TQF : อัปยศ (ตอนที่ 3 ตอนจบ)


การทำลาย คือ อะไร ?
             1. การกำหนดกรอบคุณวุฒิลึกลงไปถึงการกำหนดอาจารย์ผู้สอนเป็นการใช้อำนาจที่ก้าวก่ายอำนาจบริหารของสถาบันการศึกษาที่เป็นนิติบุคคลภายใต้สภามหาวิทยาลัย และไม่มีกรอบคุณวุฒิของประเทศใดในโลกที่กำหนดในลักษณะเช่นนี้
             2. การกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชาหลัก (วิชาเอก) เมื่อเทียบกับอาจารย์ที่สอนระดับปริญญาตรีในคณะที่เปิดสอนสาขาวิชาหลัก(วิชาเอก) ที่ผู้มีคุณวุฒิปริญญาตรีก็สามารถสอนได้ (เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี)แสดงว่า อาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาเอก หรือ รองศาสตราจารย์ศักดิ์ศรีและความสามารถเท่ากับอาจารย์ปริญญาตรีธรรมดาในสาขาอื่น เป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีและสิทธิในปริญญาของอาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เป็นการกำหนดที่ทำให้เกิดสองมาตรฐาน (Double standard) โดยหน่วยงานที่กำกับมาตรฐานอุดมศึกษาของชาติ
             3. การกำหนดกรอบคุณวุฒิให้ผู้ที่จบไปเป็นครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย เป็นการก้าวล่วงอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คุรุสภา ที่มีหน้าที่กำกับมาตรฐานและออกใบอนุญาตใบประกอบวิชาชีพครู สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ) และสำนักงานการอาชีวศึกษา(สอศ.)ผู้ใช้ครู และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(กคศ.) วิธีคิดที่ใช้อำนาจของ สกอ. กำหนดเกณฑ์บังคับให้หน่วยงานอื่นปฏิบัติ เป็นการใช้ TQF เป็นเครื่องมือในการแสดงอำนาจเหนือหน่วยงานอื่น
             4. การกำหนดว่าจะต้องไม่ใช้งบประมาณเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการและจัดหาคณาจารย์ปริญญาเอกและรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชาเอกดังกล่าวเพิ่มในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เป็นการคิดที่มีอคติมุ่งทำลายความเข้มแข็งของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศที่ผลิตครูออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ มุ่งร้ายต่อสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) ที่มุ่งผลิตครูระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่มีคุณภาพให้เป็นครูในสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่มีทักษะด้านการสอนและการนิเทศก์ที่สามารถบรรจุเป็นครูได้ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เพราะเป็นวุฒิตรงตามความต้องการในการพัฒนาครู ปัจจุบันการบริหารจัดการเรียนการสอน เป็นความร่วมมือระหว่างคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์อยู่แล้ว นอกจากนั้นการบรรจุแต่งตั้งอาจารย์ในคณะต่างๆเป็นอำนาจของมหาวิทยาลัย การกำหนดของ สกอ.จึงเป็นการก้าวก่ายอำนาจการบริหารโดยตรง

             - สกอ. และคณะผู้จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน(อัปยศ) มีคำตอบต่อประเด็นข้างต้น
อย่างไร ? และจะแสดงรับผิดชอบอย่างไร ?

             - องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งมหาวิทยาลัย คุรุสภา สพฐ. สอศ. กคศ. สสวท. รู้สึกอย่างไร ? ต่อการกระทำของ สกอ.

             - สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เคยชี้แจง ท้วงติง แต่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

             วันที่ TQF.อัปยศ สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ประกาศใช้คงมีคำตอบ

คำสำคัญ (Tags): #tqf
หมายเลขบันทึก: 428561เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมครูต้องเรียน 5  ปี  คนเรียนครูมันโง่หรืออย่างไร  มีแต่คนโง่ๆ มาเรียนครูหรืออย่างไร ทำไมครูจึงต้องเรียน  5  ปี  ทำไมไม่เรียน 6 ปีจะได้จบ ระดับปริญญาโทไปเลย  ทำไม  ทำไม   สกอ.  ต้องตอบคำถามเหล่านี้เสียก่อน  การศึกษาถึงจะได้เจริญ 

ขอบคุณครับ อาจารย์ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท