โวหารภาพพจน์เบื้องต้น


โวหารภาพพจน์คือกลวิธีการใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างภาพ อารมณ์และความรู้สึก

เรียบเรียงโดย เฉลิมลาภ ทองอาจ

 

           ภาพพจน์   หมายถึง  การใช้ถ้อยคำเพื่อให้เกิดความหมายที่ต่างไปจากที่ใช้กันอยู่เดิม  (a figure of speech is a use of a word diverging from its usual meaning)

          แบ่งได้เป็นหลายประเภท ได้แก่ 

 

1.  บุคคลวัติ  หมายถึง  การนำพฤติกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์กระทำไปให้สิ่งของ สัตว์หรือเหตุการณ์ทางธรรมชาติเป็นผู้กระทำ: ทำให้สิ่งต่างๆ แสดงอาการเหมือนคน

personification/prosopopoeia/anthropomorphism: Attributing or applying human qualities to inanimate objects, animals, or natural phenomena

        สายน้ำคงเศร้าที่เราทิ้งขยะลงไป

          น้ำตาแห่งแม่พระธรณีกำลังไหลหลั่งโดยเราไม่รู้สึกตัว

 

2.  อุปมา  หมายถึง  การเปรียบเทียบระหว่างสิ่งสองสิ่ง โดยใช้คำแสดงการเปรียบเทียบ เช่น เหมือน ดุจ ราวกับ เฉก เช่น เพียง เพี้ยง 

simile: Comparison between two things using like or as

          ต้องสุบรรณเทวานาคี              ดั่งพิษอสุนีไม่ทนได้

          ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ               ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า 

                                                (รามเกียรติ์)

 

            คุณแม่หน้าหนักเพี้ยง            พสุธา

          คุณบิดรดุจอา-                     กาศกว้าง

                                                (โคลงโลกนิติ)

 

3.  อุปลักษณ์ หมายถึง  กำหนดให้สิ่งหนึ่งเป็น/คืออีกสิ่งหนึ่ง โดยใม่ใช้คำเปรียบเทียบ

metaphor: the concept of understanding one thing in terms of another.           A metaphor is a figure of speech that constructs an analogy between two things or ideas;

          เธอเป็นดวงใจที่หายไปจากชีวิตของฉัน

          น้ำตาคือหยาดฝนที่ไม่ต้องรอการกลั่น

 

4.  นามนัย  หมายถึง การใช้คำนามคำหนึ่งเรียกแทนภาพรวมของของสิ่งที่ทำนามนั้นสื่อถึง

metonymy: Substitution of a word to suggest what is really meant.

The name of something intimately associated with that thing or concept.

          ไทยคู่ฟ้าประกาศออกมาว่า เรากำลังจะเสียดินแทนให้พนมเปญ

          พระเกี้ยวเจอแม่โดมในงานบอลปีนี้ 

          ทำเนียบขาวหารือเรื่องโสมแดง

          ลูกพระอาทิตย์สร้างชื่อในสงครามโลกครั้งที่ 2

 

5.  สัทพจน์  หมายถึง การใช้คำที่มีเสียงเหมือนความหมายของมันเอง  / คำเลียนเสียงธรรมชาติ

onomatopoeia: Words that sound like their meaning

          ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง  เรียมครวญ

 

          คอกควายวัวรัวเกราะเปาะเปาะเพียง      

                                                                   (ดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า)

 

6.  เล่นคำ  หมายถึง  การใช้คำคำเดียวกันที่มีได้หลายความหมาย

pun: Play on words that will have two meanings

          ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ 

 

          เห็นโศกใหญ่ใกล้น้ำระกำแฝง  ทั้งรักแซงแซมสวาทประหลาดเหลือ

          เหมือนโศกพี่ที่ช้ำระกำเจือ      เพราะรักเรื้อแรมสวาทมาคลาดคลาย

                                                                      (นิราศภูเขาทอง)

 

7.  ซ้ำคำ  หมายถึง  การใช้คำหรือกลุ่มคำเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเพิ่มจังหวะของคำประพันธ์

repetition: Repeated usage of word(s)/group of words in the same sentence to create a poetic/rhythmic effect

          งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร         งามนัยน์เนตรงามกร  (รามเกียรติ์)

         

8.  ปฏิปุจฉา  หมายถึง การใช้คำถามถามออกไปเพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มิใช่คำตอบของคำถามนั้นตรงๆ    

rhetorical question: Asking a question as a way of asserting something. Or asking a question not for the sake of getting an answer but for asserting something (or as in a poem for creating a poetic effect)

        เธอเห็นแล้วใช่ไหมว่า งานมันล้มเหลวหมดแล้ว

          เจ้าจักปรารมภ์ไปไยมี  ตัวพี่คนเก่าพอเข้าใจ  (นนทกถามนางฟ้าแปลง)

             พระเชษฐาให้สารไปกี่ครั้ง                เขายังไม่จากหมันหยา

          จนสลัดตัดการวิวาห์                         ศึกติดพาราก็เพราะใคร

          เห็นจะรักเมียจริงยิ่งกว่าญาติ               ไหนจะคลาดจากเมืองหมันหยาได้  (อิเหนา)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 424742เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2011 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท