รู้เขา รู้เรา : พาทัวร์แบบลอยฟ้า ดูเเปลงนา ที่ไต้หวัน


เรียนรู้ เพื่อความเข้าใจ ในการจัดการเเปลงนาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

กดไปชม  : Organic Taiwan  เค้าโปรโมทเป็นเรื่องเป็นราวครับ 

 

 

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยว และดูงานนาที่ไต้หวัน เมื่อ ต้นเดือน ต.ค.53

เป็นช่วงที่ทุ่งนาส่วนใหญ่ได้ทำการปักดำไปแล้ว เป็นรูปที่ถ่าย บนทางด่วนครับ

                    สวยงาม เป็นระเบียบ เป็นแถวเป็นแนว ไม่มีหญ้ารกในนา  ...

 

ไต้หวันเป็นเกาะ พื้นที่ตั้งอยู่บน วงเเหวนไฟ มีภัยเเผ่นดินไหวบ่อย แต่ก็เป็นประเทศที่ไม่เคยหยุดก่อสร้าง สองข้างทางเต็มไปด้วยงานก่อสร้าง ถนนลอยฟ้า ถนนใต้ดิน  

ความสามารถของประเทศที่ทรัพยากรที่ดินน้อย ก็คือ การจัดการที่มีประสิทธิภาพด้วยคนที่มีคุณภาพ 

"พื้นที่ราบลุ่ม" เป็นพื้นที่ ผลิตอาหารเลี้ยงคนในประเทศ

"พื้นที่เชิงเขา"  ตอกเสาเข็ม แล้วก็ยกทางด่วนขึ้นไปไว้ข้างบน เป็นถนนลอยฟ้าไม่ทำลายพื้นที่ป่า (เนื่องจากมีน้อยอยู่แล้ว) เจาะอุโมงค์ ทะลุเขาไปไม่ต้องวิ่งอ้อมวงวนสิ้นเปลืองพลังงาน

"พื้นที่ทางเดินน้ำ" ก็ขุดคลองระบายน้ำ ช่วงน้ำท่วมจะระบายได้เร็ว

เราจะเห็นข่าวอยู่บ่อยๆว่า ไต้หวันพายุเข้า เห็นภาพน้ำท่วม เห็นภาพความเสียหาย

แต่เค้าพื้นตัวได้ไวครับ ...น้ำท่วมเสร็จสามารถทำนาได้ต่อเลย

ด้วยคันนาเป็นปูนพร้อมเป็นคลองส่งน้ำขนาดเล็ก มีการชลประทานถึงหัวคันนา ทำนาได้ตลอดปี  

 


ไปชม ภาพกันครับ ... 

  


รู้เขา: ลักษณะการเกษตรของประเทศไต้หวัน

Øมีครัวเรือนเกษตรประมาณ 810,000 ครัวเรือน
      พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 1.06 hectare ต่อครัวเรือน
       ขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน/ครัวเรือน

Ø  ประชากรประมาณ 1 ล้านคนทำงานในภาคการเกษตร (ทั้งหมด 22 ล้านคน)

Ø  ผลผลิตเกษตรที่สำคัญ คือ หมู ข้าว สัตว์ปีก กุ้ง ปลาไหล ปลาหมึก อ้อย

Ø  ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตทางการเกษตร เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร

ในกระบวนการผลิตข้าว ตั้งแต่ปลูก ดูแล เก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยวครบวงจร


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากไต้หวัน ข้อมูลเพื่อช่วยกัน วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบเพื่อร่ วมฟื้นฟู และสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้ลูกหลานไทย ในอนาคต
http://investtaiwan.nat.gov.tw/matter/show_eng.jsp?ID=191

http://eng.wra.gov.tw/lp.asp?ctNode=2300&CtUnit=620&BaseDSD=7

http://www.fao.org/prods/gap/database/gap/files/593_FLOOD_CONTROL_IN_TAIWAN.PDF

 

http://www.asiafloodsolutions.com/images/brochure.pdf
http://ntur.lib.ntu.edu.tw/bitstream/246246/176242/1/19.pdf

 

ยังมีไว้ให้ติดตามต่อตอนต่อไปครับ ->>>

หมายเลขบันทึก: 427285เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จริงๆ ทางด้านอุตสาหกรรมเมืองไทยก็พยายามอย่างยิ่งที่จะ เพิ่มคุณภาพของข้าวไทย พัฒนาระบบQC ระบบการผลิต ที่มีประสิทธิ มีงานวิจัยเกี่ยวกับด้านข้าวเยอะนะ แต่การพัฒนาต้องได้รับความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะการเมือง โรงสี ชาวนา กรมชลประทาน ผู้ส่งออก (อย่าจริงจัง)ไม่งั้นงานวิจัยดีๆก็เป็นแค่กระดาษ เศร้า

ผมคิดว่า ไทยยังขาดการบริหารจัดการที่ดีทำให้เรามีต้นทุนการผลิตเกินจำเป็น ถึงเราจะเป็นที่1ในการส่งออกข้าว แต่การจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ เรามีหวังร่วงได้ง่ายๆ ถ้าเรามีการจัดการที่ดี ไม่ว่าโลกจะต้องการข้าวในแบบไหน เราก็ตอบสนองได้เสมอนั้นละ

Ico48 ขอบคุณ คุณอภิชิตมากครับ

ปัจจุบันการตลาด ข้าวถุงส่วนใหญ่ ไม่สามารถบอกได้ว่า ข้าวที่อยู่ในถุง ท่านได้แต่ใดมา

ใครปลูกก็ไม่รู้ ดูแลอย่างไรก็ไม่รู้ คนกินรู้แต่ว่า ยี่ห้อไหน สีได้ข้าวขาว หุงขึ้นหม้อ ...

ข้าว จึงขาดความเป็นเจ้าของ คนปลูกรู้ว่าขายโรงสีแล้วก็จบ  ...

การปลูกข้าวจึงขาด "ความใส่ใจ" ที่มีต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมครับ  

เพราะส่วนใหญ่ปลูกข้าวขาย ไม่ได้เก็บไว้กินเอง

แล้ว แม่บ้านก็เข้าตลาดไปซื้อข้าวถุงมาหุงกินอีกทีหนึ่ง

ข้าวของใครก็ไม่รู้??? ครับ

การสอบทวนกลับเพื่อให้ทราบว่า ข้าวถุงนั้นผลิตจากที่ไหน ไม่ใช่เรื่องยากครับ  แต่ประเด็นคือผู้ประกอบการจะกล้าลงทุนทำdatabase หรือป่าว  ตอนนี้ มี2แบบให้เลือกคือ ระบบบาร์โค้ด2มิติ QR-CODE กับ ระบบRFID   ทำแล้วมันก็ดีครับ คำถามคือ ทำแล้วคุ้มทุนหรือไม่   แต่ถ้าถามผม ผมว่าคุ้มนะ เพื่อ อนาคต ^.^

ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งเลยครับ

ไมเคยไปไต้หวัน ไม่รู้ว่าเขาจัดการประเทศได้ดีมาทีเดียว

Ico48 ระบบ tracking ดีครับ

แต่ปัญหาจริงๆ เรื่องการผลิตข้าว เป็นเรื่องของ จิตวิญญาณการปลูกข้าว ของชาวนาส่วนใหญ่ ครับ ไม่ได้ใส่ใจจริงจัง กับความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค ครับ

 

Ico48 อ.ครับ ดูแล้วก็ได้ข้อคิดว่า ...

เพราะไม่มี จึงทำให้มีได้ เพราะมีแล้ว จึงทำให้หมดได้ครับ(ประมาท)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท