วัตถุประสงค์การใช้สหบท


การสร้างความเป็นสหบท ในนวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา ปริทรรศ หุตางกูร

บทที่ ๓

 

วัตถุประสงค์การใช้สหบท

 

การศึกษาเรื่องการสร้างความเป็นสหบท ในนวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา  ปริทรรศ    หุตางกูร  ประกอบสร้างความเป็นสหบทจากการกล่าวถึงตัวบทอื่นและการใช้ชุดสัญญะทางวัฒนธรรม  ในการประกอบสร้างความเป็นสหบทนั้น ปริทรรศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอารมณ์ขัน และเพื่อเสียดสีสภาพสังคมปัจจุบัน

 

ในบทนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์วัตถุประสงค์การใช้ความเป็นสหบทใน นวนิยาย  เรื่อง  กรูกันออกมา ของปริทรรศ  หุตางกูร  โดยแบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น ๒ ประเด็น คือ การใช้ความเป็นสหบทเพื่อสร้างอารมณ์ขัน และการใช้ความเป็นสหบทเพื่อเสียดสีวิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมในปัจจุบัน

 

๓.๑ กาสร้างอารมณ์ขัน

 

                อารมณ์ขัน (humour) เป็นความรู้สึกทางอารมณ์ของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจจะเป็นบุคคล เหตุการณ์หรือวรรณกรรม รอส (Ross, Alison.1998 : 1) ได้กล่าวให้คำจำกัดความของ Humour คือ สิ่งที่ทำให้คนหัวเราะหรือยิ้มได้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์ (2521 : 11) ได้ให้คำจำกัดของอารมณ์ขัน คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบุคคล เหตุการณ์ หรือวรรณกรรมอารมณ์ขันจะแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปการหัวเราะ อย่างไรก็ตาม การหัวเราะไม่ได้เป็นพฤติกรรมที่มาจากอารมณ์ขันเพียงอย่างเดียว การหัวเราะอาจเกิดมาจากความรู้สึกเย้ยหยัน ความแค้น หรือความเศร้าได้ ลักษณะเช่นนี้ ตุ้ย ชุมสาย, ม.ล. (2516 : 138–139) เรียกว่า “การหัวเราะเทียม

 

                ในนวนิยายเรื่อง  กรูกันออกมา  ปริทรรศ  หุตางกูร ใช้ความเป็นสหบทเพื่อสร้างอารมณ์ขันด้วยกลวิธีต่างๆ (technique) ซึ่ง   เจตนา  นาควัชระ ได้จำแนกกลวิธีในการสร้างอารมณ์ขันไว้ดังนี้  การสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แตกต่างออกไปจากลักษณะปกติของสังคม   การสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แข็งทื่อหรือการทำอะไรซ้ำซาก   การสร้างอารมณ์ขันจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง   การสร้างอารมณ์ขันจากการแปรสภาพจากความลวงมาเป็นความจริง และการสร้างอารมณ์ขันจากการสร้างเหตุการณ์ให้ขบขัน[๑]

               

 

 

                ๓.๑.๑  การสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แตกต่างออกไปจากลักษณะปกติของสังคม

               

                การสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แตกต่างออกไปจากลักษณะปกติของสังคม คือ การแสดงพฤติกรรมใดๆ  ก็ตามที่คนส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติเพราะถือเป็นเรื่องแปลกประหลาด เช่น ถ้าในเมืองไทยมีใครสักคนหนึ่งที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าขนสัตว์แล้วไปเดินอยู่แถวตลาดนัดสวนจตุจักร ผู้พบเห็นคงอดที่จะหัวเราะมิได้

 

             ในนวนิยายเรื่อง  กรูกันนอกมา  ปริทรรศ  ใช้ความเป็นสหบทเพื่อสร้างอารมณ์ขันในลักษณะนี้ปรากฏตอนที่  พิมพ์โรจน์  ผู้เข้ารอบสุดท้ายในการประกวด โครงเรื่องบทภาพยนตร์ รางวัล “เดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์” ซึ่งในรอบนี้ เธอต้องมาเล่าโครงเรื่องบทภาพยนตร์ให้กรรมการฟังด้วยตนเอง ก่อนการเล่าเรื่อง กรรมการซักถามประวัติส่วนตัวเล็กน้อย  ดร.พิศเมรี อ่านเหตุผลที่พิมพ์โรจน์เขียนไว้ในใบสมัครเรื่องการเรียนไม่จบมหาวิทยาลัยแล้วอดขำไม่ได้จึงมีการพูดคุยในประเด็นนี้

“คุณพิมพ์โรจน์   เพชรจันทร์   ในใบสมัครบอกเรียนไม่จบศิลปกรรมประสานมิตร   เหตุผลที่แจงไว้เพราะต้องการตามหาอาละดิน   ฮ่ะฮ่ะ ๆ ๆ ๆ ขอโทษที่หัวเราะ   เหตุผลคุณพร่ำเพ้อดี   นี่หมายความว่าอะไรค่ะ”ที่แจ้งไว้เพราะต้องการตามหาอาละดิน   ฮ่ะฮ่ะ ๆ ๆ ๆ ขอโทษที่หัวเราะ   เหตุผลคุณพร่ำเพ้อดี   นี่หมายความว่าอะไรค่ะ”

                พิมพ์โรจน์อายุราว ๆ ๒๔   เธอดูตื่นเต้น   ยิ้มประหม่าตอบ

“คือฉันอยากนั่งพรมไปกับอาละดินเที่ยวแคว้นแคชเมียร์   ฉันว่าเปเปอร์มาเช่ที่นั้นสวยที่สุด   พวกเขาเขียนลวดลายประดับดอกไม้ด้วยเส้นขนเล็ก ๆ ที่ดึงจากแขนของตัวเอง   ฉันอยากเรียนกับเขา   และอยากรู้ว่าถ้าเป็นขนหน้าแข้ง   เส้นผม   หรือขนอื่น ๆ   ลายเส้นจะเป็นยังไง”

(กรูกันออกมา  หน้า  ๕)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               

 

 

จากคำตอบของ พิมพ์โรจน์ทำให้รู้สึกขำ  เพราะคำตอบของเธอนั้นเป็นความคิดที่แตกต่างไปจากความคิดของคนปกติทั่วไปในสังคม เพราะสาเหตุที่เธอลาออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งคนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าการได้เรียนในมหาวิทยาลัยนั้น หมายถึง การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่พิมพ์โรจน์กลับลาออกด้วยเหตุผลเพียงเพื่อต้องการไปนั่งพรมกับอาละดินไปเที่ยวแคว้นแคชเมียร์ เพราะมีความคิดว่าเปเปอร์มาเช่ที่นั่นสวยและอยากลองทำบ้าง ดังนั้นคำตอบของพิมพ์โรจน์ จึงเป็นคำตอบที่มีลักษณะแตกต่างไปจากไปจากแนวคิดของคนปกติซึ่งคนฟังคงอดที่จะหัวเราะไม่ได้

 

                นอกจากการสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แตกต่างออกไปจากลักษณะปกติของสังคม ของพิมพ์โรจน์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ยังพบการแสดงพฤติกรรมที่แปลกแตกต่างจากลักษณะปกติหรือบุคลิกภาพที่ควรจะเป็นของตัวละคร คือ  ดร. พิศเมรี โดยปกติแล้วบุคคลที่มีการศึกษาสูงถึงระดับปริญญาเอกต้องมีลักษณะที่ทันสมัยหรือเชี่ยวชาญในงานวิชาการ ดังที่ปริทรรศ สร้างตัวละคร ดร. พิศเมรี ให้ตรงกับความคาดหวังของสังคมโดยตลอดทั้งเรื่อง จนกระทั่งถึงการตัดสินเรื่องสุดท้ายจบ ปริทรรศใช้ความเป็นสหบทจากตัวบทเพลง เลิกแล้วค่ะ ของ อาภาภรณ์ นครสวรรค์ เปลี่ยนบุคลิกภาพ ดร. พิศเมรีให้เธอร้องเพลงนี้

ดร.พิศเมรี : พิศเบื่อฟังการเทศนาแบบเด็กอมมือ  (แล้วพิศเมรีก็ร้องเพลงส่งท้าย)   เลิกแล้วค่ะ   หนูเลิกกับเขาแล้วค่ะ 

(กรูกันออกมา   หน้า  ๑๕๑)

 

 

 

 

 

 

 

                จากตัวอย่างข้างต้น ดร.พิศเมรี ร้องเพลงนี้นอกจากเป็นการปฏิเสธการตัดสินรางวัล “เดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์ ของหม่อมแม่แล้วการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่แปลกและแตกต่างสำหรับคนที่มีการศึกษาสูงถึงระดับปริญญาเอก จึงสร้างความขบขันให้กับผู้อ่าน

               

                ๓.๑.๒ การสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แข็งทื่อหรือลักษณะที่คล้ายกับเครื่องจักร

               

                การสร้างอารมณ์ขันจากการกระทำที่แข็งทื่อหรือลักษณะที่คล้ายกับเครื่องจักร  คือ การแสดงพฤติกรรมที่ซ้ำซาก ในหลายๆครั้ง หลายตอน เช่น พูดซ้ำซากอยู่แต่ในเรื่องเดียว หรือใช้คำพูดแบบเดียวในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

               

                ในนวนิยายเรื่อง   กรูกันออกมา ปริทรรศ ประกอบสร้างความเป็นสหบทโดยใช้เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์  โดยให้หม่อมกู้กล่าวถึงเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ซ้ำซากถึงแม้สถานการณ์จะต่างกันหม่อมกู้ก็ยังคงโยงเข้าสู่เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เสมอ

               

                ขณะที่พิมพ์โรจน์กำลังเล่าเรื่อง ถึงตอนสินค้าแบรนด์เนม หลั่งไหลเข้ามาในเมืองที่เธอกำลังเล่าถึงอยู่นั้น หม่อมกู้ถามเป็นลักษณะเปรียบเทียบแต่การเปลี่ยนเทียบของหม่อมกู้นั้นไม่ค่อยสมเหตุสมผล เท่าใดนัก เพราะหม่อมกู้นำเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มาเปรียบเทียบกับเรื่องสมัยใหม่

 

 

                หม่อมกู้ตาปรือในแว่นดำกับพล็อตแบบนี้   เขารู้สึกมันเริ่มมีอะไรแปลกไป   และจะแปลกแค่ไหนนะ   เพราะเรื่องแบบนี้ช่างต่างจากฉากประวัติศาสตร์อันคุ้นเคยเหลือเกิน   หม่อมสะบัดหัวถามอีก

                “เธอบอกมีสินค้าแบรนด์เนมบุกเข้าไป   มันคล้ายทัพพม่าบุกกรุงศรีอยุธยาไหม” 

(กรูกันออกมา  หน้า  ๗)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                ในอีกหนึ่งตอนที่ปริทรรศ ให้ตัวละครหม่อมกู้นึกถึงเรื่อง ประวัติศาสตร์ คือ ขณะที่พิมพ์โรจน์เล่าถึงเมืองของเธอนั้นไม่ใช้ระบบเงินตราในการแลกเปลี่ยน แต่เธอกลับบอกว่ามีคนจน คนรวยในเมืองนี้ ดร.พิศเมรีจึงตั้งคำถามว่า “ไหนบอกว่าไม่มีระบบเงินตราไง แล้วทำไม่มีคนรวยคนจน” หม่อมกู้เห็นด้วยกับคำถามของ ดร.พิศเมรี แต่ขณะรอฟังคำตอบจากพิมพ์โรจน์ หม่อมกู้ได้นึกถึงว่าถ้าให้สองคน  คือ ดร.พิศเมรีและ พิมพ์โรจน์ แต่งตัวเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ใครจะคลาสสิกกว่ากัน

               

“ใช่ ๆ ๆ   ไม่เข้าใจ   ตามไม่ทัน”

                หม่อมกู้เลิกคิ้วเสริม  ดร.พิศเมรี   ในแวบหนึ่งเขาแอบเทียบความงามระหว่างสองสาวไม่ได้ว่าใครจะดูคลาสสิกกว่า   หากจับทั้งคู่มาแต่งเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์   สนมเอกในสมัยพระร่วง   ผู้เป็นกวีหญิงคนแรกของประเทศ

(กรูกันออกมา  หน้า  ๘)

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

                                อีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการพูดซ้ำซากของตัวละครหม่อมกู้ คือ ตอนที่ พิมพ์โรจน์เล่าว่า เมืองที่เธอ เล่าถึงนี้กำลังจะมีความสุข ดังเมืองสวรรค์ แต่ในอีกวันหนึ่งชาวเมืองตื่นมาพร้อมกับข่าวเมืองถูกวางกับระเบิด ๗๐๐ ลูก จึงไม่มีใครกล้าออกจากบ้าน ดร. พิศเมรี ซึ่งชอบเรื่องลักษณะนี้จึงถึงกับตบโต๊ะเสียงดัง พิมพ์โรจน์เล่าต่อว่ากลุ่มผู้ค้าสินค้าแบรนด์เนมจึงปรึกษากันและเลือกไฮโซสาวสวยชื่อว่า มุกมาลัย มาจัดแสดงโชว์สายเดี่ยวประกอบเพชร พลอยและสินค้าแบรนด์เนมและใช้ภาพวาบหวิวส่งให้กรมตำรวจเพื่อมาเคลียทางให้เธอและเพื่อนๆมาร่วมงานมหกรรมโชว์สายเดียว ได้อย่างปลอดภัย หม่อมแม่จึงทุบโต๊ะเสียงดังและพูดดูถูกความคิดของพิมพ์โรจน์ ดร. พิศเมรีจึงถกเถียงกับหม่อมแม่ ขณะนั้น หม่อมกู้ด้วยความดีใจกับความคิดใหม่ของตน คือ เรื่องการวางระเบิดรอบกรุงสุโขทัย

               

 

 

 

                “หม่อมแม่ไม่มีสิทธิ์ไปบีบความคิดพิมพ์โรจน์นะคะ   นี่เป็นเรื่องฟิกชั่นในแดนสมมุติ   ไม่ใช่ยุคสุโขทัยถูกวางระเบิด”

                ดร.พิศเมรีไม่ยอมให้ท่านลบหลู่เกียรติพิมพ์โรจน์   เป็นเวลาเดียวกับที่หม่อมกู้อุทาน

                “เฮ้ย   ดร.พิศ   นี่ผมปิ๊งไอเดียเลยนะ   วางกับระเบิดรอบกรุงสุโขไทยสมัยพ่อขุนศรีนาวถม” 

(กรูกันออกมา  หน้า  ๑๐)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                จากที่กล่าวมาข้างต้น ปริทรรศ ให้หม่อมกู้พูด นึก คิด ถึงเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ ซ้ำๆ อยู่แต่เรื่องเดียว ซ้ำซาก แม้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งการเปรียบเทียบการหลั่งไหลของสินค้าแบรนด์เนม กับทัพพม่าบุกกรุงศรี หรือการนึกถ้าให้ดร.พิศเมรีกับพิมพ์โรจน์ แต่งตัวเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ใครจะสวยกว่ากัน หรือกระทั่งการคิดสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่โดยวางระเบิดรอบกรุงสุโขทัย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น จากการกระทำดังกล่าวจึงมีลักษณะการสร้างอารมณ์ขันโดยการกระทำที่แข็งทื่อหรือลักษณะที่คล้ายกับเครื่องจักร หรือ การทำอะไรที่ซ้ำซากในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

 

๓.๑.๓  การสร้างอารมณ์ขันจากการสร้างเหตุการณ์ให้ขบขัน

 

                การสร้างอารมณ์ขันจากการสร้างเหตุการณ์ให้ขบขัน คือ  คือ การสร้างสถานการณ์ในเรื่องโดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เข้ามาผูกติดกับสถานการณ์ในเรื่อง

 

                ขณะที่วาณพ กำลังเล่าโครงเรื่องบทภาพยนตร์เรื่อง ไม่รักต้องฆ่า ของเขาถึงตอนที่เจ้าอ้วนผิดหวังในเรื่องความรักกับมาเรีย ลูกพี่ลูกน้องเขา ซึ่งหากเจ้าอ้วนผิดหวัง เขาต้องฆ่าอะไรสักอย่าง เพื่อล้างแค้น เจ้าอ้วนจับนกเอี้ยงขากะเผลกและขณะที่กำลังจะฆ่าตามสัญชาติญาณฆ่าที่ซุกซ่อนในจิตใจนั้น เขาเห็นแมวอีกตัว หนึ่ง เข้าถึงกับขนลุกซู่ นกกลายเป็นสิ่งเล็กๆเหมือนกับกบ เขียด ที่เขาเคยฆ่า ดร.พิศเมรีจึงร้องเสียงแหลมด้วยความซะใจที่เจ้าอ้วนจะฆ่าแมว อยู่ดีๆ นางอรุณในชุดสวมชฎาและชุดสไบก็ผลักประตูเข้ามาและตะโกนบอกหม่อมแม่ว่า หวยออก ๔๘๑

                ดร.พิศเมรีร้องเสียงแหลมสะใจ  นางอรุณเพิ่งจะเดินถือถ้วยกาแฟสวมชฎาในชุดสไบเข้ามา  เธอตะโกนบอกหม่อมแม่ว่า  “หวยออก  ๔๘๑  เจ้าค่ะ  พลิกล็อกเลยคราวนี้”

                “หึ  หึ “

                หม่อมแม่พยักหน้าเครียดๆ ยกมือปางห้ามมารใส่  นางอรุณจึงก้มหน้าเสิร์ฟกาแฟจนครบทุกคนแล้วร้องเพลง ติดรอวิชารัก  เดินออกไป

(กรูกันออกมา  หน้า  ๒๙)

               

)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                จากตัวอย่างข้างต้น ปริทรรศ สร้างความขบขันโดยสร้างเหตุการณ์ให้มีความขบขัน กล่าวคือ ให้นางอรุณสาวใช้มาตะโกนบอกหม่อมแม่ว่าหวยออก ๔๘๑  จากสถานการณ์ในเรื่องเล่าของวาณพที่กำลังจะฆ่าแมวซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ตึกเครียดเพราะทุกคนต่างก็รู้นอยู่ว่า วาณพจะฆ่าแมวด้วยวิธีไหน อยู่ดีๆ นางอรุณก็ผลักประตูเขามา ความเครียดจึงถูกขัดจังหวะ กลายเป็นความงงกับความไม่รู้กาลเทศะของนางอรุณ

                อีกหนึ่งตัวอย่างที่ปริทรรศใช้ความเป็นสหบทเพื่อสร้างอารมณ์ขันด้วยการใช้เหตุการณ์ที่ชวนให้ขบขัน คือ ตอนเพื่อนไฮโซของคุณหญิงแม่นัดสังสรรค์กันบนอาคารระดวงเดือน หรือสำนักงานกู้แก้วพิกเจอร์ชั้น ๗ ที่ห้องทำงานของหม่อมแม่ ตามแบบฉบับไฮโซ แต่เรื่องที่ชวนให้ขันคือ เพื่อนไฮโซของหม่อมแม่แต่ละคนจะใส่เครื่องเพชร เครื่องทอง  มาอวดกันและพยามจัดตำแหน่งให้เครื่องเพชรของตนสะท้อนแสงแวววาวกันอยู่ตลอดเวลา

 

                คุณหญิงวงศ์รัตน์พูดทั้งกระดิกนิ้วใส่แหวนทองฝังเพชร ๓ กะรัต ยกคาเวียร์คำโตใส่ปาก  จากนั้นกระดกนิ้วยกวอดก้าเพื่อปล่อยประกายแสงเพชร “แปลบๆ “เข้าตาเพื่อนๆ โดยเฉพาะคุณหญิงนิภาเบือนหน้าหนี

                “แต่เดี๊ยนเบื๊อเบื่อกับไอพวกนักวิจารณ์ปากสุนัข ชอบว่ากู้แก้วพิกเจอร์ ไม่เคนมีประเด็นอะไรร่วมสมัย “

                หม่อมแม่พูดเสร็จขยับมือให้สร้อยทองคำประดับจี้รูปม้าทำงาน ก่อนเกิดแสงสะท้อนวูบวาบจนทั้งวงหลบแทบไม่ทัน โดยเฉพาะคุณหญิงนิภาดา ฝั่งตรงข้ามหัวใจหดหู่

                “ ฮ่ะ ๆ หม่อมแม่คงหวั่นไหวละสิ แต่สนอะไรคะกับคำวิจารณ์ของไอ้พวกชอบหามุกมากว่าประเด็น แต่ไม่เคยลงทุนและรับผิดชอบอะไรคนพวกนั้นไม่มีชาติตระกูลอย่างพวกเราร้อก “

                คุณหญิงบี้ให้ความเห็นเผ็ดร้อนเหมือนเมาวอดก้า เธอทำไม้ทำมือ เขย่ากำไลแหวนชุดทองคำขาวประดับเพชร ประกอบขณะบรรยายเมื่อมันทำมุมกับโคมไฟหลุยส์โบราณสมัยรัชการที่ ๕ ก็เกิดแสงแปลบ ๆ โต้ตอบไปโดยเฉพาะคุณหญิงนิภาดา แทบลุกหนีไปเลย

                “ความจริงพวกเราคือ กลุ่มคนหญิงที่มียศถาบรรดาศักดิ์ มีหัวทันสมัยที่สุด [...]

                คุณหญิงจิตติมาพูดพลางเอามือเสยผมโชว์ตุ้มหูดอกไม้ประดับเพชรเล็กล้อมเม็ดใหญ่ เกิดแสงวาบก่อกวนทุกกิจกรรมให้ค้างไว้ และผู้หงอยจ๋อยที่สุดยังคงเป็นคุณหญิงนิภาดา

(กรูกันออกมา  หน้า  ๔๖ -๔๗)

               

)

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                จากตัวอย่างข้างต้น พบว่า ปริทรรศ สร้างความเป็นสหบทจากชุดสัญญะทางวัฒนธรรมเป็นเครื่อง เพชร เครื่องทอง ต่างๆ เพื่อสร้างอารมณ์ขัน เพราะทุกคนพยายามจัดตำแหน่งเครื่องเพชรของตนเองเพื่อให้สะทอนกับแสงไฟ แวบวาบ อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นภาพของคุณหญิงนิภาดา ที่ต้องคอยลบแสงแวบวาบจากเพชรของเพื่อนๆ ตลอดเวลา

 

๓.๒ การเสียดสี

               

                 “เสียดสี”  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ได้ให้ความหมายไว้ว่า อาการที่กระทบกระเทียบเหน็บแนม[2]จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเสียดสี มิได้เป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมาหากแต่เป็นการตำหนิแบบอ้อมซึ่งสอดคล้องกับความหมายทางวรรณคดีที่ให้ความหมายของของคำว่า เสียดสีหรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Satire ไว้ว่า ศิลปะการเขียนที่ใช้กลวิธีทำเรื่องสำคัญให้เป็นเรื่องขบขันเพื่อเสียดสีล้อเลียนความเขลาหรือความไม่ถูกต้องของมนุษย์และสังคม[3]จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่าคำว่า เสียดสี มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์วิพากษ์วิจารณ์ กระทบกระเทียบสภาพสังคม ในปัจจุบัน

 

                การศึกษานวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา พบว่า  นอกจากปริทรรศใช้ความเป็นสหบททั้งจากตัวบทอื่นหรือชุดสัญญะทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างอารมณ์ขันดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ปริทรรศ ยังใช้ความเป็นสหบทเพื่อเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมในปัจจุบัน ซึ่งผู้วิจัยแบ่งออกเป็น ๓ ประเด็น ได้แก่ การเสียดสีสถาบันต่างๆในสังคมไทย  การเสียดสีสภาพสังคมเมืองและการเสียดสีสังคมไทยในประเด็นอื่นๆ

 

                ๓.๒.๑  การเสียดสีสถาบันต่างๆในสังคมไทย

 

                                นวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา ปริทรรศ  หุตางกูรใช้ความเป็นสหบทเพื่อเสียดสีสถาบันการเมือง สถาบันการสื่อสารมวลชน  สถาบันการศึกษา  และสถาบันทางวรรณกรรม เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ การทำหน้าที่ของสถาบันต่างๆที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง  โดยจะนำเสนอตามลำดับต่อไปนี้

 

 

                                ๓.๒.๑.๑ การเสียดสีสถาบันการเมือง 

 

                                ในนวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา ปริทรรศนำเสนอความเป็นสหบทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เสียดสี กระทบกระเทียบ วิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางการเมืองหรือนักการเมืองไว้หลายตอน    เช่น

 

                ในโครงเรื่องบทภาพยนตร์ของพิมพ์โรจน์ เรื่อง  ซึนามิมันนี่  ปริทรรศ ให้พิมพ์โรจน์เล่าถึงการต่อรองอำนาจรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง  จอร์จ   โซรอส   ตัวละครที่พิมพ์โรจน์เล่าถึง ใช้ความสวยของผู้หญิงเพื่อแลกกับอำนาจของรัฐ และการคุมอำนาจทางเศรษฐกิจ

อดีตพ่อมดการเงินจอร์จ   โซรอส   ที่บินมาร่วมงานโดยตรง   เขายังมองเห็นความอุดมทว่าไร้เดียงสาในเชิงธุรกิจของประเทศนี้เมืองนี้อย่างเด็ดขาด   เขาเสนอมุกมาลัยให้ใช้เสน่ห์ความงามต่อขั้วอำนาจรัฐและเสนอให้นำระบบตลาดหุ้นเงินตรามาใช้ 

(กรูกันออกมา  หน้า  ๑๒)

 

 

 

 

 

 

 

 

ปริทรรศ   เสียดสีสถาบันทางการเมืองไทยปัจจุบัน  ที่ใช้ผู้หญิง ความงามของผู้หญิง ก็สามารถที่จะยึดอำนาจได้ เพราะนักการเมือง ไม่ว่าสมัยไหนๆ ก็ถูต่อรองเรื่องผลประโยชน์ และยอมแลกกับผลประโยชน์ของประเทศ เพื่อครอบครองผู้หญิง

 

นอกจากปริทรรศ จะใช้ความเป็นสหบทเพื่อ เสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ สถาบันการเมืองแล้ว ยังพบว่า

ปริทรรศใช้ความเป็ฯสหบทเพื่อ เสียดสีถึงนักการเมืองบางกลุ่ม ที่มีพฤติกรรม ขายหุ้น   ปั่นหุ้น   ซุกหุ้น   ในตลาดหุ้น หรือ นักการเมืองบางคนยอมเป็นหุ้นเชิดให้กับอดีตนักการเมือง เพื่อต้องการอำนาจหรือผลประโยชน์ของตนเอง

แจ็ซซี่ :   คุณกำลังเครียดเรื่องอะไรครับ   มุกมาลัย   นี่เราไม่ใช้แค่จะทำสำเร็จนะ   แต่เราทำสำเร็จและชนะแล้ว   เราเปลี่ยนระบบไดโนเสาร์คร่ำครึอนุรักษนิยมของประเทศคุณโดยสิ้นเชิง   เป็นการปฏิวัติแบบไม่ต้องมีปืน   แค่ระดมเงินในตลาด   ขายหุ้น   ปั่นหุ้น   ซุกหุ้น   นอมินี   นี่คือเกมที่เราชำนาญที่สุดใช่มั้ย   เราสามารถรวยแค่ข้ามคืนเป็นพันล้าน   ขณะที่คนอื่น ๆ ต้องใช้เวลาเป็นปี   มันเหมือนเราค้นเจอรูหนอนจักรวาลข้ามมิติจากปลายเอกภพข้างหนึ่งไปสู่อีกข้างอย่างรวดเร็ว

(กรูกันออกมา  หน้า  ๑๓)

 

 

 

 

 

 

ในโครงเรื่องบทภาพยนตร์ เรื่อง ซึนามิมันนี่ ของพิมพ์โรจน์ “แจ็ซซี่” เป็นตัวละครที่ปริทรรศใช้เพื่อเสียดสีนักการเมืองบางกลุ่มที่มีพฤติกรรม ขายหุ้น   ปั่นหุ้น   ซุกหุ้น   หรือ การยอมเป็นนอมินี ของใครก็ได้เพื่อผลประโยชน์ของตน

 

อีกหนึ่งตัวอย่างที่ปริทรรศ ใช้ความเป็นสหบทเพื่อ เสียดสีวิพากษ์วิจารณ์ พรรคการเมือง โดยให้พิมพ์โรจน์ผู้เล่าโครงเรื่องบทภาพยนตร์ ใช้คำขวัญของพรรคการเมือง  เพื่อเปรียบเทียบเรื่องซึนามินันนี่ของเธอกับคำขวัญพรรคการเมือง

 

พิมพ์โรจน์เล่าโครงเรื่องบทภาพยนตร์ของเธอ ว่า ในเมืองที่ไม่เคยใช้เงินเป็นระบบแลกเปลี่ยนแต่ต้องเปลี่ยนจากระบบการแลกเปลี่ยนแบบเดิมมาสู่ระบบที่ใช้เงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน พิมพ์โรจน์จึงเปรียบเงิน เหมือนกับ งูพิษที่คอยชกกัดผู้คน ดร.พิศเมรี หัวเราะกับการเปรียบเทียบของพิมพ์โรจน์ ที่ทันสมัยแต่คงไม่มีใครคิดเช่นนั้น เพราะทุกคนเห็นเงินเหมือนกับพระเจ้าอยู่แล้ว พิมพ์โรจน์จึงเถียงดร. พิศเมรีด้วยคำขวัญของอดีตพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง

 

“เงินกลายเป็นงูพิษ   เป็นการเปรียบเทียบที่ทันสมัยมาก   แต่คิดไหมว่าไอ้หน้าโง่คนไหนในโลกจะเชื่อคุณ   ฮะฮะฮะ   กั๊ก ๆ ๆ ๆ”   ดร.พิศเมรีหัวเราะเบรกแตก

                “หึ  หึ  หึ  หึ”

“ไอ้บ้านั่นต้องคิดใหม่ทำใหม่สิคะ”

(กรูกันออกมา  หน้า  ๑๕)

 

 

               

 

 

 

                ปริทรรศ ประกอบสร้างตัวบทด้วยคำขวัญของพรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย โดยให้พิมพ์โรจน์กล่าวเพื่อโต้ตอบดร. พิศเมรี ว่าคนที่คิดว่าเงินไม่ใช่งูพิษก็ คือคนที่มีแนวคิดเช่นนี้ การใช้ตัวบทนี้ปริทรรศ ไม่ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาแต่เป็นการเสียดสี กระทบกระเทียบเพื่อวิจารณ์ พฤติกรรมของนักการเมืองที่เห็นเงินเป็นพระเจ้าเสมอ

 

                นอกจากปริทรรศ จะใช้ความเป็นสหบทเพื่อเสียสีนักการเมืองแล้ว  ยังพบการใช้ความเป็นสหบทเพื่อเสียดสีระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เน้นความเป็นเสรีภาพส่วนบุคคลจนลืมเสรีภาพส่วนบุคคลของคนอื่น  ผ่านการเล่าโครงเรื่องบทภาพยนตร์  ๒๐๒๐/๒๕๖๓ ของภาวุธ ที่เล่าถึง การต่อสู่ของดร.มนตราเพื่อเรียกร้องสิทธิความเป็นส่วนตัวในที่สุด ดร.มนตราก็ต้องแกล้งยอมแพ้ แต่วิรัญดา  ดาราสาวที่โดนล้วงลับ ข้อมูลและถูกติดตามโดยเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด คิดว่า ดร. มนตราต้องการยอมแพ้จริง จึงบุกเข้าไปในบ้านของดร.มนตรา  ดร.มนตราจึงมีโอกาสอธิบายความคิดของเข้าให้ วิรัญดาฟัง ว่า

 

ดร.มนตรา :  ฟังแผนผม   ผมเอือมกับประเทศนี้เต็มที่   จนมาค้นพบมิคาเอล  กอร์บาชอฟ   วัย ๕๔ ปี   อดีตประธานาธิบดีรัสเซียผู้เป็นนักความจริงนิยมในสมัยคอมมิวนิสต์รัสเซียคลอนแคลนจากพายุทุนนิยมอย่างหนัก   จนเขาเลิกประท้วงหรือต่อต้านพายุทุนที่โหมกระหน่ำลัทธิคอมมิวนิสต์แล้วหันมาใช้นโยบายอิสระเปเรสทรอยก้า   ซึ่งแปลว่า  “เปิดรับเสรีภาพ   ยินดีต่อการแฉ  สนับสนุนการสะสมทุน”  ซึ่งนั่นล้วนเป็นความหวานมันที่สุดต่างจากรสชาติน่าเบื่อแบบคอมมิวนิสต์ซึ่งครอบงำประเทศนี้มาตลอด  จนเขาได้รับรางวัลโนเบล  ได้รับการเชียร์  แต่เขาต้องเจอปัญหาความวุ่นวายเมื่อทุกกลุ่มติดใจรสชาติเปเรสตรอยกา  หลายกลุ่มกล้าเล่นเลยเถิดถึงกับแยกประเทศประกาศเอกราช  อ้างความจำเป็นเฉพาะกลุ่มสำคัญว่า  แล้วอาณาจักรรัสเซียก็ล่มสลายเหมือนคนตัวใหญ่แตกร่างเป็นคนแคระ  คุณก็คงพอรู้  ยูเครนเอย  มอลดาเวีย  ลัตเวีย  มันคือความแตกหักจากรสชาติแห่งเสรีภาพที่ถูกโยนเข้าให้ผู้โหยหิว  เหมือนเทฝนใส่ความร้อนแล้ง  โยนเป็ดย่างให้นักโทษที่หิวทรมานในคุกนาน  ๘  ปี   มันคือวิกฤติการณ์สำลักภายในจิตใจและกายที่ไม่พร้อมของตัวเอง 

(กรูกันออกมา  หน้า  ๕๔)

               

 

 

 

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

                ปริทรรศ  ใช้ความเป็นสหบทโดยการกล่าวถึงตัวบทอื่น เพื่อเสียดสีระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนมีเสรีภาพในทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ในความมีสิทธิเสรีภาพนั้นทำลาย ลดทอน สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ปริทรรศ จึงเปรียบเทียบแผนการที่ ดร. มนตราจะทำกับ ระบบการปกครองที่เปิดรับเสรีภาพของ คาเอล  กอร์บาชอฟ    แต่ในที่สุดระบบนี้ทำให้ประเทศสหภาพโซเวียต ต้องลงสลายไปในที่สุด  เหมือนกับการปกครองในประเทศไทย หากความมีเสรีภาพมิได้ถูกจำกัดแม้ละเมินสิทธิของผู้อื่น ก็คงอาจเหมือนกับประเทศรัสเซีย ก็เป็นได้

 

                ในอีกหนึ่งตอนที่ปริทรรศเสียสี  นักการเมือง ที่มุ่งรักษาแต่ผลประโยชน์ของตนจนหลงลืมผลประโยชน์ของประเทศชาติ  คือ  ตอนดร. มนตรา อธิบายแผนการของตนเองใน วิรัญดา ฟัง  ว่า

 

ดร.มนตรา :  เราจะไม่ยอม  แต่จะตั้งสภาปฏิรูปหรือสภาทุกเหล่าทัพแห่งชาติ  สภาสุดเนี้ยบสุดมั่นคง  สภารัฐบาลกูแห่งชาติ  หรือสภาอย่างหนึ่งอย่างใดแน่นอน  ทั้งที่ไม่รู้จะปฏิรูปอะไร  นอกจากความเป็นรัฐบาลนิยม  ดังนั้นเมื่อความวุ่นวายเกิดขึ้นมากๆ แบบเฮกันยึดสนามบิน  หรือเฮกันยึดจังหวัดทั้งจังหวัด  ก็จะมีแต่คนปฏิเสธ  และวันนั้นผมเกรงว่าจากประเทศจะเหลือแค่เมืองหลวง  และตอนนั้นผมอาจหลบออกมาหาจังหวัดสักจังหวัด  หรือตำบลสักตำบล  แล้วบุกยึดทำการปฏิวัติก่อตั้งเป็นประเทศขึ้นมา  ฮะฮะฮะ  ชื่อว่าประเทศมนตรา  ฮ่าฮ่าฮ่า  แล้วมีคุณเป็นรองนายกฯ  ฮ่าฮ่า

(กรูกันออกมา  หน้า  ๕๖)

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 426389เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท