"อารมณ์" ในงานด้านมานุษยวิทยา


อารมณ์เป็นคุณสมบัติที่อยู่ภายในซึ่งทำให้เกิดผลผลิตความรู้ด้านมานุษยวิทยา แต่กระนั้นก็ตาม บางสาขาวิชาก็ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะรับรู้หรือควรที่จะระงับเอาไว้ มิให้ยอมรับเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวาทกรรมทางวิชาการ (academic discourse)
ผู้เขียนได้อ่านบทนำของหนังสือ "Mixed Emotions: Anthropological Studies of Feeling"    โดยมารูสก้า สวาเสค (Maruska  Svasek)  และ เค  มิลตัน (Kay Milton) เห็นว่าหนังสือเล่มนี้น่าสนใจ หากท่านใดสนใจงานด้านมานุษยวิทยา โดยเฉพาะในส่วนงานวิจัยภาคสนาม ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้ที่จะต้องทำงานเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ ก็ไม่ควรที่จะพลาดหนังสือเล่มนี้ บันทึกนี้จึงเป็นเรื่องเฉพาะทางสักหน่อย หวังว่าจะไม่ดูเคร่งเครียดจนเกินไป

 

 “บทนำ: อารมณ์ในมานุษยวิทยา” (Introduction: Emotions in Anthropology) ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ของหนังสือเล่มนี้ว่าต้องการแนะนำให้นักศึกษาและผู้อ่านที่สนใจได้เข้าใจถึงผลงานด้านมนุษยวิทยาเกี่ยวกับอารมณ์   ดังนั้น  วิธีการนำเสนอจึงเป็นแนววิชาการแบบตำราเรียน แต่มีความโดดเด่นน่าสนใจคือการนำเสนอเนื้อหาแนวคิดของนักทฤษฎีหรือนักวิจัยต่าง ๆ อย่างเป็นพัฒนาการหรือสายธารทางความคิดตามลำดับเวลา (Chronologically) ซึ่งแต่ละช่วงเวลา จะมีทั้งการส่งต่อทางความคิดและมีการโต้แย้งถกเถียงกันทางวิชาการ ทำให้เกิดการแตกแขนงแนวคิดออกไปอีกหลายมุมมอง               

     

                                  
โครงสร้างของบทนำดังกล่าวนี้  มีการเรียบเรียงจัดระบบไว้เป็นอย่างดี โดยเริ่มตั้งแต่การปะทะกันระหว่าง “เหตุผล” กับ “อารมณ์   การแตกแขนงแยกสาขาวิชาจิตวิเคราะห์ออกจากวัฒนธรรมและบุคลิกภาพ  การนำเสนอ “วัฒนธรรม” ในมานุษยวิทยา การสร้าง “อารมณ์” เป็นทฤษฎี และการวิจัยภาคสนาม  นอกจากนี้ ยังมีการย่อเนื้อหาบทความทั้งหมดของหนังสือไว้ในบทนำนี้  ซึ่งเปรียบเสมือนแผนที่ในการอ่านหนังสือ Mixed Emotions: Anthropological Studies of Feeling  เล่มนี้  และเพียงแค่ได้อ่านบทสรุปเนื้อหาในบทนำ ก็ทำให้เห็นความสำคัญของอารมณ์ในมานุษยวิทยาซึ่งมีคุณูปการต่อสาขาสหวิทยาการอย่างมาก                                                                                                                                      

  

เราจะทราบว่าบทนำกล่าวถึงอารมณ์ในมานุษยวิทยาว่ามีประโยชน์ในเชิงสหวิทยาการได้อย่างไรนั้น  ในเบื้องต้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ามานุษยวิทยา (anthropology) ก่อน  โดยคำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก anthropos แปลว่ามนุษย์ (man) และ logos แปลว่าการค้นคว้าทำความเข้าใจ (study) เมื่อแปลความหมายตามรากศัพท์ก็คือศาสตร์แห่งการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจมนุษย์[1] เมื่อพิจารณาความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามานุษยวิทยาเป็นศาสตร์ที่กว้างขวางครอบคลุมประเด็น  ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์    จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่ศาสตร์นี้จะมีเนื้อหาคาบเกี่ยว  หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่น ๆ  ในทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  และในทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ชีววิทยา รวมถึงในทางมนุษยศาสตร์ ได้แก่ ปรัชญา และภาษาศาสตร์
                                                                                                                                                      มารูสก้ากล่าวว่าอารมณ์เป็นคุณสมบัติที่อยู่ภายในซึ่งทำให้เกิดผลผลิตความรู้ด้านมานุษยวิทยา  แต่กระนั้นก็ตาม บางสาขาวิชาก็ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะรับรู้หรือควรที่จะระงับเอาไว้ มิให้ยอมรับเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวาทกรรมทางวิชาการ (academic discourse) ซึ่งอาจจะเป็นการทำให้สถานะความเป็นวิทยาศาสตร์ของมานุษยวิทยาด้อยค่าลงไป  ในบริบทของคู่ตรงข้ามระหว่างอารมณ์กับเหตุผลที่มารูสก้าได้ยกมาอธิบาย   ทำให้เห็นชัดเจนว่าทำไมอารมณ์จึงอาจถูกโจมตีได้ง่ายหากว่าไม่มีตัวอย่างผลงานทางวิชาการมาสนับสนุนให้เกิดความกระจ่างชัดเกี่ยวกับบทบาทของอารมณ์ที่มีความสำคัญต่อวงการวิชาการด้านมานุษยวิทยาโดยอารมณ์เริ่มกลายเป็นประเด็นในการศึกษาวิเคราะห์อย่างกว้างขวางมากในงานด้านชาติพันธุ์วรรณาและทฤษฎีเกี่ยวกับอารมณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา
                                                               
มารูสก้ากล่าวถึงวิวัฒนาการที่คล้ายคลึงกันของสาขาจิตวิทยาและสังคมวิทยาที่ว่าการศึกษาแนวสมัยใหม่ของทั้งสองสาขาวิชานี้ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนในการวิพากษ์วิจารณ์ความเป็น               สหวิทยาการของการศึกษาอารมณ์ในด้านสังคมศาสตร์   บทความต่าง ๆ ในหนังสือ Mixed Emotions: Anthropological Studies of Feeling   จะครอบคลุมประเด็นทฤษฎี ได้แก่ สภาวะทาง “ธรรมชาติ” หรือ “วัฒนธรรม” เกี่ยวกับอารมณ์   บทบาทการประกอบสร้างของอารมณ์ในวาทกรรมทางการเมือง (political discourse) และอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม  ความสัมพันธ์ของอารมณ์กับความทรงจำและอิทธิพลของอารมณ์ในงานวิจัยภาคสนาม และเนื้อหาเรื่องราวจากพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ได้แก่ ยุโรป อัฟริกา ญี่ปุ่น และปาปัวนิวกินี      
                       
วัตถุประสงค์ของบทนำนี้เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจด้านมานุษยวิทยาร่วมสมัยเกี่ยวกับอารมณ์ว่ามีที่มาจากไหน โดยย้อนให้เห็นถึงตระกูลความคิดโดยย่อของการศึกษาอารมณ์ในมานุษยวิทยา ซึ่งเกิดการพัฒนาแนวคิดสำคัญขึ้นในอังกฤษและอเมริกา  มารูสก้าจะเริ่มการตรวจสอบข้อสันนิษฐานทางปรัชญาที่เกี่ยวกับธรรมชาติของ “สัญชาตญาณ” (instincts) และ “อารมณ์ “ (passions) และ “ผลกระทบ” (affects) ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดด้านมานุษยวิทยาในยุคแรก ๆ   จากนั้น     จะแสดงให้เห็นถึงความสนใจด้านมานุษยวิทยาในอารมณ์ที่แยกประเด็นการศึกษาออกมาได้อย่างไร      ในระหว่างทศวรรษต้น ๆ ของศตวรรษที่ 20 โดยการมุ่งไปที่ประเด็นความคิดของฟรอยด์ในยุโรป และการพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีวัฒนธรรมและบุคลิกภาพ (Cultural and Personality Theory) ในอเมริกาเหนือ      
                         
ในยุคต้นของการศึกษาเรื่องอารมณ์จะเป็นการศึกษาโดยทางอ้อม   สิ่งที่ศึกษาหลักจะเป็นการทำความเข้าใจการกระทำประเภทต่าง ๆ   จากปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาเริ่มเน้นที่อารมณ์โดยตรงมากขึ้น ได้แก่ การตั้งคำถามธรรมชาติของอารมณ์ (สิ่งที่มีมาแต่กำเนิด, ลักษณะเด่นเฉพาะของมนุษย์ที่เป็นสากล หรือการประกอบสร้างทางวัฒนธรรม) และการเชื่อมโยงไปถึงบทบาทของอารมณ์ในชีวิตทางสังคม  ส่วนหลักของบทความนี้จะอภิปรายมุมมองที่ครอบงำยุคสมัยที่ผ่านมา แนวคิดวัฒนธรรม สัมพัทธ์นิยม (cultural relativism) และทฤษฎีประกอบสร้างนิยม (constructivism) ที่นำไปสู่การเน้นเรื่องวาทกรรม (ที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรม) เป็นหลักในการศึกษาเชิงวิเคราะห์
Carol  R. Ember and Melvin  Ember,  Cultural  Anthropology (Englewood Cliff, New Jersey: Prentice-Hall), 1977, p.4.
Maruska  Svasek, Introduction: Emotions in Anthropology in Kay Milton and Maruska Svasek, Mixed Emotions: Anthropological Studies of Feeling, (Oxford: Berg.), 2005.     

หากท่านใดสนใจเกี่ยวกับการสรุปเนื้อหาบทนำว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ติดต่อขอข้อมูลได้โดยตรงกับผู้เขียนค่ะ ต้องขออภัยอย่างมากที่ไม่สามารถลงในบันทึกนี้ได้หมดด้วยเกรงว่าจะดูวิชาการและมีรายละเอียดมากเกินไป ประกอบกับเป็นเรื่องเฉพาะทางที่อาจจะไม่อยู่ในความสนใจของหลายท่าน จึงขอนำมาลงชิมลางบางส่วนเท่านั้น
                                                                                               ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #anthropology#Mixed Emotions
หมายเลขบันทึก: 428390เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แวะมาเยี่ยมให้อาจารย์นพลักษณ์ ๙ "ขอบคุณ" ครับ ;)...

  • นอกจากคำขอบคุณแล้ว ขอให้อาจารย์นพลักษณ์ ๑๐ Ico48 อยู่คู่ G2K เป็นขวัญใจประชาชนตราบนานเท่านานค่ะ
  • ลงบันทึกนี้แบบนึกว่าจะไม่มีใครเข้ามาอ่านด้วยซ้ำค่ะ ลองลงดู ฉีกแนวดีค่ะ
  • มีข้อมูลความรู้สาขาอื่น ๆ บ้างในบล๊อก อาจจะจุดประกายท่านใดที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ก็ได้ค่ะ
  • ดีใจนะคะที่มาให้กำลังใจ

อยู่ในสิ่งที่ผมสนใจอยู่พอดี

ผมเข้าใจว่า วาทกรรมวิชาการแบบไหน ก็เถลิงอำนาจได้
และไม่มีอะไรที่เป็นกลางทางวิชาการ
มีแต่อำนาจ และการเถลิงอำนาจ ผ่านความรู้ทั้งสิ้น

มนุษยวิทยาเรื่องอารมณ์                 เป็นเงื่อนปมจิตมนุษย์สุดหยั่งได้

มารูสก้าพากเพียรเขียนเอาไว้          ท่านนำมาบอกขยายได้อ่านกัน

เป็นเรื่องดีที่แบ่งปันการเรียนรู้          ได้อ่านดูรู้เข้าใจให้สีสัน

ศิลปะถ่ายทอดดีที่สำคัญ                  เน้นที่นั่นชี้ที่นี่ได้ดีจริง

เรื่องอารมณ์สำคัญในศาสตร์พุทธ     ตั้งจิตหยุดพิจารณาพาแน่วนิ่ง

ค้นหาใจได้ปัญญาหาความจริง         สรรพสิ่งจริงแท้แปรเปลี่ยนไป

ความสามารถท่าน Sila Phu-Chaya    ฝากค้นหาพุทธธรรมนำขยาย

หลายบทความท่านมีที่สื่อไว้             เป็นทานธรรมนำใจให้ถึงบุญ

อารมณ์ที่อยู่เหนือเหตุผล

หรือในทางตรงกันข้าม

เหตุผลที่อยู่เหนืออารมณ์

..

เป็นผลมาจากสัญชาติญานของคนได้มั้ย ครับคุณsila

 

 

..

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่ส่งมอบมาให้ลูกชาย นะครับ

เหตุผลเป็นส่วนของการคิดแบบถูกหรือผิด มีที่มาที่ไปชัดเจน แต่อารมณ์เป็นเรื่องของความรู้สึก ซึ่งอาจจะไม่มีเหตุหรือผลก็ได้

แต่จะบอกว่าอันไหนดีกว่านั้นคงไม่ได้ เพราะทั้งสองอย่างเป็นสิ่งเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต้องสร้างให้มีสมดุล หากมีแต่เหตุผลไร้อารมณ์คงหยาบกระด้าง มีแต่อารมณ์ไร้เหตุผลคงอ่อนไหว ซึ่งทั้งสองอย่างคงไม่ดีแก่ชีวิต โดยเฉพาะโลกที่ซับซ้อนในปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • หากให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
  • ก็อาจจะทำให้ไร้สติได้
  • หากสองสิ่งนี้มีน้ำหนักพอกัน
  • สันติเกิดแน่นอน..นะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท