ทักษะชีวิตผู้ติดยาเสพติด


พฤติกรรมทักษะชีวิตผู้ป่วยยาเสพติด

วันที่ ๒๔-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานีได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับพฤติกรรมสู่การพัฒนาทักษะชีวิตด้วยการฝึกอาชีพ ระยะที่ ๑  โดยในวันที่ ๒๕-๒๖ กพ. ได้รับเกียรติจาก ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง (ดร.ป๊อบ) อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ช่วยปลุกพลังพวกเราชาวศูนย์ปัตตานีให้เห็นช่องทางในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่ชัดเจนขึ้น

 ในวันที่ ๒๔ กพ. พวกเราได้ระดมสมองกันเพื่อหาเป้าหมายหลักสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งก่อนหน้านี้เห็นพ้องกันว่า เป้าหมายหลักก็คือ การไม่กลับไปเสพซ้ำ

เมื่อพิจารณากันอีกหลายๆครั้ง การไม่กลับไปเสพซ้ำนั้นเป็นภาพที่หลายๆฝ่ายต้องการก็จริง แต่นั่นหมายถึงเราต้องพัฒนาให้ผู้ป่วยยาเสพติดเหล่านี้มีทักษะความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 

 Fast Model สูตรรักษา "คนติดยา"?

 FAST model ที่เป็นระบบในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี มีโครงสร้างของการนำครอบครัว(Family)เข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา แต่ในทางปฏิบัติพบว่า เราดึงครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมได้น้อยมาก โดยเฉพาะการวางแผนในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน อีกหนึ่งโครงสร้างคือ การให้กิจกรรมทางเลือก(Alternative treatment activity)แก่ผู้ป่วยยาเสพติดในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ค้นหาความสามารถ ความเก่งในตัวเอง แต่ผู้ป่วยมักไม่ค่อยได้มีโอกาสเลือกมากนัก ส่วนโครงสร้างของการช่วยตนเอง(Self  Help) ใช้กระบวนการให้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถมีพลังจิตใจอย่างเข้มแข็ง  โดยปรับสภาพทั้งพฤติกรรม  เจตคติ  ความรู้สึก  และการสร้างสัมพันธภาพ  จนสามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข แต่เราก็ยังเข้าใจไม่ชัดเจนในกระบวนการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยยาเสพติด ยังไม่มีแบบประเมินพฤติกรรม ส่วนใหญ่เราก็ใช้สูตรเดียวกันหมดในการดูแลผู้ป่วย และสุดท้ายโครงสร้างของชุมชนบำบัด (Therapeutic  community)  ที่ให้แนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางสังคมโดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัด  ซึ่งก็เป็นเครื่องมือในการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยยาเสพติด

 แล้วเราก็พิจารณาเป้าหมายหลักสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในขณะที่เข้ารับการบำบัดรักษา โดยศึกษาจากทฤษฎี งานวิจัย บทความ และประสบการณ์จากทีมสหวิชาชีพ ทั้งพยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักอาชีวิบำบัด โภชนากร ผู้ช่วยเหลือคนไข้ และผู้ผ่านการบำบัด ซึ่งมีจำนวน ๓๑ คน ก็ตกลงร่วมกันว่า

เป้าหมายหลักสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในขณะที่เข้ารับการบำบัดรักษา  คือ

“การมีพฤติกรรมพึงประสงค์”  ซึ่งประกอบด้วย ๓ ทักษะหลัก   ๒๒ ทักษะย่อย  ดังนี้

 ๑. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน ( Daily Life Skills )

     ๑.๑ความสามารถในการบริหารจัดการระบบการเงิน (Managing Personal  Finances)

     ๑.๒.ความสามารถในการเลือกและจัดการงานบ้าน (Selecting and Managing a Household)

     ๑.๓.ความสามารถในการดูแลตนเอง (Caring for Personal Needs)

     ๑.๔.การตระหนักถึงความปลอดภัย (Safety Awareness)

     ๑.๕.ความสามารถในการจัดหา จัดเตรียม และการบริโภคอาหาร (Raising, Preparing and

Consuming Food)

     ๑.๖.ความสามารถในการซื้อและถนอมเครื่องแต่งกาย (Buying and Caring for Clothing)

     ๑.๗.การแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดี (Exhibiting Responsible Citizenship)

     ๑.๘.ความสามารถในการใช้เครื่องนันทนาการและการใช้เวลาว่าง (Using Recreational Facilities

and Engaging in Leisure Activities)

     ๑.๙.ความสามารถในการอยู่ร่วมกับชุมชน (Getting Around the Community)

๒. ทักษะเฉพาะบุคคลและทักษะทางสังคม  (Personal and Social Skills)

    ๒.๑.ความสามารถในการรู้จักตนเอง (Self – Awareness)

    ๒.๒.การสร้างความมั่นใจในตนเอง (Self-Confidence)

    ๒.๓.การแสดงพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Behavior)

    ๒.๔.ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ (Good Interpersonal)

    ๒.๕.ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Independence)

    ๒.๖.ความสามารถในการแก้ไขปัญหา (Problem-Solving)

    ๒.๗.ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น (Communicating with Others)

 ๓. ทักษะการประกอบอาชีพ (Occupational Skills)

    ๓.๑.ความรอบรู้และความสามารถในการสำรวจทางเลือกอาชีพ (Knowing and Exploring

Occupational Choices)

    ๓.๒.ความสามารถในการคัดเลือกและวางแผนทางเลือกอาชีพ (Selecting and Planning

Occupational Choices)

    ๓.๓.การแสดงนิสัยและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทางาน (Exhibiting Appropriate Work

habits and Behavior)

    ๓.๔.ความสามารถในการแสวงหางาน / การรักษาความปลอดภัยและการรักษางาน (Seeking,

Securing, and Maintaining Employment)

    ๓.๕.ความสามารถในการดูแลสุขภาพ (Exhibiting Sufficient Physical and Manual Skill)

    ๓.๖.ความสามารถในการประกอบอาชีพ (Obtaining Specific Occupational Skills)

 สิ่งที่เราต้องทำต่อ ภายหลังจากที่ร่วมถอดบทเรียนกันในวันแรก วันที่สองและสาม ดร.ป๊อบ ก็ได้มาต่อยอดให้พวกเราเข้าใจมากยิ่งขึ้น(อ่านเพิ่มเติมในบล๊อกของดร.ป๊อบ ได้นะคะที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/428656 )

และสุดท้ายที่เราต้องคิดกันต่อเป็นการบ้านคือ ๑.สร้างแบบประเมินการจัดการตนเอง และ ๒. สร้างแบบประเมินทักษะชีวิต(หรือการประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยยาเสพติด)

 ทีมผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับพฤติกรรมสู่การพัฒนาทักษะชีวิตด้วยการฝึกอาชีพ ระยะที่ ๑ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี

 

หมายเลขบันทึก: 429800เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2011 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ทีม Good  Hoope ก็จัดทีมให้คำปรึกษา ลงพื้นที่ ด่านนอก การลดการใช้สารเสพติดในหญิงบริการ ขอบคุณ และจะเข้าไปศึฏษาเพิ่มเติม จากดร. ป๊อบ

ขอบคุณกะย๊ะที่จัดกิจกรรมนี้ อาจารย์ป๊อบสอนสนุกมากและมีบางอย่างที่เคยใช้อยู่และสิ่งใหม่ๆที่นำมาใช้กับผู้ป่วยยาเสพติด คงได้เครื่องมือที่นำมาใช้ต่อไปที่วัดผลได้จริง(คิดว่าอย่างนั้น)จะอยู่เคียงข้างและให้ความร่วมมือต่อไปคะ

                   พี่นุุ้ย

บางครั้งสิ่งที่ทำอยู่ทุกวัน เราอาจมองไม่เห็นคุณค่า ต้องตั้งโจทย์ถามตัวเองอยู่เสมอว่า ที่ทำไปนั้นตอบอะไรได้บ้าง ทำแล้วได้อะไร หรือสิ่งที่จะทำนั้นมีเป้าหมายหลักอะไร แล้วเราจะพบว่าสิ่งที่ทำนั้นมีคุณค่าแค่ไหน

เป็นกำลังใจให้คนทำงานค่ะ

 

แวะมาทักทายและติดตามความก้าวหน้าครับ

แวะมาทักทายและติดตามความก้าวหน้าครับ

เรียน อ.ป๊อบ ขณะนี้พี่มาเป็นอาจารย์อยู่ มอ.แล้วค่ะ แต่ทางทีมงานศูนย์บำบัด ก็ยังทำอยู่ โดยมีพี่ตุ่มดูแลนะคะ ไว้คืบหน้าอย่างไร พี่จะแจ้งไปอีกครั้งนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท