หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a7 : มีหลักอะไรให้ตามรอยได้บ้าง


พื้นที่ในอาคารต่างจากพื้นที่โล่งตรงความกดอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ ขอบเขตของพื้นที่ที่กักอากาศไว้ เวลาที่พบความชื้นในอาคาร มีคนเขาบอกไว้ว่าให้ค้นหาแหล่งที่ให้ความชื้นซึ่งจะมี ๔ จุด ตามรอยเส้นทางเคลื่อนที่ของความชื้น แรงขับในการเคลื่อนที่ของความชื้น และอุปกรณ์ต่างๆที่ไวต่อความเสียหายจากความชื้น ได้ข้อมูลมาครบแล้วจึงค่อยว่ากันเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องความชื้น

ไอน้ำเป็นน้ำที่เปลี่ยนสถานะกลายเป็นก๊าซ เมื่อไรที่ไอน้ำเปลี่ยนกลับมาเป็นหยดน้ำ เขาใช้คำเรียกกันว่า “ควบแน่นหรือกลั่นตัว”  เมื่อไรที่ไอน้ำพาตัวเข้าไปปนในอากาศ  เขาเรียกว่า “ระเหย” การระเหยตัวของน้ำเป็นไอน้ำนี้เกิดขึ้นที่ผิวน้ำเท่านั้น

น้ำทุกระดับความลึกเหมือนเด็กซนที่ไม่ยอมอยู่นิ่งกับที่ เคลื่อนที่ตลอดเวลา เด็กหลายคนวิ่งเร็วแล้วชนกันแรงๆอย่างไร การเคลื่อนที่ในน้ำก็มีการชนกันและกัน แรงชนนี้เกิดทุกระดับความลึกรวมทั้งที่ผิวน้ำ ชนแรงมากพอก็ทำให้มวลน้ำหลุดแยกจากกันเหมือนเด็กที่ชนกันแรงแล้วจนคนหนึ่ง กระเด็นไปข้างหนึ่งหรือกระเด็นทั้งคู่

ผิวน้ำที่สัมผัสพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เกิดไอน้ำง่าย ยิ่งสัมผัสนานไอน้ำก็ยิ่งเกิดมากขึ้น

การชนแรงๆของเด็กที่เกิดในที่กว้างๆ เด็กกระเด็นแยกจากกันง่ายยังไง  ความกว้างของผิวน้ำยิ่งมากเท่าไร น้ำก็หลุดเป็นไอได้มากเท่านั้น

ถ้าน้ำหนักอากาศที่กดลงบนผิวน้ำเบา น้ำที่กระเด็นก็ใช้แรงต้านน้ำหนักอากาศที่กดลงมาไม่มากและหลุดไปเป็นไอได้ ง่าย อากาศเบาคืออากาศที่มีอุณหภูมิสูง  แห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และ พัดไป-มาอยู่เรื่อย

น้ำหมุนหรือไหลแรง มีแรงในน้ำมากกว่าน้ำนิ่ง แรงชนที่ผิวน้ำยิ่งแรงขึ้นเมื่อน้ำหมุนหรือไหลแรง ที่อุณหภูมิเดียวกัน น้ำไหลหรือหมุนวนจึงเป็นน้ำที่ปล่อยไอน้ำเข้าไปปนในอากาศจากผิวน้ำได้ มากกว่าผิวน้ำที่นิ่ง

พื้นที่ในอาคารต่างจากพื้นที่โล่งตรงความกดอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ ขอบเขตของพื้นที่ที่กักอากาศไว้ เวลาที่พบความชื้นในอาคาร มีคนเขาบอกไว้ว่าให้ค้นหาแหล่งที่ให้ความชื้นซึ่งจะมี ๔ จุด ตามรอยเส้นทางเคลื่อนที่ของความชื้น แรงขับในการเคลื่อนที่ของความชื้น และอุปกรณ์ต่างๆที่ไวต่อความเสียหายจากความชื้น ได้ข้อมูลมาครบแล้วจึงค่อยว่ากันเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องความชื้น

แหล่งความชื้นหลักๆในตัวอาคารที่มีอยู่ ๔ จุด คือ

- แหล่งน้ำที่อยู่ในรูปของเหลวที่ให้ความชื้น เช่น สภาวะฝนตก, หิมะละลาย หรือการรั่วไหลของน้ำจากปั๊ม/ท่อ

- แหล่งที่ให้ไอน้ำทั้งจากภายนอกอาคารและกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ภายในอาคาร

- แหล่งน้ำผิวดินและไอน้ำที่มาจากผิวดินที่อยู่ติดกับตัวอาคาร

- วัสดุในอาคารที่ดูดซับน้ำได้ เช่น วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคาร , สิ่งของต่างๆ, ร่างกายมนุษย์ และกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น

อย่างนี้ รายการที่จะตามไปดูก็ต้องเพิ่มการสังเกต การค้นหาแหล่งความชื้นเหล่านี้ด้วยเลย เกือบลืมว่าความชื้นที่พูดถึงอยู่นี้คือความชื้นสัมพัทธ์นั่นแหละ

ถ้ามีห้องปรับอากาศเขาว่า ถ้าพบว่าความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงฝนใกล้ตกหรือฝนตกของห้องนี้เกือบ ๑๐๐% และในช่วงปกติ ๔๐-๕๐% ถือว่าดีแล้ว

หมายเลขบันทึก: 426213เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

คุณหมอคงสบายดีนะคะ  ด้วยความระลึกถึงเสมอค่ะ

รูปภาพ ดอกกุหลาบ รูปดอกกุหลาบ สื่อรักแทนใจ วันวาเลนไทน์Happy Valentine day na krab...ขอให้ทุกคนมีความสุข สมปรารถนาทุก ๆ เรื่องที่หวังนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท