หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a9 : สางเจอแล้วต้นเหตุหลัก


ไม่น่าเชื่อว่าน้ำขังใต้ตึกจะส่งผลให้เกิดความชื้นสัมพัทธ์ที่สะสมได้สูง อย่างปัญหาที่ปรึกษามา เข้าใจปิ๊งขึ้นเลยว่า มิน่าละเด็กที่อยู่ในสลัมที่มีน้ำขังตลอดปีจึงป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจง่ายๆ กัน อย่างนี้ในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง บ้านที่อยู่ในที่ลุมน้ำขังก็มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคทางเดินหายใจง่ายขึ้นกว่าตรงอื่นซิ

ตามไปดูพื้นที่ของตึกเจ้าปัญหาแล้ว เพิ่งรู้ว่าตึกแห่งนี้มีการซ่อมแซมภายในใหม่แล้วเปิดใช้เมื่อกลางปีที่ผ่าน มานี้เอง รู้สึกเอะใจกับองค์ประกอบทั้งในและนอกตึกที่ได้เห็น

ใช้หลักแรกรวบรวมข้อมูลมาใช้ก่อนพอให้เห็นความเชื่อมโยง หาแหล่งความชื้นหลักๆในอาคาร   แหล่งน้ำที่อยู่ในรูปของเหลวที่ให้ความชื้น เช่น สภาวะฝนตก, การรั่วไหลของน้ำจากปั๊ม/ท่อ และแหล่งน้ำผิวดินและไอน้ำที่มาจากผิวดินที่อยู่ติดกับตัวอาคารก่อน แล้วก็เจอเลยนี่ไง

รอบตึกมีคูน้ำอยู่โดยรอบครบด้าน ในคูมีน้ำไหลรินตลอดทั้งวัน บางช่วงก็มีน้ำนิ่งขังอยู่ให้เห็น  ใต้ถุนตึกมีช่องว่างให้น้ำขังได้

พื้นของตึกอยู่สูงจากพื้นดินราวครึ่งเมตร  ด้านหลังตึกเป็นระเบียงที่เดินออกจากตึกออกไปนั่งเล่นได้ ระเบียงกว้างราวเมตรเศษๆ ยาวราว๑๕ เมตร ใต้ถุนตึกที่อยู่เลยสุดทางของระเบียงทั้ง ๒ ข้างเป็นช่องว่างที่มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา  ดูเหมือนใต้ถุนตึกที่เป็นช่องว่างนั้นเป็นส่วนที่ลอยท่อต่างๆทั้งท่อเข้าและ ท่อออกของของเหลวทุกชนิดที่เข้าและออกจากอาคาร  จุดที่เห็นน้ำขังนี้จุดที่อยู่ไกลทางเดินเชื่อมตึกแแสงแดดส่อง จุดที่อยู่ใกล้ทางเดินเชื่อมตึกแดดส่องไม่ถึง

น้ำที่เห็นขังอยู่ในระดับเดิมทุกวัน มีร่องรอยน้ำไหลออกมาให้เห็นด้วย สิ่งที่เอ๊ะก็คือ น้ำมาจากท่อหรือมาจากใต้ดิน ก่อนซ่อมแซมตึกน้ำก็มีกลิ่นเหม็น แต่หลังซ่อมแล้วก็หายไป

ทีนี้ก็ไปดูต่อว่ามีวัสดุในอาคารที่ดูดซับน้ำได้ เช่น วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคาร , สิ่งของต่างๆ, ร่างกายมนุษย์ และกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตรงไหนบ้าง แน่นอนว่าสิ่งที่เจอคือ ร่างกายคนทั้งผู้ป่วยและผู้ไม่ป่วย จำนวนอย่างน้อยที่ครองพื้นที่อยู่ก็ไม่น้อยกว่า ๓๐ คนในทุกช่วงเวลา

ส่วนของพื้นซึ่งมีคนถือครองใช้สอยเป็นคอนกรีต ไม่ปูกระเบื้อง มีแต่ในห้องน้ำที่ปูกระเบื้อง ผนังอาคารด้านหนึ่งมีต้นไม้ใหญ่และที่โล่งระหว่างอาคาร พื้นที่โล่งเป็นหย่อมหลุมดินที่ปลูกพืชสวนไว้เป็นหย่อมๆ ตรงไหนที่ไม่ปลูกพืชสวนก็ปูแผ่นซีเมนต์บล็อกไว้  ผนังอีกด้านชนกับพื้นที่โล่งพื้นเป็นสนามหญ้า ที่มีแนวต้นสนอินเดียปลูกเป็นแนวขนานกับตัวตึกห่างจากผนัง ๒ เมตร

ผนังตึกด้านหลังมีระเบียงทอดยาวตามแนวตึก หลังคาระเบียงเป็นพื้นของชั้นบน มีร่องรอยของตะไคร่เกาะตรงส่วนที่ยื่นออกเป็นชานนอกอาคารของชั้นบน วัสดุเป็นคอนกรีต ปลายระเบียง ๒ ข้างอยู่ห่างจุดที่มีน้ำขังใต้ถุนราว ๑ เมตร ใต้ระเบียงเป็นคูน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของคูน้ำรอบตึก คูน้ำห่างจากระเบียงราวครึ่งเมตร มีแสงแดดส่องถึงในช่วงครึ่งเช้าของวันทุกวัน

ผนังตึกชั้นล่าง ไม่มีร่องรอยว่าตรงไหนชื้น มีแต่ชั้นบนที่ผนังใกล้ระเบียงซึ่งเป็นส่วนภายนอกอาคารมีร่องรอยคราบตะไคร่ สีดำเกาะอยู่ เวลาหน้าแล้งตรงนี้ก็ล่อนหลุดออกไป เวลาหน้าฝนก็เปียกให้เห็น  หน้าฝนตรงจุดนี้สามารถให้ไอน้ำจากภายนอกอาคารเข้ามาในอาคารได้ถ้ามีลมดูดไอ น้ำเข้าไปซินะ

กิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆภายในอาคารโดยปกติก็แค่ทำความสะอาดด้วยการเช็ด สิ่งที่เช็ดมีพื้น เตียงคนไข้ ล้างพื้นห้องน้ำ และทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับให้คนไข้ใช้ขับถ่ายบนเตียงได้

รวบรวมข้อมูลแล้วก็เพิ่งอ้อว่า ที่แท้ต้นเหตุของความชื้นที่พบเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขานะนี่  ทีนี้ทำยังไงต่อดีให้แหล่งน้ำขังใต้ถุนแห้งได้ละ ก็พื้นที่นั้นถ้าเข้าไปก็ต้องเลื้อยตัวในท่านอนเข้าไป ถ้าเข้าไปดูแล้วจัดการหาจุดรั่วของท่อทำยากมากเลย เอาเหอะไปบอกให้รู้ก่อนแล้วค่อยว่ากันจะทำยังไง

ไม่น่าเชื่อว่าน้ำขังใต้ตึกจะส่งผลให้เกิดความชื้นสัมพัทธ์ที่สะสมได้สูง อย่างปัญหาที่ปรึกษามา  เข้าใจปิ๊งขึ้นเลยว่า มิน่าละเด็กที่อยู่ในสลัมที่มีน้ำขังตลอดปีจึงป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจง่ายๆ กัน

อย่างนี้ในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง บ้านที่อยู่ในที่ลุมน้ำขังก็มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคทางเดินหายใจง่ายขึ้นกว่าตรงอื่นซิ

หมายเลขบันทึก: 426384เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท