GotoKnow

ไปฟังนักวิทย์รางวัลโนเบลพูดเรื่องโลกร้อนกับการเกษตร

นาย นเรศ ดำรงชัย
เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2554 20:31 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2555 13:36 น. ()
เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่อากาศ แต่ว่าสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยพร้อมกัน “The world will co-evolve with climate change”

ฟ้าครับ

หลายวันก่อนนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2554 ) ไปฟัง Nobel Dinner Talk เรื่อง Adaptation of Agriculture to Climate Change: Lessons for Thai Ariculture

คนพูดเป็นศาสตราจารย์ชื่อ Professor William Ewart Easterling แกยังเป็นคณบดีอยู่ที่ College of Earth and Mineral Sciences, The Pennsylvania State University เหตุเกิดที่โรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ กรุงเทพ

เก็บมาเล่าให้ฟังได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ราว ๆ นี้ครับ

Easterling เริ่มการบรรยายด้วยการกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของระดับ CO2 ในบรรยากาศที่คู่กับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก น้ำแข็งและหิมะขั้วโลกและที่อื่น ๆ ที่ละลายมากขึ้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น  ข้อมูลช่วงนี้นำมาจากรายงานของ IPCC เกือบทั้งหมด เป็นช้อมูลที่ทุกคนที่สนใจเรื่อง climate change คุ้นเคยดีอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลใหม่

จากนั้น Easterling ก็นำเรื่องเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อการเกษตร โดยให้ข้อมูลว่าช่วงเวลาในการเพาะปลูกพืชผลแต่และปีนั้นยืดยาวขึ้น แต่อุบัติภัยที่เรียกว่า extreme events ก็มีแนวโน้มเกิดถี่ขึ้น (David Battisti, Science, 2009) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับน้ำ Easterling กล่าวว่า น้ำที่ไหลเอ่อจากดินเข้าสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ (runoff) เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญมากที่จะบอกให้เรารู้ถึง water availability ยกตัวอย่างเช่น จากข้อมูลการทำ model พบว่าในปี 2100 ภาคพื้นยุโรปจะแห้งแล้งกว่าปัจจุบันมาก ในขณะที่บริเวณไซบีเรียและอาร์เยนติน่าอาจจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรมมากขึ้น

จากนั้นผู้บรรยายได้พูดถึงผลกระทบจากทั้ง CO2 ที่เพิ่มขึ้น และ climate change (ผลโดยอ้อม) ที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร (yield) ทั่วโลกว่า มีแนวโน้มจะส่งผลโดยตรงต่อการสังเคราะห์แสงของพืช นอกจากนี้ผลของการรันโมเดลได้ให้บทเรียน (เชิงคาดการณ์อนาคต) ดังนี้

1.       ผลผลิตของพืชในเขตอบอุ่นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดต่อเมื่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นราว 3°C

2.       สำหรับเขตร้อน ผลผลิตจะลดลงเกือบจะทันทีที่อุณหภูมิสูงขึ้น (เพียงเล็กน้อย)

3.       การปฏิบัติในเรื่อง adaptation เพียงอย่างง่าย ๆ สามารถช่วยยืดผลผลิตของพืชให้คงที่ต่อไปได้อีก 2-3°C

คำแนะนำสำหรับการปรับตัวของเกษตรกรรมในประเทศไทยคือ

  • เตรียมพร้อมสำหรับการสูญเสียผลผลิตราว -5 ถึง -2.5%
  • ถ้าโลกสามารถหยุด CO2 ไว้ได้ที่ระดับความเข้มข้น 550ppm จะช่วยให้ระดับความสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรลดลงเหลือไม่เกิน 2.5%
  • ในบางกรณี ผลผลิตของมันสำปะหลังอาจจะสูญเสียไปได้ถึง 30%
  • ในกรณีที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 2 เมตร พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะจมอยู่ใต้น้ำ

มาถึงช่วงนี้ Easterling เริ่มกล่าวถึงแนวความคิดสำคัญของเขา (ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง) นั่นคือ adaptation เป็นความพยายามที่เปรียบเสมือนการยิงเป้าเคลื่อนที่ เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่อากาศ แต่ว่าสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยพร้อมกัน “The world will co-evolve with climate change”. สิ่งที่จะเปลี่ยนไปก็คือ

  • การบริโภคอาหารของมนุษย์ เช่น จะมีการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น (อันนี้ไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่) รวมทั้งน้ำตาล น้ำมัน และธัญพืช สิ่งที่จะมีการบริโภคน้อยลงคือข้าว coarse grains, roots, and tuber และ
  • จากนี้ไป Biofuels จะได้รับความนิยมมาก แต่ปัญหามีอยู่ว่า เราจะยอมสูญเสีย (พื้นที่ปลูก) อาหารได้เท่าไหร่เพื่อให้ได้มาซึ่งเชื้อเพลิง
  • เราต้องระวังไม่ให้การเติบโตของผลผลิตลดลงเกินกว่า 1.3% ต่อปี มิเช่นนั้นโลกจะไม่สามารถตอบสนองทันความต้องการของ demand ที่เพิ่มขึ้น (ไม่ว่าจะมี climate change หรือไม่)
  • ในการพัฒนาพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปนั้น อาจใช้พันธุ์ปลูก (cultivar) ที่เติบโตได้ในสภาพอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะช่วยป้องกันหรือลดอัตราการสูญเสียได้ดีคือการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม (adequate water supply) กล่าวคือกลยุทธ์ของ adaptation ที่ดีที่สุดคือการจัดการเรื่องอุณหภูมิและน้ำ

ประเด็นสำคัญที่เป็นจุดสนใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ วทน. คือ การลงทุนในการวิจัยและพัฒนาควรมุ่งโฟกัสไปในเรื่องใด เกี่ยวกับประเด็นนี้ Easterling อธิบายว่า โจทย์วิจัยที่สำคัญคืองานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของพืช (fundamental research in basic plant science) และเทคโนโลยีด้านพืช เช่น พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถรักษาระดับการสังเคราะห์แสงได้สูงในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งขณะนี้มีงานวิจัยเรื่องนี้ที่ใช้ยืนของ Arabidopsis ใส่ลงไปในต้นยาสูบ เป็นต้น

ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง (ซึ่งใหญ่กว่า) เป็นเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการยืดหยุ่น (ประคองตัว?) ให้คืนสู่สภาพสมดุลดังเดิม (resilience) ให้กับระบบ แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในอนาคตด้วยว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอัตราที่สูงมาก หรือถ้าระบบของเรายืดหยุ่นไม่พอ ก็จะนำไปสู่การสูญเสีย resilience ซึ่งจะเกิดผลกระทบทำให้ระบบเกษตรต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไป โดยพึ่งพาระบบนิเวศน์น้อยลง ผู้บรรยายได้แสดงแผนภูมิที่ใช้ในการอธิบายความคิดนี้ด้วย

 

ในการที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ระบบเกษตร เราจำเป็นที่จะต้องมีแนวรับที่แข็งแกร่ง ทางเลือกที่ทำได้เองและทำได้ทันที (ด้วยการมีนโยบาย) คือ

1.       การมีข้อมูลการปลูกที่ครบถ้วน

2.       เปลี่ยนพันธุ์ที่ปลูกให้เหมาะสม

3.       เปลี่ยนชนิดของพืชที่ปลูก (เช่น จากปาล์มเป็นถั่วเหลือง) เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะปลูกพืชบางอย่างในประเทศของเราอาจจะเคลื่อนที่ไปทางเหนือ กลายเป็นอยู่ในพื้นที่ประเทศอื่น

ในระยะยาวสิ่งที่จะต้องทำคือ

1.       สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้มีความยืดหยุ่น (รับมือได้หลาย ๆ สถานการณ์)

2.       เพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่ ๆ

3.       เมื่อพบว่าปริมาณน้ำในพื้นดินเริ่มลดลง การปรับตัวต้องเริ่มขึ้นทันที (ตรงนี้ผู้บรรยายอธิบายความสำเร็จในการปรับตัวของการใช้พื้นที่เพาะปลูกในแถบ High Plains ทางตะวันตกของสหรัฐ)

4.       ปรับปรุงการอนุรักษ์น้ำ เพราะน้ำเป็นกุญแจสำคัญของ adaptation (Easterling ใช้คำว่า linchpin ซึ่งในพจนานุกรมแปลว่า สมาชิกที่สำคัญที่สุดของกลุ่มหรือระบบ)

ผู้บรรยายย้ำด้วยว่า IPCC ประเมินว่าผลกระทบในทางลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมากกว่าผลกระทบในเชิงบวก และกล่าวต่อว่า นโยบายเกี่ยวกับน้ำที่สำคัญ 5 ประการคือ

1.       บรรจุประเด็นสำคัญเรื่องการปรับตัวและการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตรและการบริหารจัดการน้ำให้เป็นวาระสำคัญหนึ่งของแผนพัฒนาประเทศ 

2.       เพิ่มความยืดหยุ่นของระบบเกษตรกรรมทั้งแบบพึ่งพาฝนธรรมชาติและแบบมีระบบชลประทาน และลดการสูญเสียน้ำในระบบชลประทาน โดยการส่งเสริมมาตรการทางเทคโนโลยีและการจัดการ

3.       เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและน้ำ แล้วแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในระหว่างประเทศและภูมิภาค

4.       ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยงในนโยบายของรัฐโดยสร้างเครือข่ายติดตาม (monitoring network) และนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทางด้านการประกัน (ความเสี่ยง)

5.       ใช้ประโยชน์จากกองทุน adaptation fund ต่าง ๆ เพื่อให้รับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงของน้ำและอาหารท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Easterling สรุปการบรรยายว่า national adaptation policy เป็นสิ่งที่จำเป็น และเราควรมีแผนล่วงหน้าในการเปลี่ยนโฉมหน้าของระบบเกษตร ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้ ไม่ว่าจะศึกษาเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ (You can’t have too much knowledge about climate change and its impact.)

ในช่วงถามตอบ Easterling กล่าวถึงการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม (มีพูดถึงไปแล้วส่วนหนึ่งในการบรรยาย) อย่างค่อนข้างระมัดระวังว่า โดยส่วนตัวเขาไม่ได้เชียร์ GMOs และยังเห็นด้วยที่จะใช้วิธีการดั้งเดิมในการปรับปรุงพันธุ์พืช (conventional breeding) แต่ยอมรับว่าเราก็มีทางเลือกเหลือไม่มากแล้ว (It’s an uphill battle.)

สรุปสาระสำคัญ

Nobel Dinner Talk

Adaptation of Agriculture to Climate Change: Lessons for Thai Ariculture

By

Professor William Ewart Easterling

Dean, College of Earth and Mineral Sciences, The Pennsylvania State University

 

จันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18:00 – 20:30 น.

โรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ กรุงเทพ

 

Easterling เริ่มการบรรยายด้วยการกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของระดับ CO2 ในบรรยากาศที่คู่กับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก น้ำแข็งและหิมะขั้วโลกและที่อื่น ๆ ที่ละลายมากขึ้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น  ข้อมูลช่วงนี้นำมาจากรายงานของ IPCC เกือบทั้งหมด เป็นช้อมูลที่ทุกคนที่สนใจเรื่อง climate change คุ้นเคยดีอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลใหม่

จากนั้น Easterling ก็นำเรื่องเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อการเกษตร โดยให้ข้อมูลว่าช่วงเวลาในการเพาะปลูกพืชผลแต่และปีนั้นยืดยาวขึ้น แต่อุบัติภัยที่เรียกว่า extreme events ก็มีแนวโน้มเกิดถี่ขึ้น (David Battisti, Science, 2009) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับน้ำ Easterling กล่าวว่า น้ำที่ไหลเอ่อจากดินเข้าสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ (runoff) เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญมากที่จะบอกให้เรารู้ถึง water availability ยกตัวอย่างเช่น จากข้อมูลการทำ model พบว่าในปี 2100 ภาคพื้นยุโรปจะแห้งแล้งกว่าปัจจุบันมาก ในขณะที่บริเวณไซบีเรียและอาร์เยนติน่าอาจจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรมมากขึ้น

จากนั้นผู้บรรยายได้พูดถึงผลกระทบจากทั้ง CO2 ที่เพิ่มขึ้น และ climate change (ผลโดยอ้อม) ที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร (yield) ทั่วโลกว่า มีแนวโน้มจะส่งผลโดยตรงต่อการสังเคราะห์แสงของพืช นอกจากนี้ผลของการรันโมเดลได้ให้บทเรียน (เชิงคาดการณ์อนาคต) ดังนี้

1.       ผลผลิตของพืชในเขตอบอุ่นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดต่อเมื่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นราว 3°C

2.       สำหรับเขตร้อน ผลผลิตจะลดลงเกือบจะทันทีที่อุณหภูมิสูงขึ้น (เพียงเล็กน้อย)

3.       การปฏิบัติในเรื่อง adaptation เพียงอย่างง่าย ๆ สามารถช่วยยืดผลผลิตของพืชให้คงที่ต่อไปได้อีก 2-3°C

คำแนะนำสำหรับการปรับตัวของเกษตรกรรมในประเทศไทยคือ

·        เตรียมพร้อมสำหรับการสูญเสียผลผลิตราว -5 ถึง -2.5%

·        ถ้าโลกสามารถหยุด CO2 ไว้ได้ที่ระดับความเข้มข้น 550ppm จะช่วยให้ระดับความสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรลดลงเหลือไม่เกิน 2.5%

·        ในบางกรณี ผลผลิตของมันสำปะหลังอาจจะสูญเสียไปได้ถึง 30%

·        ในกรณีที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 2 เมตร พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะจมอยู่ใต้น้ำ

มาถึงช่วงนี้ Easterling เริ่มกล่าวถึงแนวความคิดสำคัญของเขา (ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง) นั่นคือ adaptation เป็นความพยายามที่เปรียบเสมือนการยิงเป้าเคลื่อนที่ เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่อากาศ แต่ว่าสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยพร้อมกัน “The world will co-evolve with climate change”. สิ่งที่จะเปลี่ยนไปก็คือ

·        การบริโภคอาหารของมนุษย์ เช่น จะมีการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น (อันนี้ไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่) รวมทั้งน้ำตาล น้ำมัน และธัญพืช สิ่งที่จะมีการบริโภคน้อยลงคือข้าว coarse grains, roots, and tuber และ

·        จากนี้ไป Biofuels จะได้รับความนิยมมาก แต่ปัญหามีอยู่ว่า เราจะยอมสูญเสีย (พื้นที่ปลูก) อาหารได้เท่าไหร่เพื่อให้ได้มาซึ่งเชื้อเพลิง

·        เราต้องระวังไม่ให้การเติบโตของผลผลิตลดลงเกินกว่า 1.3% ต่อปี มิเช่นนั้นโลกจะไม่สามารถตอบสนองทันความต้องการของ demand ที่เพิ่มขึ้น (ไม่ว่าจะมี climate change หรือไม่)

·        ในการพัฒนาพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปนั้น อาจใช้พันธุ์ปลูก (cultivar) ที่เติบโตได้ในสภาพอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะช่วยป้องกันหรือลดอัตราการสูญเสียได้ดีคือการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม (adequate water supply) กล่าวคือกลยุทธ์ของ adaptation ที่ดีที่สุดคือการจัดการเรื่องอุณหภูมิและน้ำ

ประเด็นสำคัญที่เป็นจุดสนใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ วทน. คือ การลงทุนในการวิจัยและพัฒนาควรมุ่งโฟกัสไปในเรื่องใด เกี่ยวกับประเด็นนี้ Easterling อธิบายว่า โจทย์วิจัยที่สำคัญคืองานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของพืช (fundamental research in basic plant science) และเทคโนโลยีด้านพืช เช่น พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถรักษาระดับการสังเคราะห์แสงได้สูงในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งขณะนี้มีงานวิจัยเรื่องนี้ที่ใช้ยืนของ Arabidopsis ใส่ลงไปในต้นยาสูบ เป็นต้น

ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง (ซึ่งใหญ่กว่า) เป็นเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการยืดหยุ่น (ประคองตัว?) ให้คืนสู่สภาพสมดุลดังเดิม (resilience) ให้กับระบบ แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในอนาคตด้วยว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอัตราที่สูงมาก หรือถ้าระบบของเรายืดหยุ่นไม่พอ ก็จะนำไปสู่การสูญเสีย resilience ซึ่งจะเกิดผลกระทบทำให้ระบบเกษตรต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไป โดยพึ่งพาระบบนิเวศน์น้อยลง ผู้บรรยายได้แสดงแผนภูมิที่ใช้ในการอธิบายความคิดนี้ด้วย

ในการที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ระบบเกษตร เราจำเป็นที่จะต้องมีแนวรับที่แข็งแกร่ง ทางเลือกที่ทำได้เองและทำได้ทันที (ด้วยการมีนโยบาย) คือ

1.       การมีข้อมูลการปลูกที่ครบถ้วน

2.       เปลี่ยนพันธุ์ที่ปลูกให้เหมาะสม

3.       เปลี่ยนชนิดของพืชที่ปลูก (เช่น จากปาล์มเป็นถั่วเหลือง) เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะปลูกพืชบางอย่างในประเทศของเราอาจจะเคลื่อนที่ไปทางเหนือ กลายเป็นอยู่ในพื้นที่ประเทศอื่น

ในระยะยาวสิ่งที่จะต้องทำคือ

1.       สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้มีความยืดหยุ่น (รับมือได้หลาย ๆ สถานการณ์)

2.       เพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่ ๆ

3.       เมื่อพบว่าปริมาณน้ำในพื้นดินเริ่มลดลง การปรับตัวต้องเริ่มขึ้นทันที (ตรงนี้ผู้บรรยายอธิบายความสำเร็จในการปรับตัวของการใช้พื้นที่เพาะปลูกในแถบ High Plains ทางตะวันตกของสหรัฐ)

4.       ปรับปรุงการอนุรักษ์น้ำ เพราะน้ำเป็นกุญแจสำคัญของ adaptation (Easterling ใช้คำว่า linchpin ซึ่งในพจนานุกรมแปลว่า สมาชิกที่สำคัญที่สุดของกลุ่มหรือระบบ)

ผู้บรรยายย้ำด้วยว่า IPCC ประเมินว่าผลกระทบในทางลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมากกว่าผลกระทบในเชิงบวก และกล่าวต

สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

ความเห็น

ครูgisชนบท
เขียนเมื่อ

สถานการณ์โลกร้อน ยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่กลับร้อนขึ้นจริงๆ 

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

There are many warnings that Thailand should pay attention (and fund researchers) to set up 'measurement' (change tracking) for them. For examples:

...สำหรับเขตร้อน ผลผลิตจะลดลงเกือบจะทันทีที่อุณหภูมิสูงขึ้น (เพียงเล็กน้อย)...(Thailand) เตรียมพร้อมสำหรับการสูญเสียผลผลิตราว -5 ถึง -2.5%...เราต้องระวังไม่ให้การเติบโตของผลผลิตลดลงเกินกว่า 1.3% ต่อปี...เมื่อพบว่าปริมาณน้ำในพื้นดินเริ่มลดลง การปรับตัวต้องเริ่มขึ้นทันที...

We need to put in place urgently 'measuring instruments' (methodology, manpower, funding) so we can adjust to change more appropriately [market price cannot be reliably used to detect change or to give basis for direction of change].

Provincial agricultural officers could work with local researchers and students to obtain and record data for national analysis.

 

 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย