เกษตรปลอดสารพิษ พิชิตต้นทุน เกื้อหนุนเศรษฐกิจชาติ


โดยเฉพาะภาคเกษตรผมคิดว่าน่าจะมีส่วนช่วยทำให้ GDP ของชาติไทยเพิ่มได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งไม่แพ้ภาคอุตสาหกรรม

ในศตวรรษที่ 21 นี้นับว่ามีเรื่องราวหลายสิ่งหลายอย่างที่แปลกใหม่เพิ่มเข้ามาในชีวิตให้ได้ ยินได้ฟังกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกร้อน (global warming) ที่ส่งผลทำให้อุณหภูมิโลกเปลี่ยน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น เกิดเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย แผ่นดินยุบ แผ่นดินไหว ฝนแล้ง แมลงระบาด สิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบกมีการอพยพย้ายถิ่น หรือจะเป็นเรื่องคาร์บอนเครดิต (carbon credit) ที่สามารถนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่าได้ เมื่อหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆสามารถอนุรักษ์หรือรักษาสภาพของสิ่งแวดล้อมไว้ ได้ หรือจะเป็นเรื่องพลังงานทดแทน (Alternative Energy) พลังงานเชื้อเพลิงที่ได้จากต้นไม้หรือพืช ซึ่งในอดีตพวกเราบางคน อาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่าผลผลิตเหล่านี้จะนำมาผลิตแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อ เพลิงได้ หรือจะเป็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในประเทศไทย มีทั้งที่ดูแลตัวเองได้ และหลงๆ ลืมๆ อายุยาวนาน แต่อายุงานเท่าเดิมหรือสั้นลง (หกสิบปีต้องเกษียร) แต่ชีวิตยังต้องกินต้องใช้ต่อไป ใครจะดูแลและรับผิดชอบเรื่องนี้, ในของเรื่องโซเชียลเน็ตเวิร์ค (social network) อย่างเช่นเฟ๊ซบุค (facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) ปรากฎการณ์ที่ผู้คนสามารถสื่อสารพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเป็นเครือข่ายและมี ระบบ, เรื่องมือถืออัจฉริยะสมาร์ทโฟน บีบี (blackberry), ไอโฟน (Iphone) ที่สามารถเบียดแทรกเจ้าตลาดที่แข็งแกร่งอย่าง โนเกียร์ (Nokia) ขึ้นมาได้อย่างสง่างาม, เรื่องของเทคโนโลยี 3G เรื่องของอาหารปลอดภัย (Food Safty), เรื่องของความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) , อาหารอินทรีย์ (Organic food)

ท่าน คิดว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตอาหารป้อนโลกมีวิธีการเตรียมพร้อมรับมือ อย่างไรในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ซึ่งนับวันมีกระแสความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ในแต่ละประเทศเริ่มเข้มงวดกับสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าประเทศของตนเองมีการ ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกขั้นตอนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการปลูก การเก็บเกี่ยว การขนส่ง (from farm to table) สินค้าชนิดใดที่ไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยเขาก็จะระงับการนำเข้า แต่ถ้าประเทศใดที่มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้แบบแย่ๆ ก็จะชิงระงับการส่งออกเสียเองเพราะขืนปล่อยให้มีการส่งออกต่อไปไม่ช้านาน ประเทศเหล่านั้นก็จะสั่งระงับอยู่ดี! สู้ระงับเสียเองดีกว่าจะได้ดูดีแบบผักชีโรยหน้า แต่รากเหง้าของปัญหายังอยู่คงเดิมไม่ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์และเกษตรชีวภาพ เพราะขาดการส่งเสริมที่จริงจังจากภาครัฐในทุกด้านๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ ปัจจัยการผลิต ที่ดินและแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร ราคาผลผลิต ทุกเรื่องที่กล่าวมาล้วนแต่ยังคงตรงข้ามกับความต้องการของเกษตรกรแทบทั้ง สิ้น ยกตัวอย่างเช่นต้นทุนหรือปัจจัยการผลิตเช่นปุ๋ย ยา ฮอร์โมน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรจะมีราคาที่ต่ำแต่กลับสูง ราคาผลผลิตที่ส่งขายให้พ่อค้าคนกลางแทนที่จะสูงก็กลับต่ำ ความรู้ความเข้าใจแทนที่จะมีตัวแทนจากภาครัฐเข้ามาอบรมส่งเสริมอย่างเพียงพอ กับขาดแคลน ทุกอย่างอยู่ตรงข้ามและขัดกับวิถีชีวิตแบบไทยๆของเราที่รากเหง้าบรรพบุรุษ ของเราอยู่ได้ด้วยการเกษตรกรรม แต่ปัจจัยสนับสนุนพื้นฐานทุกอย่างกลับอนาถาและขาดแคลนอย่างสิ้นเชิง

วิถี ชีวิตความเป็นอยู่และระบบเกษตรกรรมของเกษตรกรในชนบท หรือรอบๆเมืองได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องต้องกันกับกระแสโลกและ ความต้องการของผู้บริโภคในโลกนี้บ้างหรือยัง หรือทำตามแบบอย่างเดิมต่อๆกันมาตามยถากรรม ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงมาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้นโดยไม่คิดที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอะไรเลยอย่างนี้ก็ไม่ไปไหนย่ำอยู่กับที่ ประเทศไทยในแง่มุมของการทำเกษตรกรรมไม่ต้องสงสัยในศักยภาพของเกษตรกรใน เรื่องการผลิตเลยว่ามีฝีมือเป็นอย่างไร เพราะต้องติดอันดับต้นๆของโลกอยู่แล้ว ขาดก็แต่การพัฒนา ชี้นำทิศทาง การส่งเสริมด้านปัจจัยการผลิตและการตลาดที่ควรจะมีการสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่างๆเข้ามาดูแลติดอาวุธทางความคิดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศของเรามีศักยภาพในการผลิตอาหารเลี้ยงตนเองและโลก เพราะในอนาคตข้างหน้า “อาหาร” เป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุดในชีวิตมนุษย์ เพราะ รถยนต์, คอมพิวเตอร์, มือถือ ไม่สามารถกินได้ ดังคำกล่าวของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤษฎากรที่ว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิเป็นของจริง”

เกษตรกร ไทยควรหันมาให้ความสนใจและทำความเข้าใจในการทำเกษตรแบบยั่งยืนพอเพียงตาม ทฤษฎีใหม่ของในหลวง เพื่อจะได้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดของอาชีพตนเองได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่ามี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างเพราะทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติล้วน เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้นโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ดังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าที่ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี (อิทัปปัจจยตา)” อย่างเช่นเราจะประโยชน์จากการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างเป็นอย่างไร? การปลูกพืชสูง กลาง เตี้ย ผิวดินและใต้ดินคืออะไร? เมื่อได้ป่าแล้วแหล่งน้ำจะได้มาอย่างไร? ในเรื่องพวกนี้เกษตรกรยุคใหม่ควรต้องเข้าใจเพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในชีวิต ประจำวันของตนเองเพื่อทำต้นทุนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้มีรายได้ส่วนที่เหลือนำไปใช้จับจ่ายในครอบครัวและเก็บออม ต้องเข้าใจภาพรวมทั้งหมดเพราะปัจจัยทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันทั้งสิ้น ปัจจัยใดน้อยเกินไป ปัจจัยใดมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบออกมาในรูปแบบต่างๆทั้งด้านบวกและด้านลบไม่ อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ควรเรียนรู้การประกอบอาชีพโดยการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มิฉะนั้นเราจะทำอะไรเองไม่ได้เลย ต้องคอยแต่พึ่งพาบุคคลอื่นอยู่ร่ำไป

การประกอบอาชีพเกษตรกรรมก็ต้องรู้เท่าทันโลกด้วย ตามกระแสโลกาภิวัตน์ให้ทันดังคำของ ซุนวูที่กล่าวไว้ว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ต้องรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร คุณลักษณะเป็นอย่างไร แล้วพยายามผลิตให้ได้อย่างนั้นบนพื้นฐานที่อิงศักยภาพและสภาพแวดล้อมในท้อง ถิ่นตนเองเป็นหลัก คือไม่ได้หมายถึงให้ปลูกตามความต้องการของตลาดเพียงอย่างเดียว แต่ให้ปลูกบนพื้นฐานเกษตรพอเพียงให้มีพืชกินได้ พืชทำประโยชน์ พืชที่อยู่อาศัยและพืชเศรษฐกิจที่จะนำไปจำหน่ายเพื่อรักษาดุลยภาพแห่งป่าไว้ ให้ยั่งยืน จะต้องรู้จักดินซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำการเกษตรให้มากพอ รู้จักความเป็นกรด เป็นด่าง รู้จักดินร่วน ดินเหนียว ดินดำ ดินแดง ดินเหลือง จะส่งผลต่อพืชอย่างไร รู้จักฤดูกาลช่วง ร้อน หนาว ฝน จะปลูกพืชอะไรที่เหมาะสมและทนต่อสภาพภูมิอากาศ รู้จักการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์จากท้องตลาดให้มากเกิน พยายามทดลองและสังเกตให้ธรรมชาติคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย ตัวของเขาเอง แล้วนำมาเก็บรักษาและขยายพันธุ์ให้ยาวนานจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อจะได้ไม่ต้อง ซื้อ ไม่ต้องไปคิดมากว่าขนาดและคุณภาพจะแพ้พันธุ์ลูกผสมเพราะในอนาคตถ้าไม่มีอะไร กิน เมล็ดพันธุ์ที่เราเก็บและคัดเลือกมาอย่างดีก็ต้องมีคนซื้ออย่างแน่นอน บางทีอาจจะได้คุณภาพที่ดีกว่าพันธุ์ลูกผสมอีกด้วย รู้จักน้ำที่จะนำมาใช้ในการรดหรือฉีดพ่นปุ๋ยหรือฮอร์โมน โดยเฉพาะน้ำที่จะนำมาฉีดพ่นนั้นจะต้องตรวจดูให้ดีเสียก่อนว่าเป็นด่างจัด หรือกรดจัดหรือไม่ เพราะอาจจะทำไห้ใบไหม้หรือไปทำลายฤทธิ์ของปุ๋ย ยา ฮอร์โมนได้ (alkali hydrolysis) ทำให้ใช้แล้วไม่ได้ผล ควรศึกษาหาความรู้เรื่องธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดให้มากขึ้นว่าเขาต้องการ อะไรบ้าง มีความต้องการธาตุหลัก ธาตุรองธาตุเสริมใช้อัตรามากน้อยแตกต่างกันอย่างไรเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้มาก จนเกินไป ทำให้ต้นทุนลด ผลผลิตก็เพิ่ม เสริมศักยภาพให้เศรษฐกิจของประเทศของเราได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะภาคเกษตรผมคิดว่าน่าจะมีส่วนช่วยทำให้ GDP ของชาติไทยเพิ่มได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งไม่แพ้ภาคอุตสาหกรรม

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เสนอแนะติชม email : [email protected]

หมายเลขบันทึก: 424059เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณบทความดีๆ ครับ

ล่าสุดอ่านบทความ จาก กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 ม.ค.54

หัวเรื่อง "โลกบีบไทยทำเกษตรอินทรีย์ ตอบรับกระแสอาหารสุขภาพ"

ซึ่งสามารถติดตามอ่านได้ที่

วันนี้เอาเป็ด ในร่องนาดำ แบบครบวงจรมาฝากก่อนครับ

ไว้ ลปรร.ได้ที่บันทึกนะครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/toc

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท