เปิดใจคนทำงานเครือข่ายเบาหวาน


เด่นๆ ของเครือข่าย เรื่องของการ create การสื่อสารความรู้ เวลาเตรียมงานเป็นการเตรียมว่าจะอธิบายความรู้ตรงนี้อย่างไร ใช้เวลาเยอะ บางเรื่องบอกตรงๆ ไม่ได้

เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ มีการประชุมทีมแกนนำเครือข่าย ๑๐ กว่าคน เพื่อเตรียมการจัดมหกรรม KM ระดับภูมิภาค เราคุยกันเรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานและการเตรียมทีมที่จะช่วยเราทำงานในแต่ละภูมิภาค

 

หมอฝน (พญ.สกาวเดือน นำแสงกุล จาก รพ.ครบุรี) บอกว่าประสบการณ์ในการไปจัดงานที่ภูมิภาคในปีที่ผ่านมา รู้สึกว่าการทำงานยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เพราะการประชุมที่เราจัดไม่เหมือนกับการประชุมอื่นๆ จึงควรมีการปรับความคิดก่อนที่จะมาเป็นผู้จัดงานร่วมกันได้ อ้อใหญ่ (เปรมสุรีณ์ แสนสม) เสริมว่าผู้เข้าประชุมเตรียมตัวมารับแล้วเอาไปทำต่อ แต่เมื่อประชุมแล้วเสร็จก็มีความพอใจ

หมอฝนเลยชวนให้พวกเราคิดว่า ๓ ปีที่ผ่านมา อะไรทำให้เราทำงานแบบนี้ อะไรเป็นแรงผลักข้างใน อะไรเป็นเทคนิค... โดยให้ทุกคนอยู่กับตัวเองเงียบๆ สัก ๓ นาทีแล้วค่อยตอบคำถาม อ้อใหญ่บอกถามง่าย แต่ตอบยาก

 

บรรยากาศในการประชุม

ภก.เอนก ทนงหาญ จาก รพร.ธาตุพนม ขอพูดก่อนใคร :

ที่ทำงานได้เพราะ KM มีวิธีคิด เป็นความรู้ที่สนุก เพราะเน้น tacit ให้คุณค่าของคนทำงาน เลยทำให้การทำงานของเราแปลก สนุกและตื่นเต้นตลอด ตัว KM ทำให้คนคิดแปลกไป... เวลามาเจอกันก็เปิดใจ แต่ก่อนตัวเองรู้สึกด้อยค่าเสมอ... เราให้คุณค่ากับประสบการณ์เยอะ เราเลยมีความสุขขึ้น แต่ก่อนจะทำอะไรต้องเอาแพทย์มาเป็นวิทยากร เดี๋ยวนี้เป็นใครก็ได้ที่มีประสบการณ์

อ้อใหญ่ (เปรมสุรีณ์ แสนสม) จาก รพ.พุทธชินราช :

ตอนแรกที่เข้ามา... เพราะเข้ากับรูปแบบการทำงาน พอเข้ามาทำ รู้สึกว่าคนในทีมพูดภาษาเดียวกัน มุ่งไปถึงคนไข้เหมือนๆ กัน มาแล้วมีความสุข ตรงกับใจที่อยากจะทำ อยากจะแบ่งปันและรับจากผู้อื่น เอากลับไปพัฒนางาน เพราะเรารู้สึกว่าเราตัน... มาแต่ละทีได้อะไรกลับไปเยอะมาก มาทีไรได้ความคิดอะไรใหม่ๆ ... มาทุกครั้งมีความสุข เติมพลังให้ตัวเอง..มีใจอยากจะทำตลอดไป

มด (ภญ.ปราณี ลัคนาจันทโชติ) จาก รพ.สมุทรสาคร :

ในอดีตเป็นวิทยากรไปบรรยายอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่ปี ๔๑ ทุกอย่างที่แก้ปัญหา อาจไม่ตรงกับ guideline ...ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในสายตาของอาจารย์ เวลามา KM ทำให้เราหยุดคิด หยุดฟัง เป้าหมายเดียวมีหลายคำตอบ… ที่อื่นเวลาใครพูดเสียงดังจะ break คนอื่นไปหมด... เวลาที่เราทำงานจริงๆ จะเห็นการตอบโจทย์ของปัญหาว่าไม่ได้ตามตำรา ตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนความอึดอัด

ไก่ (วรนุตร อรุณรัตนโชติ) จากสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ : ส่วนตัวเหมือนได้มาเรียนรู้ความรู้อีกด้าน ทำงาน TCEN เน้นวิชาการ เน้น evidence based นพ.สมเกียรติบอกว่าถ้า KM แล้วเก็บแบบ R2R ก็เป็น explicit ได้

หนู จากบริษัทโรชฯ : เพิ่งเริ่มเข้ามาประชุม มีความรู้มาบ้าง ทำให้มุมมองของความรู้ที่มีดึงมาใช้ได้ รูปแบบกิจกรรมสามารถเอาไปใช้กับคนไข้ได้

เกด (นัฏธิกา สงเอียด) จากบริษัทแอ๊บบอต : ความรู้เอาไปปฏิบัติได้จริง

ปิ๊ก (ณัฏฐิยา สุธีพิเชฐภัณฑ์) จากบริษัทโรชฯ : มีความรู้สึกว่าทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกันคือความคิดสร้างสรรค์ ทุกคนมี tacit แต่มี tacit อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการดึง tacit และสื่อสารไปยังคนอื่นได้ เป็นความแตกต่าง คนอื่นเขาสื่อสารตรงๆ ของเรามีกระบวนการ

หมอฝน :

...ทุกคนดูมีเป้าหมายที่คนไข้ ประชุมวิชาการเหมือนมีเป้าหมายที่วิชาการ แต่ของเรามีเป้าหมายที่คนไข้ เวลาทำอะไรจะนึกว่าคนไข้จะได้อะไร เป้าอยู่ที่คนไข้ที่รับบริการ ประเทศเรายังมีคนไข้อีกมากที่ยังไม่ได้รับบริการที่ดี...วิชาการอื่นอยู่ที่หมอ...

คนของเราเป็นคนทำงานที่ไม่ใช่เพื่อเงินเดือน แต่ทำเพราะรู้สึกว่ามีประโยชน์ มีความมุ่งมั่นสูง เป้าหมายอยู่ที่งานไม่ใช่อย่างอื่น ทำงานแล้วเรียนรู้จากงานแล้วพัฒนาขึ้นมาด้วยความอยากให้คนอื่นดี แล้วอยากแบ่งปัน ไม่ได้มุ่งหวังรางวัลหรือตำแหน่งวิชาการ แต่อยากให้คนอื่นได้... จาก tacit ทำให้กลับไปอ่าน explicit เยอะขึ้น ไปฟังวิชาการ แต่จะแปลไปสู่การทำงานจริง

ที่นี่มีบรรยากาศของความเป็นมิตร เป็นเพื่อน...เปิดใจ ยอมรับที่จะพลาดหรือไม่พลาดด้วยกัน ทำงานแล้วสบายใจ เหมือนมีเพื่อนอยู่ข้างๆ ช่วยกัน create กระบวนการของการสื่อสารเยอะ จนคิดว่าจะหมดมุกไหม เป็นการให้เกียรติคนฟัง/คนเข้าประชุม ไม่ใช่จัดไปให้จบ แต่ถามว่าเขามาเขาจะได้อะไรไหม เขาจะเกิดประโยชน์อะไร อาจเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี เป็นคุณค่าในใจใช่หรือเปล่า

ธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส.:

คำถามดี... นึกย้อนไปถึงการจัดงานมหกรรม KM แห่งชาติครั้งก่อนๆ เคยติดต่ออาจารย์คนหนึ่ง บอกเรื่องที่เราจะเชิญคนหน้างาน อาจารย์ท่านนั้นไม่เห็นด้วย นึกถึงเรื่อง marketing น่าจะเอาคนที่มีชื่อเสียง แต่อาจารย์วิจารณ์แนะให้เชิญคนหน้างาน ก็ทำมาเรื่อยๆ ...เบาหวานตอนนี้แพร่เชื้อแล้ว สมาคมโรคหัวใจอยากทำบ้าง เพราะมางานเบาหวานแล้วชอบ อยากเดินแบบนี้ อยากรู้ว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องเตรียมต้องทำ

คนทำงานเข้าใจแต่อธิบายยาก เขาไม่เข้าใจที่จะหยิบอะไรใกล้ๆ ตัวขึ้นมา ว่าใช่หรือ....เราก็ตอบไม่ได้ว่าทำไม พอดูหลายๆ ที่ ประเด็นที่เราสนใจก็เข้าใจว่าไม่ใช่ตัวความรู้ เช่น เรื่องของลุงหยาด แต่เป็นประเด็นการเรียนรู้ของลุงหยาด เรามีอะไรแค่ไหนแล้วสามารถหยิบฉวยมาใช้ได้ ที่มาหลายๆ ห้องมาโชว์เรื่องการเรียนรู้ของเขา เขาหยิบความรู้ ถ้าดูที่ตัวความรู้มันเล็ก เป็น mode การสร้างความรู้ ไม่ใช่ mode การเสพความรู้

น้องนุช บ่อคำ จาก สปสช.

อยากพูด ทำไม KM กลุ่มนี้จึงอยู่ได้นาน เหมือนการว่ายน้ำ ถ้าว่ายเป็นกลุ่มจะว่ายไปได้เรื่อยๆ คงเป็นเพราะคนมีความอยากตรงกัน... ใช้ KM มาดึงให้กลุ่มอยู่ด้วยกันได้ ถ้าจะจัดที่ภูมิภาค ควรหาคนทำงานที่อยากเหมือนกัน

วัลลา (ขอพูดยาวหน่อย) :

เวลาไปเข้าการประชุมใหญ่ๆ เช่น มหกรรม KM แห่งชาติ HA Forum มีหลายห้องย่อยที่มีเรื่องดีๆ น่าสนใจ เสียดายที่มีเรื่องให้เรียนรู้มากแต่ไม่สามารถเก็บความรู้ได้ทั้งหมด เพราะเข้าไปเรียนรู้ไม่ได้ทุกห้องในเวลาเดียวกัน จึงตั้งใจไว้เลยว่าในงานมหกรรม KM เบาหวาน ผู้เข้าประชุมมาแล้วจะต้องได้เรียนรู้ครบทุกห้อง อยากให้ทุกคนได้ เลยออกแบบการประชุมเป็นแบบนี้มาตลอด

ที่เน้น tacit เพราะพอรู้จัก KM ก็เห็นเลยว่าการเน้น tacit ทำให้คนทำงานมีความสำคัญ ตอบโจทย์เรื่องวิชาชีพของการปฏิบัติว่าวิชาชีพแบบนี้คนที่มีความรู้มากที่สุดคือคนปฏิบัติ แต่ก่อนเวลามีการประชุมวิชาการ มักมีนักวิชาการมาเป็นวิทยากร คนปฏิบัติมานั่งฟังเหมือนกับตัวเองไม่มีความรู้อะไรอยู่ในตัว แต่พอเราให้ความสำคัญกับ tacit เอาคนปฏิบัติมาเป็นวิทยากร เขาภูมิใจ... การประชุมวิชาการบางครั้งมีวิทยากรหลายคนต่างก็มาพูดตามที่ตัวเองอยากพูด คนฟังก็ฟังความรู้ผ่านหูไปมากมาย แต่ไม่เข้าไปถึงใจ... ของเรารู้สึกว่ามันเข้าไปถึงใจ

พอใช้ KM ตัวเองเปลี่ยนไป แต่ก่อนจะเน้นวิชาการเน้นทฤษฎี ใครพูดอะไรจะถามว่า concept อะไร เอามาจากทฤษฎีไหน... แต่ tacit ไม่ได้หมายความว่าไม่อิงทฤษฎีหรือหลักวิชา ความจริงมีหลักวิชารองรับ แต่ tacit บอกชัดเรื่อง How to (ตามบริบท) ที่หลักวิชาไม่ได้บอกละเอียด

การประชุมแบบของเราตอนนี้ขยายสู่สถาบันการศึกษาพยาบาล เอารูปแบบการจัดมหกรรม KM เบาหวานไปจัดในงาน KM สร้างเสริมสุขภาพของเครือข่ายพยาบาลศาสตร์ ผู้เข้าประชุมมีหลากหลายทั้งนิสิต/นักศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ อาจารย์อาวุโสที่เกษียณแล้วก็มี คนเข้าประชุมชอบบอกว่าการเรียนรู้ไม่แห้งๆ แต่ได้อะไรมาก อาจารย์อาวุโสชื่นชมนิสิต/นักศึกษาว่ามีศักยภาพสูง เวทีแบบนี้คนได้เห็นศักยภาพของคนตัวเล็กๆ สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน ได้ความรู้ ความชื่นชม ภาคภูมิใจ เป็นเสน่ห์ของงาน KM ของเรา

การทำงานของทีมเรามี flexibility สูง น้องๆ มักรู้สึกว่าให้ทำอะไร ยังไม่ clear เลย ขอบอกว่าไม่มีอะไร clear สิ่งที่เราคิดเราเห็นภาพเลาๆ มัน clear ที่สุดก็ตอนที่ได้ลงมือทำ ทำอย่างไรเราก็ไม่ว่ากัน ยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่มีถูกหรือผิด แต่ก็เห็นว่าทุกครั้งพวกเราก็ทำงานได้อย่างที่อยากให้เป็น... เราปรับได้เร็วตามสถานการณ์ บอกปุ๊ปว่าน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างเช่นการสร้างบรรยากาศ ก็ทำได้เลย...

ทีมของเรามีความถนัดมีบุคลิกต่างกัน สามารถเสริมและเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ เวลาทำงานก็จะมองว่าใครถนัดอะไรและมอบหมายงานให้ตรง คนทำงานได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

ที่หมอฝนถามว่าเราคิดรูปแบบของงานใหม่ทุกปี ไม่เหมือนกันเลย เราจะหมดมุกไหม ต้องบอกว่าเราต้องคิดให้ไม่เหมือนเดิมไปเรื่อยๆ คงไม่มีทางจนหรอก และเป็นความท้าทาย ถึงเวลาก็คงคิดได้เอง

หมอฝนพูดเสริมว่าอาจารย์วัลลาเป็นคน support และคอยตบการทำงานให้เข้ากรอบ สนับสนุนเชิงธุรการ ติดตามงานทำให้เป็นรูปร่างได้ ก็ต้องบอกว่าเพราะมีลูกน้องดีที่ช่วยทำงาน

ธวัช หมัดเต๊ะ : เด่นๆ ของเครือข่าย เรื่องของการ create การสื่อสารความรู้ เวลาเตรียมงานเป็นการเตรียมว่าจะอธิบายความรู้ตรงนี้อย่างไร ใช้เวลาเยอะ บางเรื่องบอกตรงๆ ไม่ได้ ทีมมี skills

หมอฝน : คิดจากรากการเรียนรู้ของเรา

เอนก : เห็นด้วยว่าเรามาเสริมกันให้สมบูรณ์ เพราะแต่ละคนมีบุคลิกไม่เหมือนกัน

หมอฝน : เราทำงานเป็นทีมกันดี ตรงที่พูดว่าเสริม-ทักษะการทำงานแบบนี้มันเก่งกว่า เหมือนการสอนและการทำ self help group การทำ self help group ยากกว่า ต้องอ่านบริบทกลุ่มออก เปลี่ยนได้ตามบริบท เป็น skill ที่เรามี

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 424977เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

" จาก tacit ทำให้กลับไปอ่าน explicit เยอะขึ้น ไปฟังวิชาการ แต่จะแปลไปสู่การทำงานจริง" ขออนุญาตดึงคำพูดของหมอฝน ท่อนนี้ชอบ  เพราะเห็นมิติการเรียนรู้ที่มาคู่กับความรู้  มันคงไม่ใช่จบแค่การจำแนกว่าความรู้อันไหนเป็นอะไร ประเภทไหน

อ่านสรุปของอาจารย์อีกที

  •  รู้สึกดีจังครับ
  •  เข้าใจมากขึ้นครับ
  •  วันนั้นได้กำลังใจกลับมาด้วยครับ

 

มีอบรมฝากแจ้งด้วยคะ  ขอบคุณ

มีอบรมฝากแจ้งด้วยคะ  ขอบคุณ

โทรสาร 02- 926- 9333

รักใความเป็นkm มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การได้พูด ได้เล่าเรื่องในสิ่งที่ดีให้คนรอบข้างได้ฟังแล้วได้มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ให้ฟังกันในกลุ่มด้วย

   ผมคงไม่แสดงความเห็นกับความรู้วิชาการและอื่น  ๆ  ครับ เพราะตั้งแต่จำความได้  ปี  2521  แม่เริ่มมีปัญหาประสาทหัวใจ  และเมื่อ ปี  2540  ก็เป็นเบาหวาน  และรักษามาตลอด  ทั้ง  ความดัน  หัวใจ  ทานยามาหลายปี  จนได้  เกาต์  กระเพาะ และอาการทางไต  แต่หลังจากได้มีโอกาสใช้เห็ดหลินจือ  ย้ำนิดหนึ่งว่าแบบสกัดบริสุทธิ์  ระบุสารออกฤทธิ์ได้  ผ่านมา  จากปี 2550  จนปัจจุบันอาการทุกอย่างไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอีก  แต่ไปตรวจตามระยะที่หมอนัด  เลยต้องฝากกับทุกท่านว่า ลองแนะนำผู้ป่วยด้วยครับ  ผมมีประสบการณ์ตรงกับแม่  จาก  รพ. ท่าศาลา  จ.นครศรีธรรมราช ประสบการณ์ที่ดีเป็นงานบุญครับ  0819587709

มนต์ทิพย์ ตัณฑุลาวัฒน์

ขอบคุณมากนะคะ ที่ทำให้ได้รู้จัก KM มากขึ้น มองเห็นในการทำงาน บรรยากาศการทำงานและกิจกรรมที่เพื่อนทำมากขึ้น การได้เข้ารับการอบรม มหกรรมเบาหวานความดันเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วค่ะ

เรียน คูรครู อาทร

    ผมเป็นเบาหวานเหมือนกัน และมีอาการอย่างที่ท่านว่า เห็ดหลินจือที่ว่า ใช้เวลานานไม่ครับ จึงจะดีขึ้น จากคนพิปูน นครศรีฯ อาชีพครู

                                          ขอบคุณ

                                 บัญญติ  ลาชโรจน์

ชอบแนวคิดนี้มากค่ะ โดยเฉพาะความเห็นของอจ.วัลลา ตอนนี้เพิ่งมารับงานพัฒนาคุณภาพHA ของรพ.ในจังหวัดพัทลุง ที่ผ่านมามักเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ทางวิชาการหรือไม่ก็ไปดูงานในรพ.ที่ผ่านการรับรองแล้ว ซึ่งไม่มีผลอะไรก็ไม่มีรพ.ใดผ่านการรับรองเลย แต่ปีที่แล้วเราได้รับการสนับสนุนการเรียนรู้แบบเครือข่ายจากสปสช.และสรพ.ทำให้ทราบว่าเรามีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และความสามารถ ถ่ายทอดได้ดีเยี่ยม ผลงานเด่นแต่ไม่มีใครเห็น จึงมีความคิดนำพวกเราที่เป็นคนทำงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในการประชุมต่างๆ แต่ก็ยังอาจไม่เป็นที่ยอมรับในระยะแรก แต่เมื่อมาอ่านบทความนี้แล้วคิดว่าเราทำถูกและทำต่อไปค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์ ในความคิดของตัวเองKM เป็ณกัลยาณมิตรกับผู้เข้าร่วม แลกเปลี่ยนครั้งใดไฟในตัวลุก ไอเดียบรรเจิดทุกครั้งเพราะเราฟังกัน ไม่มีการแข่งขัน มีแต่จะcare&share  ,thank you for your share

เป็นสมาชิกคนหนึ่งค่ะแม้ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมแต่ได้อ่านก็รู้สึกดีอยากให้มีในเรื่องของระบบอื่นๆบ้างเช่นเกี่ยวกับcardio   respiratory   trauma  เป็นต้นอย่างไรก็ตามหากมีการประชุมอีกขอให้แจ้งด้วยนะคะหากมาได้ก็จะมาค่ะ

ตั้งใจว่าสักวันจะหาทางเข้าไปเรียนรู้ในเครือข่ายนี้ให้ได้ครับ

ขอเชิญคุณหมอสีอิฐ มาร่วมทำงานกับเราใน KM เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ๓ ภูมิภาค ซิคะ พวกเรายินดีต้อนรับ

ขอมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ อยากนำแนวคิดนี้ไปจัดประชุมหรืออบรมในชมรมฟื้นฟูหัวใจ แต่คณะกรรมการโดยรวมยังไม่รู้จัก KM เลยค่ะ ระหว่างนี้จะค่อยๆศึกษาจากที่นี่ เพราะอยากใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงานภาคปฏิบัติ

อาจารย์อรรถไกร พันธุ์ภักดี

ขอบคุณสำหรับความคิดอันมีคุณค่าของคนที่เปี่ยมด้วยคุณค่า...ผมเชื่อว่าด้วยแนวความคิดแบบนี้ ย่อมสร้างสรรค์สังคมทำงานและสังคมความเป็นอยู่ให้สมบูรณ์อย่างมีความสุขได้อย่างแน่นอน

อาจารย์อรรถไกร พันธุ์ภักดี

ผมกำลังทำงานวิจัยปริญญาเอก ซึ่งเกี่ยวข้องกับ โมเดลเครือข่ายทางสังคมของเครือข่ายการจัดการการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอด Best practice. ระหว่างเครือข่ายของแต่ละโรงพยาบาล ภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค...ผมได้รับความรู้เรื่องเครือข่ายการจัดการเบาหวานจากคุณอ้อ(รัชดา)จากโรงพยาบาลพุทธฯ(ตามที่ท่านอาจารย์วัลลาแนะนำให้ไปหา). ต้องยอมรับว่าเครือข่ายนี้มีศักยภาพสูงมากๆในการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์ความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อย่างที่ Nonaka กล่าวไว้ว่า เครือข่ายจะเป็นแรงขับอันน่าอัศจจรย์ในการสร้างสรรค์องค์กรความรู้ ยิ่งเครือข่ายเหนี่ยวแน่มและสื่อสารมีประสิทธิภาพแค่ไหน ความรู้ที่ก่อเกิดขึ้นย่อมมีศักยภาพจนแทบจะวัดไม่ได้เท่านั้น

ยินดีที่ได้รู้จักอาจารย์อรรถไกรค่ะ ความจริงเครือข่ายเบาหวานก็อยากทำวิจัยติดตามดูเหมือนกันว่าผู้ที่ได้ผ่านกิจกรรมของเครือข่ายของเราแล้ว ได้นำความรู้ไปพัฒนางานได้หรือไม่ อย่างไร

วัลลา

ตอนนี้ได้รับข้อมูลดีๆจากพี่อ้อ(รัชดา) เกี่ยวกับเครือข่ายKMเบาหวานในNodeภาคเหนือครับ และได้รับรายชื่อแกนนำในNodeภูมิภาคอื่นๆด้วย จะพยายามติดต่อให้ครบทุกภูมิภาค(ใจจริงอยากทำวิจัยให้ครบทั้ง4ภูมิภาค เพราะจะมีประโยชน์อย่างมากในการบริหารจัดการเครือข่ายKMเบาหวานครับ)

งานวิจัยผมจะเนินในการศึกษาความสามรถในการเรัยนรู้ของแต่ละCop (Absorptive capacity) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในCopและรหว่างCop (Knowledge sharing)การถ่ายถอดBest practiceภายในCopและรหว่างCop โดยบริบทจะมุ่งให้เห็นภาพของอิทธิพลเครือข่ายทางสังคมผ่านการสัมภาษณ์บุคลากรในCop แต่ละCop โดยการวิเคราะห์ Social network analysis แล้วเขียนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ผ่านแผนภาพจากโปรแกรมUCINET/ NetDraw

ประโยชน์ของการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมที่มีต่อเครือข่ายการจัดการคสามรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานคือ

1. ทำให้รู้ว่าใครมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งภายในCopและระหว่างCop

2. ทำให้เห็นความสัมพันธ์ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งภายในCopและระหว่างCop

3. ความรู้ต่างๆถูกส่งถ่ายจากใครไปหาใครหรือจากCopไหนไปหาCopไหน

4.ข้อมูลไปกระจุกตัวที่ไหนมากเกินไปจนทำให้ไม่เกิดการกระจายข้อมูลได้ทั่วถึงทั้งเครือข่าย

5. Cop ไหนมีศักยภาพ แต่ขาดการละเลย(มีความเชี่ยวชาญแฝงอยู่แต่ขาดการดึงออกมาใช้ประโยชน์)

6. Cop ไหนมีโอกาสที่จะหลุดออกไปจากเครือข่าย ถ้ารู้จะได้รียแก้ไขได้ทัน

7. สามารถตรวจเช็คระบบการสื่อสาร ระดับของความร่วมมือ อำนาจการตัดสินใจ มิตรภาพและความไว้วางใจทั้งภายในCopและระหว่างCop

8. เปิดเผยให้เห็นรอยแตกร้าวทั้งภายในCopและระหว่างCop

โดยเป้าหมายของงานวิจัยนี้ก็คือ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และBest practice ทั้งภายในCopและระหว่างCop

น่าสนใจมากค่ะอาจารย์อรรถไกร อยากเห็นผลงานวิจัยไวๆ

วัลลา

วันนี้พยายามอ่านหนังสือที่พี่อ้อ รัชดา (โรงพยาบาลพุทธชินราช). ให้อ่านเมื่อครั้งเข้าไปทำ Pilot. Study เรื่องเครือข่ายKM เบาหวาน...ทำให้ผมได้รู้เลยว่าแนวคิดKM ของทางตะวันตกหรือแม้แต่จะเป็นของเอเซียของ Nonaka..เวลานำมาใช้จริงๆแล้วนั้นต้องมีการปรับให้เข้าบริบทของประเทศไทยอย่างมาก สิ่งที่เรียนรู้จากการพูดคุยกับพี่อ้อ ทำให้ผมเริ่มมองเห็นตัวเองแล้วว่าจะนั่งยึดทฤษฎีที่เคยเรียนมาจากต่างประเทศเมื่อครั้งเรียนปริญญาโทสารสนเทศเพื่อการจัดการไม่ได้อีกแล้ว..Kmของเครือข่ายเบาหวานให้ผมมองในมุมมองที่ผมเห็นนั้น ให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติและผู้รับประโยชน์สูงสุดนั้นคือผู้ป่วย ไม่ได้ยึดหลักการหรือขั้นตอนของกระบวนการKMต่างๆ ลักษณะการนำKMมาใช้ในเครือข่ายเบาหวานเป็นลักษณะที่เคลื่อไหวตลอดเวลาไม่มีหยุดนิ่ง (Dynamic)...ผู้ปฏิบัติจะไม่หยุดการพัฒนาตัวเองเมื่อในอดีตที่กินความรู้เดิมๆที่มีอยู่ไปวัน แต่จะพยายามวิเคราะห์ว่าตัวเองนั้นมีความรู้อะไรอยู่ (Prior knowledge ) และต้องการความรู้อะไรเพิ่มเติม (External knowledge) จากนั้นจึงค้นขวายหาด้วยใจ(ขอเน้นเลยว่าแสวงหาอยากรู้จริงๆไม่ใช่โดนบังคับให้หา) (Acquisition) จากนั้นเมื่อได้ความรู้นั้นมาจากบุคคลอื่นทั้งในเครือข่ายหรือนอกเครือข่ายก็ตาม ก็จะพยายามะรียนรู้ให้เขัาใจในความรู้นั้นอย่างถ่องแท้ (Assemilation) แล้วจากนั้นก็จะนำความรู้เหล่านำไปผสมผสานกับประสบการณ์หรือความรู้ที่ตนมีอยู่เพื่อสร้างความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับบริบทในการทำงานของตนเองและหน่วยงาน (Transformation) และสุดท้ายก็จะขับเคลื่อนความรู้ใหม่นั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง (Exploitation) แต่ถ้าผลการปฏิบัติออกมาไม่ได้ตามที่คาดหวัง ก็จะพยายามแสวงหาความรู้มาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าแนวทงปฏิบัตินันประสบความสำเร็จ (Best practices) ก็จะไม่ลืมที่จะถ่ายทอดความรู้และแนวทางปฏิบัตินั้นกลับคืนสู่เครือข่ายให้ได้รับรู้ต่อไป...นี้คือสิ่งที่ผมพยายามฟังจากพี่อ้อ พอพี่อ้อพูด (เล่า) อะไรออกมา ผมก็จะพยายามนึกไปโยงว่ามันคือConcept. ตัวไหนบ้าง...อย่างที่กล่าวมาข้างต้น มันคือแนวคิดที่เรียกว่า Absorptive capacity

ตอนนี้ผมกำลังพยายามจะติดต่อไปยังCoP การจัดการความรู้เบาหวานต่างๆจากที่พี่อ้อให้ที่อยู่มาครับ ที่มีอยู่ในมือตอนนี้จะเป็นในส่วนของNodeภาคเหนือทั้งหมด ส่วนในภาคอื่นๆนั้นยังมองไม่ออกว่าที่ไหนเป็นNodeสำคัญ และรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนเหนี่ยวแน่นเหมือนของภาคเหนือหรือเปล่า...แม้ผมจะเป็นน้องคนสุดท้องที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเครือข่ายนี้ แต่ก็อยากเห็นความเข้มแข็งของเครือข่ายนี้ไปในทุกๆภูมิภาคและท้ายสุดก็จะเชื่อมโยงได้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะมันจะสร้างพลังทวีคูณในการสร้างสรรค์ความรู้ต่อยอดและแพร่กระจายได้อย่างไม่สิ้นสุด...ผมจะพยายามทำงานวิจัยนี้ออกมาให้ดีที่สุด ให้สมกับหัวใจของคนทำงานในเครือข่ายนี้ครับท่านอาจารย์วัลลา

วันนี้ผมมีโอกาสอีเมล์คุยกับอาจารย์หมอท่านหนึ่งเกี่ยวกับงานวิจัยปริญญาเอกที่ผมกำลังทำอยู่ ท่านก็ให้การสนับสนุนให้การสนับสนุนเพราะจะมีประโยชน์มากๆต่อกลุ่มโรคอื่นที่พยายามจะสร้าางเครือข่ายการจัดการความรู้ของตัวเองให้เข้มแข็งเหมือนKMเบาหวาน แม้ว่าเครือข่ายอื่นอื่นตั้งความหวังจะเป้นแบบเครือข่ายเบาหวานแต่ก็ยังห่างไกลกันพอสมควร ท่านอาจารย์บอกว่างานวิจัยผลจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เครือข่ายโรคอื่นได้เห็นภาพที่จับต้องได้ว่าเครือข่ายเบาหวานเขาเก่งเขาเข้มแข็งเพราะอะไร หรือพูดง่ายๆก็คือผลการวิจัยนี้จะมีส่วนดึงความรู้การจัดการความรู้แบบเครือข่ายที่เป็นแบบTacit knowledge ให้เห็นเป็นความรู้เชิงประจักษ์หรือ Expicit knowledge...แล้วท่านก็ให้กำลังใจผมว่างานนี้เหนื่อยแน่ๆแต่อย่าท้อ ให้พยายทมนึกถึงประโยชน์ที่คนมากมายจะได้รับโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน และถ้าเครือข่ายอื่นสามารถนำโมเดลนี้มาสร้างเครือข่ายโรคของตัวเองได้..ก็จะมีผู้ป่วยมากมายได้รับประโยชน์....ผมเลยกราบอาจารย์งามๆผ่านอีเมล์

วันนี้นั่งอ่านงานเขียนของท่านอาจารย์ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ ในหนังสือที่ชื่อ"มหัศจรรย์แห่งKM เบาหวาน...". ทำให้เห็นภาพผ่านเลนส์ของอาจารย์ที่ผมต้องยกนิ้วให้เลยว่าสุดยอด ท่านสามารถทำให้คนอย่างผมที่ไม่มีความรู้เรื่องของการจัดการความรู้เบาหวาน ได้เข้าใจมากขึ้น ผมเลยต้องค้นคว้าต่อถึงมุมมองของท่านอาจารย์ท่านนี้ว่าที่ท่านมีมุมมองแบบนี้พื้นฐานคิดของท่านเป็นอย่างไรเลยค้นคว้ากลับย้อนไปดูงานวิจัยและผลงานเก่าๆของท่าน จึงไปพบงานวิจัยเมื่อครั้งที่ท่านเรียนปริญญาเอก นั้นคือ Knowledge creation and sustainable development: A collaborative process between Thai local wisdom and modern science&technology

เรียนอาจารย์อรรถไกร

เครือข่ายในภาคอีสานที่เข้มแข็งก็มี เช่น รพ.ครบุรี มีหมอฝน สกาวเดือน นำแสงกุล รพร.ธาตุพนม มี ภก.เอนก ทนงหาญ เป็นคนรับผิดชอบ ทางภาคใต้ที่เด่นๆ จะอยู่เขต 3 จังหวัดตอนล่าง มี รพ.สุไหงโกลก รพ.รามัน เป็นต้น

วัลลา

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์วัลลามากๆครับสำหรับข้อมูลเครือข่าย KMเบาหวานในโรงพยาบาลต่างๆครับ

เมื่อวานพี่อ้อ(รัชดา รพ.พุทธชินฯ) อีเมล์มาบอกว่าอาทิตย์จะนัดให้พบกับคุณหมอนิพัธ เพื่อพูดคุยงานวิจัยที่พบกำลังจะทำเกี่ยวกับ CoP KM เบาหวาน...เห็นความช่วยเหลือหมดใจของโรงพยาบาลพุทธชินฯอย่างนี้แล้ว คนทำวิจัยอย่างผมก็ทุ่มหมดใจกับการทำวิจัยครั้งนี้เพื่อทุกคนอย่างแน่นอน

เรียนสอบถามอาจารย์วัลลาครับ...อาจารย์พอจะมีอีเมล์ของคุณหมอสกาวเดือน และภก.เอนก หรือเปล่าครับ ผมเองได้แต่เบอร์มือถือจากพี่อ้อรัชดามา แต่ผมเกรงว่าถ้าโทรไปจะรบกวนการทำงานทั้งสองท่าน จึงคิดว่าแนะนำตัวและขอข้อมูลเครือข่ายKMเบาหวานจากทั้งสองท่านทางอีเมล์น่าจะสะดวกและไม่รบกวนท่านทั้งสองมากเกินไปครับ

สิ่งที่ท้าทาย (เผนื่อยแน่ๆคราวนี้) ของการวิจัยที่ผมกำลังจะทำเกี่ยวกับเครือข่ายKMเบาหวานนั้น คือการที่ต้องรวบรวมจำนวนโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องเขาไปสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากทุกคนในกลุ่มให้มากที่สุด เพราะกวิเคราะห์เครือข่่ายสังคม จะเป็นภาพและรายละเอียดที่สำคัญชัดเจนโดยเครื่องมือ Social network analysis ผ่านโปรแกรมอย่าง UNICET. หรือ NetDraw ยิ่งข้อมูลครบยิ่งอธิบายเรื่องราวความสัมพันธ์ต่างๆไม่ชัดมากขึ้นเท่านั้นครับ...เหนื่อยแน่ครับงานวิจัยนี้ แต่สู้ครับครับไม่มีถอย...ผมได้มีโอกาสคุยกับท่านอาจารย์ดร.ยุวนุช ก็อธิบายถึงเรื่องราวที่ผมกำลังจะทำวิจัยให้ท่านฟัง ท่านก็มีคำแนะนำมากมายและก็บอกว่าวิจัยนี้จะให้ประโยชน์ต่อไปมาก แต่ตัวผมเองต้องเหนื่ยเลยละ

เรียนอาจารย์อรรถไกร คุณเอนกมีบล็อกอยู่ใน Gotoknow ติดต่อผ่านบล็อกได้ค่ะ ส่วนคุณหมอสกาวเดือน อ้อคงจะมี e-mail address ค่ะ

รออยู่ครับ

คุยกันอย่างไร ทางไหนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท