สระ ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต


ในภาษาสันสกฤต มีสระน้อยมาก เมื่อเทียบกับภาษาไทย ถ้านับโดยย่อ ก็มีแค่ 9 ถ้านับโดยทั่วไป ก็ 13 ตัว (แต่ถ้ารวม ฦๅ เข้าไปด้วย ก็มี 14 ตัว) ดังนี้ครับ

อะ อา, อิ อี, อุ อู, ฤ ฤๅ, ฦ ฦๅ, เอ, ไอ, โอ, เอา

(บางตำราบอกว่ามี 9 เพราะยุบเอาสระสั้นยาว ไว้เป็นสระเดียวกัน จึงเหลือเพียง อะ อิ อุ ฤ ฦ เอ ไอ โอ และ เอา)

 

คราวก่อนผมได้เล่าเรื่องสระ ฤ และ ฤๅ เอาไว้ คราวนี้ของเล่าถึงตัว ฦ และ ฦๅ (ออกเสียง ลิ, ลี) กันครับ

ตัว ฦ และ ฦๅ นั้น ก็คล้ายกับ ฤ และ ฤๅ  คือ ตัวหนึ่งเสียงสั้น อีกตัวเสียงยาว แต่ ฦ ฦๅ นั้น พบได้น้อย กว่า ฤ ฤๅ มาก, และเฉพาะ ฦๅ แล้ว ยิ่งพบได้น้อยยยยยย ลงไปอีก 

โดยทั่วไป ถือว่า มีแต่ ฦ เพียงตัวเดียว นักวิชาการหลายท่านยืนยันว่า ตัว ฦๅ เป็นการประดิษฐ์เข้ามาเพื่้อให้เข้าคู่สั้นยาว เหมือน ฤ คู่ กับ ฤๅ เท่านั้นเอง (มอเนียร์ วิลเลียมส์ บอกว่า "entirely artificial and only appearing in the works of some grammarians and lexicographers")

ดังนั้น ศัพท์สันสกฤตที่ประสมด้วยสระ ฦๅ จะใ้ช้สระ ฦ ก็ได้เหมือนกัน

แต่ในตำราทั่วไปไม่ค่อยจะกล่าวถึงสระสองตัวนี้ครับ

 

ตัวอย่างคำที่ใช้สระ ฦ และ ฦๅ เช่น

-ฦๅ (แม่โคผู้สมบูรณ์) (พบในพจนานุกรมของ มอเนียร์ วิลเลียมส์)

-กฺฦปฺ (เหมาะสม, สำเร็จ) (ออกเสียง กฺลิปฺ หรือ กฺลึปฺ)

-จากฺฦปตฺ (รูปกริยา จาก กฺฦปฺ ข้างบน)

-คมฺฦ (รูปแจกของกริยา คมฺ) (ออกเสียง คะมฺลิ, คะมฺลึ)

ฯลฯ

 

สำหรับ ฦ และ ฦๅ ที่้ใช้ในภาษาไทยนั้น มีอยู่้ไม่กี่ตัว เ่ช่น ฦๅชา, ฦๅสาย, รฦก นี่เป็นวิธีการเขียนแบบโบราณ (ปัจจุบันใช้ ลือชา, ลือสายและ ระลึก) แต่คำทั้งหมดนี้ไม่ได้มาจากภาษาสันสกฤตครับ 

หมายเลขบันทึก: 428324เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตเก็บเข้าำแพลนเน็ตของตัวเองจะได้ตามอ่านง่ายค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท