หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a8 : ห้องทดลองในชีวิตจริง


อ้าว กลายเป็นกำลังฝึกการพยากรณ์อากาศไปซะแล้วหรือนี่

เคยพูดถึงจุดน้ำค้างว่าเป็นจุดเปียกที่สุดที่อากาศจะให้ไอน้ำปนอยู่ได้  อุณหภูมิตรงจุดนี้คือความเย็นที่ทำให้หมอกและเมฆเกิดขึ้น

เพิ่งรู้ว่า “อุณหภูมิจุดน้ำค้างจะเท่ากับอุณหภูมิของอากาศตรงจุดนั้นๆก็ต่อเมื่อความ ชื้นในอากาศอิ่มตัวเต็มร้อยหรือความชื้นสัมพัทธ์เป็น ๑๐๐% และเมื่อไรที่ความชื้นสัมพัทธ์เต็มร้อย เมื่ออุณหภูมิอากาศตรงนั้นเท่ากับจุดน้ำค้างด้วย  ความกดของอากาศตรงจุดนั้นจะคงที่”

ความกดอากาศทำให้คนไม่อึดอัด รู้สึกสบายๆก็ได้ ไม่สบายก็ได้ เพิ่งอ๋อว่าจุดน้ำค้างเกี่ยวกับความสบายของคนตรงความสัมพันธ์ของมันกับความ ชื้นสัมพัทธ์และความกดอากาศนี่เอง

มีคนเขาบอกว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าจุดน้ำค้างอยู่ตรงไหน ให้นำน้ำแข็งมาใส่แก้วไว้ แล้วเอาเทอร์โมมิเตอร์แหย่ลงในแก้ว เมื่อไรที่เห็นไอน้ำเกาะแก้ว ก็ให้อ่านอุณหภูมิ อุณหภูมินี้แหละคือจุดน้ำค้างของไอน้ำในอากาศ ณ เวลานั้น

หมายความว่า ถ้าบรรยากาศที่ห่อหุ้มตรงจุดนั้นมีความชื้นสูง เวลาที่ไอน้ำเกาะแก้วก็จะสั้นซินะนี่

อากาศที่ห่อหุ้มตัวเราอยู่โดยรอบที่บริเวณใกล้พื้นดินจะมีความหนาแน่นมากและลดลง เมื่ออยู่สูงขึ้นไปจากระดับพื้นดิน อากาศรอบตัวคนเป็นส่วนหนึ่งของอากาศในบรรยากาศของโลก  บรรยากาศรอบตัวคนมีความสำคัญต่อความรู้สึกสบายของคนเพราะทำหน้าที่ช่วยปรับอุณหภูมิรอบตัวให้พอเหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่คนอยู่ร่วมรวมถึงตัวคน

คุณสมบัติของอากาศมีผลต่อชีวิตคนด้วย อุณหภูมิของอากาศตามที่ต่างๆจะแตกต่างกัน แม้ในที่แห่งเดียวกันอุณหภูมิของอากาศในเวลาที่แตกต่างกันจะไม่เท่ากันด้วย

สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันทำให้การให้ รับและถ่ายโอนความร้อนไม่เท่ากัน เวลาต่างๆของสถานที่แห่งเดียวกันอุณหภูมิไม่เท่ากันเพราะอิทธิพลของแสงอาทิตย์ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น ปริมาณฝน ปริมาณไอน้ำในอากาศ เป็นต้น

เรื่องของการเกิดหมอก เอามาใช้ดูไอน้ำในอากาศจะกลั่นตัวเป็นหมอกควันหรือเปล่า ดูไอน้ำในอากาศได้สำหรับห้องกระจกที่มีอากาศนอกห้องเย็นกว่าในห้อง

การเกิดหยดน้ำที่เกาะที่ด้านนอกของแก้วน้ำ เย็นเอามาใช้ดูความอิ่มตัวของไอน้ำได้  อุณหภูมิของอากาศเวลากลางคืนเย็นกว่ากลางวันขนาดไหนใช้ดูหยดน้ำที่เกาะสิ่ง ของได้

ทีนี้ก็เหลือเรื่องฝน จะเป็นต้นเหตุเติมไอน้ำในอากาศแค่ไหน  แนวปะทะของฝนกับอาคารที่ได้เห็นแล้วเกิดบ่อยช่วงไหนก็คงต้องไปดูกัน ปริมาณฝนหนักเบาอย่างไรก็ควรรู้

ลมกับอุณหภูมิจะทำให้รู้ว่าเปียกที่เกิด อยู่จะทำอย่างไรให้แห้ง จุดไหนที่ควรระวังเรื่องเปียกนานๆ  ส่วนที่มีน้ำขังที่ไหนก็แล้วแต่ก็ยังไม่รู้ว่าลมกับอุณหภูมิเข้ามาเอี่ยวด้วยอย่างไร

เรื่องนี้ก็เรื่องใหญ่ กิจกรรมที่คนดำเนินในส่วนต่างๆซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุณหภูมิรอบตัวคนมาก จะได้ข้อมูลมาอย่างไรไม่ง่ายเลย

แหล่งผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ภายในและนอกอาคารตรงนี้เป็นอย่างไร ไปดูตรงจุดที่แสงแดดส่องถึงก่อนแล้วกัน จะได้รู้ว่ามีตรงไหนบ้างที่ร่วมก่อการให้เกิดปรากฏการณ์ความร้อนสะสมของตึกชั้นบน รวมไปถึงการร่วมก่อการปรากฎการณ์เรือนกระจกในบรรยากาศโลก

ทั้งหมดที่ตามหาความรู้มารวมๆดู อ้าว กลายเป็นกำลังฝึกการพยากรณ์อากาศไปซะแล้วหรือนี่ 

ก็ดีนะได้ฝึกคาดหมายสภาวะอากาศและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตของสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรา แล้วได้ประโยชน์ในการนำมาช่วยคนด้วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย

หมายเลขบันทึก: 426383เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท