ICOMOS อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม


วันวาเลนไทน์ปี ๒๕๕๔ เป็นวันแห่งความรัก ซึ่งในแต่ละปีผู้เขียนมักจะมีกิจกรรมที่ทำไม่ซ้ำแบบโดยไม่เกี่ยวกับความรักส่วนตัวแต่อย่างใด สำหรับวันแห่งความรักนี้ ผู้เขียนไปพบกับเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites หรือเรียกชื่อย่อว่า ICOMOS) ท่านที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม แวะไปชมได้ที่ website http://www.icomosthai.org/main.htm  บทบาทหน้าที่หลักก็คือการอนุรักษ์ และปกป้องคุ้มครองโบราณสถานในลักษณะขององค์กรอิสระ NGO โดยจะเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับอนุสัญญาและกฎบัตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์โบราณสถาน โดยกฎบัตรเก่าแก่ที่มักใช้เป็นต้นแบบมีชื่อว่า "Venice Charter"

 

การไปค้นคว้าหาข้อมูลครั้งนี้ ก็เนื่องมาจากการทำรายงานวิจัยภาคสนาม ซึ่งมีการบูรณาการระหว่างประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ มรดกทางวัฒนธรรม และช่างฝีมือแรงงาน ซึ่งทำให้ผู้เขียนต้องทำการบ้านศึกษาเกี่ยวกับเรื่องArchaeology (โบราณคดี) Modernity ( แนวคิดสมัยใหม่) และ Artisan (ช่างฝีมือ) กับ Labour (แรงงาน) อยู่นานนับเดือนคู่ขนานไปกับการลงพื้นที่สัมภาษณ์ KI (Key Informants) ซึ่งเป็นช่างฝีมือแรงงานมรดกทางวัฒนธรรมที่ถูกหลงลืมไป  ผู้เขียนจึงหวังว่างานวิจัยเล็ก ๆ นี้ถ้าหากสำเร็จไปได้ด้วยดี ก็น่าจะมีประโยชน์ในแง่ของการรื้อและฟื้นงานช่างชาวบ้านที่มักถูกมองข้ามไป 

ทั้งนี้ ในกระบวนการศึกษา ผู้เขียนยอมรับว่าใส่เลนส์หลายเลนส์มาก ทั้งเลนส์นักกฎหมายที่มองเรื่องความพยายามในการนำอนุสัญญา กฎบัตรต่าง ๆ มาใช้ แม้ไม่ได้มีการนำมาใช้ให้มีผลบังคับในประเทศไทยเลย แต่แนวโน้มในการนำมาเป็นแนวปฏิบัติ  (Guidelines) ในการคุ้มครองมีมากน้อยเพียงไร นอกจากนี้แล้ว ผู้เขียนยังได้ใช้เลนส์นักมานุษยวิทยาที่มองถึงเรื่องอัตลักษณ์ของช่างชาวบ้านที่ถูกกดทับตัวตนมายาวนาน โดยจะสังเกตเห็นว่าเราจะไม่ค่อยได้ยินชื่อสกุลช่างใด ๆ ที่เป็นฝีมืองานช่างชาวบ้านเท่าไหร่นัก ในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ก็จะปรากฎแต่สกุลช่างหลวงเป็นส่วนใหญ่  รวมถึงเลนส์ของนักโบราณคดีที่ยอมรับว่าอยู่ในขั้นฝึกหัดระดับต้น ๆ ทีเดียว แต่ก็พอจะเข้าใจวิธีการศึกษาที่ใช้หลัก Material Culture มาวิเคราะห์ ซึ่งต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประสิทธิประสาทวิชาด้านทฤษฎีสังคมให้ทุกสำนักความคิด เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยเชิงบูรณาการศาสตร์ให้คมชัดและลุ่มลึกยิ่งขึ้น

ประเด็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม  ผู้เขียนได้รับการอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ที่ ICOMOS  ซึ่งทำให้เข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นโบราณสถานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการอนุรักษ์ความจริงแท้ดั้งเดิม (Authenticity) ตามกฎบัตรเวนิซที่เน้นองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ Material, Design, Workmanship และ Setting

นอกจากประเด็นนี้แล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนได้ฟังมาเพิ่มเติมก็คือ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับโบราณสถานฯ กำลังจะออกมาใหม่  ซึ่งจะมุ่งคุ้มครองเฉพาะโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรแล้วเท่านั้น ประเด็นปัญหาที่ตามมาก็คือหากพรบนี้ออกเป็นกฎหมายแล้ว เมื่อไรก็ตามที่โบราณสถาน วัดวาอารามแห่งใดที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนได้มีการรื้อถอน หรือซ่อมบำรุงโดยไม่เป็นไปตามวิธีการอนุรักษ์ฯ ก็จะไม่เป็นความผิด  โดยใช้หลักคุ้มครองสิทธิผู้มีอำนาจจัดการโบราณสถานนั้น แทนที่จะมองว่าเป็นสิทธิร่วม (Collective Right) ที่เป็นสมบัติชาติร่วมกัน ก็อาจจะเป็นปัญหาได้เหมือนกันในทางปฏิบัติ ซึ่งผู้เขียนยังไม่ขอยืนยันประเด็นนี้ เนื่องจากยังไม่ทราบว่ากฎหมายใหม่มีเจตนารมณ์เบื้องหลังอย่างไร หรือจะแก้ไข ตัดทอน เปลี่ยนแปลงประเด็นใดอีกหรือไม่กว่าจะผ่านเป็นกฎหมายขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ฝากไว้ตรงนี้ก็คือคำว่า "สิทธิ" ไม่ได้หมายถึงเฉพาะของคนใดคนหนึ่งอีกต่อไปหากมองในกรอบของ "ชุมชน" และ "วัฒนธรรม" ซึ่งเกี่ยวพันกับท้องถิ่น สังคม และผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน  เพราะนั่นไม่ใช่เรื่องของสิทธิปัจเจกบุคคลอีกต่อไป แต่เป็นสิทธิร่วม  ดังนั้น การจะใช้สิทธิอะไร อย่างไร จึงควรพิจารณาให้รอบคอบว่าคือสิทธิทางธรรมชาติ สิทธิที่กฎหมายบัญญัติ หรือ "อภิสิทธิ์" (ไม่ได้หมายถึงตัวบุคคลโดยสิ้นเชิง)

 

หากท่านใดสนใจจะแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องประเด็นมรดกทางวัฒนธรรม มรดกโลก สิทธิทางวัฒนธรรม และกฎหมาย/กฎบัตรต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้อง ยินดีน้อมรับความเห็นทุกท่าน เพื่อจะได้นำไปสู่การทำรายงานวิจัยที่คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไปไม่มากก็น้อย

หมายเลขบันทึก: 426079เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับอาจารย์ สิทธิชุมชน ตาม รธน. ม.67 ที่คนในชุมชนต้องเรียนรู้และป้องสิทธิ

 วิทยาลัยป้องกันชุมชน  คนทำงานชาวบ้าน รวมตัว พิทักษ์สิทธิชุม กรณี ระเบิดเขา คูหา และกรณีท่อแก๊ส สงขลา ถ้าชุมชนป้องกันสิทธิ อิทธิพลก็พรั่น....

  • Ico48 ฟังดูแล้วน่าเป็นห่วงจังเลยค่ะ ในรัฐธรรมนูญให้สิทธิชุมชนก็จริงอยู่ แต่ชุมชนมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันไหมก็เป็นเรื่องเฉพาะชุมชนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง พึ่งอ่านพบว่ามีแนวคิดที่วิเคราะห์ว่าผลประโยชน์รัฐกับผลประโยชน์สาธารณะบางครั้งก็สวนทางกันค่ะ กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้อยู่ค่ะ หากได้คำตอบก็จะนำมาเผยแพร่ต่อไปค่ะ
  • ที่แน่ ๆ รับรู้ถึงความห่วงใยของท่านวอญ่าที่มีต่อชุมชนอีกหลาย ๆ แห่งค่ะ สิ่งที่ทำได้ก็คือบ่าของเราแบกรับเรื่องราวไว้แค่ไหน ขอส่งกำลังใจไปในทุกถิ่นที่มีปัญหาเรื่องสิทธิชุมชนค่ะ
รูปภาพ ดอกกุหลาบ รูปดอกกุหลาบ สื่อรักแทนใจ วันวาเลนไทน์Happy Valentine day na krab...ขอให้ทุกคนมีความสุข สมปรารถนาทุก ๆ เรื่องที่หวังนะครับ

สวัสดีคะ

แม่ต้อยคิดถึงนะคะ น้องศิลาเรียนหนักไหมคะ

บทความของน้องศิลาได้เรียนรู้มากคะ

ในวันมาฆะบูชานี้ขอให้น้องศิลาเป็นผู้รู้แจ้ง รุ้กระจ่างดุจดังท้องฟ้าอันกระจ่างใสในคืนวันเพ็ญนี้นะคะ

รักคะ

  • สวัสดีครับ
  • มาชมกิจกรรมดีๆครับ
  • มีข่าวมาบอก
  • สวัสดีครับ
  • มาชมกิจกรรมดีๆครับ
  • มีข่าวมาบอก

อ่านแล้วรู้สึกว่ามีคุณค่านะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท