ผมขออ้างอิงจากบทความ “มหาวิทยาลัยวิจัย” อีกครั้งครับ < Link >
"การบริหารการวิจัยจะต้องใช้หลักการบริหารเพื่อการพัฒนาเสมอไป
การบริหารการวิจัยคงจะมิใช่ทำเพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ทำเพื่อวาง
รากฐานของอนาคต ให้การทำวิจัยมีการพัฒนาต่อไป การทำวิจัยในอนาคต
จะต้องดีกว่าการทำวิจัยในปัจจุบัน สำหรับข้ออุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งมีในปัจจุบัน
จะต้องหายไปในอนาคต
การบริหารงานอาจมองเป็น 2 มิติ คือ
มิติที่ 1 การบริหารงานในแนวราบ การบริหารในมิติที่เป็นแนวราบ
อาจมองเห็นเป็นภาพในการบริหารระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งการบริหารในแนว
ราบนี้อาจเป็นการบริหารที่ใช้ผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ระดับคณะ
มิติที่ 2 การบริหารงานในแนวดิ่ง การบริหารในแนวดิ่งก็จะต้องเป็น
การบริหารซึ่งต้องผ่านคณะและภาควิชาต่าง ๆ ซึ่งบุคคลที่สำคัญที่สุด
ในการบริหารในแนวดิ่งนี้ คือ หัวหน้าภาควิชาและคณบดี ซึ่งมีหน้าที่ที่จะ
ต้องสัมผัสกับรูปการบริหารการวิจัยในระดับต่าง ๆ"
สุดท้าย ผมขอฝากคิดเป็นการบ้านเรื่อง “คณบดีและหัวหน้าภาควิชา กับการบริหาร QA และ KM” อีกหนึ่งเรื่องด้วยครับ
วิบูลย์ วัฒนาธร