกถึง "อะไรก็ตาม" ที่ปัจจุบันนี้เราเห็นกันอย่างคุ้นตา
ว่า "มันเกิดขึ้นมาได้ยังไงน้อ" ใครมีสิ่งใดที่อยากจะรู้ว่า เกิดขึ้นมาได้ยังไง
โพสต์ใน Blog ของผมสิครับ ผมจะไปสืบหาความรู้มาให้ น่าสนุกดีออก

เริ่มจาก สิ่งที่ผมประทับใจ (Appreciate) ก่อนเลยนะครับ
ผมเป็นตากล้องสัมครเล่นครับ เป็นงานอดิเรกเล็กน้อย ที่ไม่ได้เดือดร้อนใคร
มาดูกันดีกว่าครับว่า "การถ่ายภาพ เกิดขึ้นมาได้ยังไง"

ย้อนไปที่ภาพถ่ายแผ่นแรกครับ เป็นของชาว ฝรั่งเศส
ชื่อ นีเอปซ์ ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2369 แค่ 185 ปีที่แล้วเองครับ



             รูปถ่ายแผ่นแรกของโลก

 

ผู้ที่ถ่ายภาพคือ โจเซฟ เนีนพฟอร์ เนียพซ์ ชาวฝรั่งเศส
ได้ใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารไวแสงใส่เข้าไปในกล้องออบสคิวรา
ถ่ายภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างบ้านของเขาที่เมืองแกรส (Grass)
โดยใช้เวลานานถึง 8 ชม. และนำแผ่นดังกล่าว
ไปล้างด้วยส่วนผสมของน้ำมันจากต้นลาเวนเดอร์

แล้วชาวอังกฤษชื่อ แมดดอกซ์
ได้ทำแผ่นเงินชุบน้ำยาแห้งสำเร็จ

ต่อจากนั้นก็ใช้ฟิล์มที่ทำจากแผ่นกระดาษ
แผ่นพลาสติกเคลือบสารเจลาติน

จนกระทั่งปัจจุบันเป็นยุค ดิจิตอล กันไปหมดแล้ว

ข้อน่ารู้ โธมัส เรดจ์วูด ชาวอังกฤษประดิษฐ์กล้องและฟิล์มถ่ายรูป
ได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2324

ข้อน่ารู้ กล้องถ่ายรูปเข้ามาในเมืองไทยใน รัชกาลที่ 4

ข้อน่ารู้ กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวกล้องแรก
ประดิษฐ์ขึ้นโดย บ.ไลต์ซ ในปี พ.ศ.2493 เมื่อ 60 ปีที่แล้วเอง

ALMON
บ. ABC Club จก.
www.clubpattana.com
www.facebook.com/clubpattana
[email protected]
083-144-8799
เราพัฒนาองค์กรเปี่ยมสุขด้วยนวัตกรรม

 

หมายเลขบันทึก: 430612เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2011 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีความสงสัยบางประการเกี่ยวกับข้อมูลครับ

อันแรกเลย

ข้อน่ารู้ โธมัส เรดจ์วูด ชาวอังกฤษประดิษฐ์กล้องและฟิล์มถ่ายรูป
ได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2324

พ.ศ. 2324 นี่กำลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือสมัยรัชกาลที่ 1 นะครับ ไม่น่าจะผลิตกล้องฟิล์มในการถ่ายภาพได้นะครับ เพราะแค่ เนี้ยพซ์ ถ่ายภาพแรกก็ปี 2368 แล้ว น่าจะมีความคลาดเคลื่อน และน่าจะเป็น โธมัส เวดจ์วู้ด (Thomas Wedgwood) นะครับ ไม่ใช่ เรดจ์วูด ซึ่ง เวดจ์วู้ด อยู่ในยุคของกล้องออบสคิวรา คือใช้เกลือเงินไนเตรท หลัง ๆ ยุคของ คาร์ล วิลเลี่ยมแล้ว

ข้อที่สอง

ข้อน่ารู้ กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวกล้องแรก
ประดิษฐ์ขึ้นโดย บ.ไลต์ซ ในปี พ.ศ.2493 เมื่อ 60 ปีที่แล้วเอง

พ.ศ. 2493 หรือ ค.ศ. 1950 กล้อง SLR ตัวแรกที่ผลิตโดยบริษัท อี. ไลซ์ (E. Liez) ของเยอรมัน ชื่อยี่ห้อ Hasselblad (ฮาสเซลแบลด) ซึ่งเป็นกล้องที่คลาสสิกและแพงที่สุด

ดังนั้นที่ระบุไว้ว่าบริษัท ไลต์ซ จึงคลาดเคลื่อนนะครับ

ปัจจุบันกล้องยี่ห้องนี้ราคาไม่ต่ำกว่าล้านบาทครับ โดยเฉพาะรุ่นล่าสุดความละเอียด 65ล้านพิกเซล ราคาประมาณ 4 ล้านบาท (ถูกรางวัลที่หนึ่งยังซื้อไม่ได้เลยครับ)


ที่เขียนมานี้ไม่ได้อวดว่ารู้ แต่มาเติมเต็มและสอบถาม แสดงความคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง เผื่อว่าคนอื่น ๆ ที่ไม่รู้เข้ามาอ่านจะได้ไม่เข้าใจผิด และสารสนเทศต้อง ถูกต้อง รวดเร็ว และใช้ประโยชน์ได้

หากผิดพลาดประการใดหรือขัดใจก็ขออภัย และผู้รู้โปรดเติมเต็มความรู้ด้วยเถิด

และ

ข้อน่ารู้ กล้องถ่ายรูปเข้ามาในเมืองไทยใน รัชกาลที่ 4

น่าจะเป็นความนิยมถ่ายรูปนะครับ เพราะกล้องถ่ายรูปเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกในสังฆราช ปาเลอกัว ชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยสมัยนั้นพระนั่งเกล้าได้รับรูปพระนางวิคตอเรียจากอังกฤษ จึงโปรดให้ติดรูปไว้ท้องพระโรง พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย แล้วชาวสยามเรียกว่ารูป เจ้าวิลาด

ต่อมาพระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อำมาตยกุล) ได้ถ่ายรูปเป็นคนแรก และที่ดังในตระกูลนี้ก็คือ หลวงอัคนีนรมิต (จิตร ต่อมาเป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์) ได้เป็นช่างภาพในรุ่นที่ 4 มีร้านถ่ายรูปที่ริมน้ำแถววัดอรุณ การถ่ายภาพสมัยนี้ยังคงเป็นดาแกริโอไทพ์ คือถ่ายลงแผ่นโลหะขัดมัน ไม่สามารถอัดซ้ำได้

และระบบฟิล์มที่ใช้ในยุคก่อนที่เป็นแผ่นพลาสติก หรือเซลลูลอยด์ที่มาแทนเพลทเงินนั้นผลิตในปี 2432 (ค.ศ. 1889) โดย ยอร์จ อีสต์แมน หรือต่อมาคือบริษัท Kodak นั่นเอง หลังจากฟิล์มเซลลูลอยด์ก็พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเลิกใช้กันไม่กี่ปีก่อนหน้านี้

ขออภัยข้างบนเขียนผิดครับ

หลวงอัคนีนรมิต (จิตร ต่อมาเป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์)

ลำดับศักดินาผิด ต้องจากขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ต่อมาเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป (โรงแก๊ส) แต่ทั่วไปเรียกว่า ฟรานซิสจิตร 

ขอบพระคุณ คุณโยธินิน มากๆครับ

อันนี้ผมก็สงสัยเช่นกัน
เพราะที่เอามาลง เป็นการอ้างอิงจาก หนังสือครับ
ชื่อว่า "เขาคิดขึ้นมาได้อย่างไร" อยู่ที่ หน้า 84 ครับ

เป็นการ์ตูนเสริมความรู้ของหลานผมเอง
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ยอมรับความผิดจริงๆ
ยธินินถึงกระนั้น ผมก็ได้เพื่อนความรู้ทางด้าน ถ่ายภาพ เพิ่มอีกคนหนึ่งแล้ว
จริงไหมครับ คุณโยธินิน

ยินดีครับ นานแล้วไม่ได้ไปอุดรธานีไว้มีโอกาสจะแวะไปครับ

ย้อนกลับไปอ่านข้างบนมีผิดอีกนิดที่ผมเขียนว่า

และที่ดังในตระกูลนี้ก็คือ หลวงอัคนีนรมิต 

นายจิตไม่ได้อยู่ในตระกูลอมาตยกุล และชื่อนั้นก็สับสนบางที่ใช้ อัคนีนรมิต บางที่ใช้ อัคนนฤมิตร

ลืมบอกไปว่าผมเองก็ชอบวัฒนธรรมจับถูกสำหรับการพัฒนาบุคลากร แต่ก็แอบใช้วิธีการจับผิดในการพัฒนาคุณภาพเหมือนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท