ปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพด้านสุขภาพ



          ในการประชุม PMAC 2011 วันที่ ๒๘ ม.ค. ๕๔ เช้า เวลา ๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. เป็น Plenary Session เรื่อง Professional Leadership and Education for 21st Century   ซึ่งเป็นการนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้รายงานเรื่อง Health professionals for the new century : transforming education to strengthen health systems in an interdependent world.  และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระดับประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแนวทางของรายงาน

          ผู้นำเสนอคือ ศ. Lincoln Chen ประธานของ China Medical Board   มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติม ๓ คน  ผมเป็นคนหนึ่งในนั้น   โดยผมให้ความเห็นจากมุมมองด้านการลงมือปฏิบัติ ในประเทศไทย   ตาม ppt นี้

          สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือ

•    การจัดการศึกษาแนว competency-based
•    การจัดการศึกษาร่วมกันหลายวิชาชีพ เพื่อเอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ในหลายวิชาชีพสุขภาพ
•    จัดการเรียนรู้แบบ transformative learning และ interdependence in education เพื่อนำไปสู่ equity in health
•    เสนอการปฏิรูป ๑๐ ข้อ ใน ๒ กลุ่มคือ

 

การปฏิรูปการเรียนรู้

๑. ใช้หลักสูตร competency-based
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ interprofessional และ transprofessional
๓.  ใช้พลังของ IT เพื่อการเรียนรู้
๔. ใช้ทรัพยากรของทั้งโลก เอามาปรับให้เข้ากับสภาพในท้องถิ่น
๕. จัดให้มีทรัพยากรเพื่อการศึกษา
๖. ส่งเสริมให้เกิดความเป็นวิชาชีพแนวใหม่  ที่เน้น competency เป็นหลัก   มีการทำงานร่วมมือเป็นทีมระหว่างวิชาชีพ  ไม่เป็นไซโล อย่างในปัจจุบัน
๗. จัดให้มีกลไกวางแผนร่วมกัน

การปฏิรูปสถาบัน

๘. ขยายศูนย์วิชาการ เป็นระบบวิชาการ
๙. เชื่อมโยงกันผ่านเครือข่าย พันธมิตร และการรวมกลุ่ม
๑๐. สร้างวัฒนธรรม critical inquiry 

          ช่วง ๑๒.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. ของวันที่ ๒๘ ม.ค. ๕๔ เราเชิญคณบดีหรือผู้แทนของคณะสาธารณสุขศาสตร์  พยาบาลศาสตร์  และแพทยศาสตร์ จากทั่วประเทศมารับประทานอาหารเที่ยง และประชุมเสวนา เพื่อมาทำความเข้าใจความจำเป็นและแนวทางของการปฏิรูปนี้   และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นว่า ควรมียุทธศาสตร์และแนวทางดำเนินการอย่างไร  รวมทั้งแลกเปลี่ยนนวัตกรรมเล็กๆ ของแต่ละสถาบัน ตามแนวทางของการปฏิรูป

          ผลการเสวนาทำให้ผมชื่นใจมาก  เพราะไม่มีร่องรอยของความคิดเชิง “ไม่เห็นความจำเป็น” หรือ “ของเราดีอยู่แล้ว” หรือ “ยุ่งยากโดยไม่จำเป็น”   ผู้แสดงความเห็นทุกคนเห็นด้วยในหลักใหญ่ๆ ของการปฏิรูป   และหลายสถาบันมีนวัตกรรมอยู่บ้างแล้ว   หรือแสดงให้เห็นโอกาสที่จะใช้สถานที่ใหม่ในการจัดการศึกษาตามแนวทางนี้ เช่นศูนย์การแพทย์รามาธิบดีที่บางพลี  และที่ มข. คณบดีด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประชุมปรึกษาหารือความร่วมมือกันทุกเดือน เป็นต้น

          เวียดนามกำลังดำเนินการปฏิรูปอุดมศึกษาอยู่พอดี   จึงเอาการปฏิรูป HRH Ed ควบเข้าไปด้วยเลย  political commitment จากคนระดับรัฐมนตรีสูงมาก  ซึ่งแปลว่าการปฏิรูป HRH Ed ของเวียดนามจะมีทรัพยากรสนับสนุนเต็มที่   ต่างจากของไทย ที่ของเราไม่มี political commitment   และไม่มีเงิน แต่เราก็จะทำ   โดยทำกันแบบเครือข่าย ซึ่งแปลว่าไม่มีอำนาจบันดาล  แต่เป็นการพร้อมใจกันทำ ร่วมกันทำเพราะเห็นประโยชน์  คือประโยชน์ของบ้านเมือง ที่เลยจากประโยชน์เฉพาะกลุ่ม HRH Ed

          ของไทยเรามีคณะทำงาน ประกอบด้วย ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์, ศ. พญ. วณิชชา ชื่นกองแก้ว, ผศ. พญ. สายพิณ หัตถีรัตน์, ศ. นพ. อนันต์ -,

          ผมเคยเขียนเล่าเรื่องนี้ไว้ที่, , ๓,  

          เที่ยงวันที่ ๒๙ ม.ค. สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะของ Prof. Lincoln Chen รวม ๘ คน ได้แก่ Prof. Ariel Pablos-Mendez, Sir Nigel Crisp และภรรยา   ทั้ง ๓ ท่านนี้เป็นสมาชิกของ Commission ที่ยกร่างรายงาน   และสมาชิกทีมไทย ๔ คน ได้แก่ ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา, ศ. นพ. พิเศก ลุมพิกานนท์, ศ. พญ. วณิชา ชื่นกองแก้ว   Prof. Lincoln Chen ต้องการไปกราบบังคมทูลเรื่อง HRH Education Reform ตามบันทึกนี้  และการทำงานในประเทศไทย เพื่อปฏิรูประบบของประเทศไทย   และร่วมมือเป็นเครือข่ายกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค  เป็นการปูทางให้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เข้าไปหนุนกิจกรรมปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพครั้งใหญ่   ที่หากขาดบารมีระดับสูง ยากที่จะดำเนินการให้บรรลุได้

          ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา ให้คำแนะนำยุทธศาสตร์ ๓ ข้อ ซึ่งสอดคล้องกับที่คณะทำงานคุยกัน  และตรงกับที่คุยกันในการเสวนาในกลุ่มคณบดีเมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค.   ได้แก่
          ๑.   Thailand National Conference for Health Professionals Education
          ๒.   Education for health professionals must be in line with health services system --- responseto needs
          ๓.   Health professionals will work together in teams at the district level (district community hospitals & district public health)

ต่อไปนี้เป็นบันทึกย่อที่ผมใช้ iPad จดไว้ ระหว่างการประชุมกับคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และแพทยศาสตร์ หรือผู้แทน ที่เชิญมาร่วมหารือกัน จากทั่วประเทศ มีผู้มาร่วมประมาณ ๔๐ คน   ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยดอกจันทน์คู่ (**) คือความคิดปิ๊งแว้บของผมระหว่างนั่งดำเนินการประชุม 

Lincoln
       สภาพในปัจจุบัน มีทั้งด้านน่าชื่นชม (bright side) และด้านอ่อนแอ (darker side)   ตัวหลักด้านอ่อนแอคือ arrogance, silo behavior  **เมื่อมองจากผลประโยชน์ของสังคม
**ความจริง หรือภาพใหญ่ ที่บางส่วนสร้างความไม่สบายใจ อาจก่อปัญหาร้ายแรงในอนาคต
      Vietnam coupling HRH Ed Reform with Hi Ed Reform
วณิชชา
     สะท้อนภาพ Commission Report  จากการไปร่วมประชุมเปิดตัวรายงานที่บอสตัน วันที่ ๓๐ พ.ย. – ๑ ธ.ค. ๕๓
     มองภาพเชิงระบบ
     demand - supply ไม่ตรงกัน
     Subsaharan Africa การกระจายบุคลากรไม่สม่ำเสมอ  มี innovative premed, team-based ed, community-based training, จะทำ capacity building, ลด brain drain, internatinal collaboration in research, 1ry HC in community, Accreditation, QA หลักสูตร

ภิเศก
    เสนอมุมมองว่าใน ๑๐ ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างด้าน Med Ed ในประเทศไทย
    ผลิตแพทย์เพิ่ม เชื่อมโยงฝ่ายผลิตการการใช้งาน
   การใช้ทุน ๓ ปี
   ODOT รับทุน ๖ ปี ทำงานในอำเภอ ๑๒ ปี
   หลักสูตร :  เพิ่ม H Promotion, ethics, evidence-based med, eLearning, ไป ตปท., community exposure, communication skills, professionalism
   ขาด interprofessional ed
   ขาด equity, Public Health mind
   ขาด leadership, mgt. skills
   ขาด global perspectives
   เกณฑ์แพทยสภา
   ทีมคณะทำงานจะมี นพ. โสภณ และ อนันต์ จากจุฬาฯ ด้วย

เอื้อมพร ทองกระจาย  คณบดีพยาบาลศาสตร์ มข.
   Community involvement ทำ MOU กับ อบต.   attitude ฝึกโดย รพช. และ ชุมชน
   Global awareness, local sensitive โดยทำ regional networking   จะส่งไปทำ nursing practicum ใน ๑๐ ประเทศ   เด็กไม่อยากไปลาวเพราะคล้ายๆ ไม่ได้ไปต่างประเทศ
   มข. มีการประชุมคณบดีด้านสุขภาพ  เพื่อทำ interprofessiona ed   มี commed camp ออกค่าย 6 wk ร่วมกันใน นศ. ด้านสุขภาพ


ยรรยง  รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์  มข.
    มี consortium คณะสาธารณสุขาสตร์ของประเทศ
    สมัยก่อนเก่ง ชช.   ต่อมาลอกหลักสูตร อเมริกา.  หย่อน ชช.
    หย่อนภาษา
    ป. โท เอก ขาด leadership skills, mgt skills   ความรู้ไม่กว้าง
    ลาว ดร. ประนอม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยลาวได้มาร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

สมเกียรติ  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว.
   เด็กเป็นคนรุ่น Gen Y  IT-based
   Networking
   ประเทศที่ผลิตแพทย์มากๆ ก็ไม่พอ
   ต้องคิดถึง  3C คือ Continuity, Change, Choice

พล. อ. อ. อวยชัย  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม. นราธิวาสราชนครินทร์
   คณะแพทยใหม่ ๖ คณะใน ๖ มหาวิทยาลัย คือ สุรนารี, มหาสารคาม, อุบล, วลัยลักษณ์,  บูรพา, นราธิวาส นำโดย พล. ท. พญ. วณิช  อยากให้จบแล้วอยู่ในชนบท  **Community-based, PBL, competency-based curriculum 
   ร่วมมือ U Illinois at Rockford
   อยากให้ สกอ. ส่งเสริมหลักสูตรที่เกื้อกูล ชช.

รศ. นพ. ป่วน สุทธิพินิจธรรม  คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข  ม. อุบลฯ
   ปัญหา maldistribution  เพราะไม่สอนบนพื้นฐานของความจริง
   เกณฑ์แพทยสภา ไม่เอื้อ กำหนดให้ต้องมี รพ. ๔๐๐ เตียง  แต่จบแล้วจะให้ไปอยู่ รพ. ๓๐ เตียง
   หา อจ. ยาก
   ต้องการการปรับใหญ่ แพทยสภาเปิดความยืดหยุ่น อย่าเอา ๔๐๐ เตียงเป็นเกณฑ์   ให้ นศพ. ไปฝึกใน รพ. เล็ก   จึงจะได้บัณฑิตแพทย์ที่เหมาะต่อการทำงานในชนบท
   งปม.
   network ระหว่างวิชาชีพ

ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี
  ต้องเชื่อม H professionals - community
  ต้องทำทั้ง undergrad และ postgrad
  สำหรับรามาฯ หลักการ competency-based สอดคล้องกับแผนบางพลี  รพ. ๔๐๐ เตียง 1ry 2ry care  ทะลายกำแพงภาควิชา  basic sci ภาคเดียว  early community exposure, contemplative ed., IT eLearning
   จะเพิ่ม inter-professional link, leadership & mgt skills
   Postgrad : นศพ. ส่วนหนึ่งมาจาก ตจว. จะส่งเสริมการฝึก Fam med เพื่อให้อยู่ ตจว. ได้ ต้องสร้าง career path ศักดิ์ศรี

ศ. นพ. ประกิต  รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
   Integration ทำลายกำแพงภาควิชา
   competency-based, integration-based
   International Curriculum

พล.ท. พญ. วณิช  คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มทส.
   ต้องการผลิตแพทย์ให้อยู่ในชนบท รับเด็กใน พื้นที่
   มีทั้ง อจ. แพทย์ และ อจ. พยาบาล ไปสอนร่วมกันในชุมชน
  ต้องการการพัฒนา อจ.
  Fam Med
  Multi-professional Learning ต้องออกแบบ

รศ. ดร. ศิริพร  คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์  มธ.
   สถาบันผลิตพยาบาลทั้งประเทศ  ๘๐  มี ๓ เครือข่าย
  ปัญหาหลัก แผนการผลิตระยะยาว
  competency ที่ต้องการ ใช้งานได้จริง
  ขาดแคลน อจ. พยาบาล
  เห็นด้วยกับ C-based, teamwork ความเข้าใจระหว่างวิชาชีพ
  เสนอให้สภาวิชาชีพ วิชาชีพต่างๆ คุยกัน มี core competency ที่เรียนด้วยกันได้ เช่น behavior sci, h promotion,
  pilot project แบบ multidisciplinary  ได้ งปม. สนับสนุน

อวยชัย
   น้ำท่วมหาดใหญ่ ให้ นศ. หลายวิชาชีพไปช่วยร่วมกัน   ทำให้ได้ทำงานข้ามวิชาชีพ และสนิทสนมกัน

นพ. จิตตินัฐ  มธ.
  ทันต และแพทย์เคยเรียนด้วยกัน  แต่โดนสภาวิชาชีพกดดัน
  มธ. ปี ๑ เรียน liberal arts
  วิชาสุขศาสตร์ ๖ นก. เรียนร่วม เช่น communication, mgt วิชา non-professional
  กิจกรรมนอกหลักสูตร ช่วยมาก

ศ. นพ. อนันต์ จุฬา
   เรามักหวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปล ต่างๆ  จากที่ WHO มีออกมา   อย่าเอาทุกอย่างใส่เข้าไปในหลักสูตร  ควรหันไปดู competency ที่ต้องการให้ นศพ. มี. เป็นความรู้ ทักษะ พื้นฐานจริงๆ

พูนสุข  คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มน.
  บัณฑิตไม่อยากกลับไปอยู่ชุมชน แต่ติดขัดที่ต้องหาเงินใช้หนี้ กยศ.
  ค่ายอาสาหลายคณะ

นพ. ภูดิษ  คณบดีคณะสาธารณสุขฯ มน.
   มี consortium ของคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ทำหลักสูตร  และร่วมกันจัด exit exam
   ให้เด็ก reapproach ชุมชน ตั้งแต่ปี ๑  **รพ. น้ำพอง พ. วิชัย
   ระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ accredit คือ กรมสนับสนุนบริการ และ สกอ.
   information system ที่ต้องการคือ demand เป็นอย่างไร
   **แผนยุทธศาตร์กำลังคนแห่งชาติ HRDP
  informal structure

รศ. นพ. พงษ์รัก  รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช.
  เชื่อม consortium ของแต่ละวิชาชีพ
  เลียน commission  จัด commission ไทย

ศ. นพ. ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มน.
   วิสัยทัศน์ใหม่ เป็น รรพ. สร้างเสริมสุขภาพชั้นนำระดับ ปท.  ทำให้ ปชช. มีสุขภาพดีขึ้น  เน้น systems approach
   specialist เป็น leader ด้านสร้างเสริมสุขภาพ
   guide policy ของ ปท.
   Sir Michael Marmot :

ศ. นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์
   จากมุมมองคนนอก  มหาฯ ถูกท้าทายจากคุณค่าภายนอกมาก  เช่นระบบการคลังสาธารณสุข ผป. ฟ้อง  เกิดชมรม สมาคมต่างๆ  ถ้าไม่ระวังจะตกเป็นเบี้ยล่าง
  ไต้หวันรัฐบาลปิด รรพ. เพราะคนลด
  ต้อง engage ในเรื่องที่ใหญ่กว่าภารกิจของ รรพ.
  โลกมีการ ปป. ไม่หยุด.  จะมีคน ปท. อื่นมาอยู่ใน ปท. ของเรา

 

          ก่อนจบการประชุม PMAC 2011 ในวันที่ ๒๙ ม.ค. ๕๔  มีการนัดแนะกันว่าจะมีการประชุมคณะผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงใน ๓ ประเทศ คือ บังคลาเทศ  ไทย  และเวียดนาม  ที่นครฮานอย ประเทศเวียดนามในวันที่ ๒๗ เม.ย. ๕๔

          ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลคราวหน้าประมาณเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔   จะมีการนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม เพื่อขอแนวทางว่ามูลนิธิจะรับทำหน้าที่เชื่อมโยงขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของบุคลากรสุขภาพ ที่ข้ามวิชาชีพหรือไม่   หากจะรับดำเนินการ มียุทธศาสตร์สำคัญอย่างไร

วิจารณ์ พานิช
๓๐ ม.ค. ๕๔

 

บรรยากาศในห้องประชุมคณบดีไทย

อีกมุมหนึ่ง

ถ่ายจากด้านหลังห้อง

คำสำคัญ (Tags): #hrh#HRH Education Reform#pmac#pmaf#540215
หมายเลขบันทึก: 426247เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท