สถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย


สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ของชาติไทยมาต่อเนื่อง สังคมไทยให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์มายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็งยืนยง ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นไทภายใต้พระบรมโพธิสมภารมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าการปกครองประเทศจะเปลี่ยนแปลงจากระบอบราชาธิปไตยที่เป็นการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” โดยใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประชาชนบนพื้นฐานความรัก เมตตา ดุจบิดาพึงมีต่อบุตร มาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เปรียบเสมือนสมมติเทพที่มีอำนาจเหนือปวงชนและมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมืองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บทนำ

          สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสมบัติอันล้ำค่าของสังคมไทย ตั้งแต่เมื่อแรกก่อตั้งประเทศในสมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ หรือแม้กระทั่งพระชนม์ชีพเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย และความผาสุขของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า แม้ในวันที่โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ หลายประเทศก็มิได้มีสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นในอดีตที่ผ่านมา ในขณะที่อีกหลายประเทศก็ยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศเหล่านั้น ก็ยังคงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ก้าวหน้า เช่น สหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรสวีเดน เป็นต้น และแม้กระทั่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศโลกที่สาม เพื่อขจัดความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศเหล่านั้นให้สูงขึ้น เป็นภูมิคุ้มกันในการอยู่รอดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สำหรับประเทศไทยทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) ได้ยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะเสาหลักการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศให้สามารถพัฒนาได้อย่างก้าวหน้าและมั่นคงต่อไปในอนาคต

 

ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข

          ๑. ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

๑) การเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยพระมหากษัตริย์
ทำหน้าที่ปกครองประเทศด้วยความเป็นธรรม ปกป้องคุ้มครองราชอาณาจักรจากการรุกรานของ
อนารยชน ทำให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีเสรีภาพในการทำมาหากิน ใช้ชีวิตตามวิถีเครือญาติ ผูกพันกับการทำเกษตร และมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ประชาชนจึงมีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง มั่นคง มีความสามัคคีกลมเกลียวกันเกิดความเป็นปึกแผ่นและ
เป็นพลังสำคัญยิ่ง

๒) สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ของชาติไทยมาต่อเนื่อง สังคมไทยให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์มายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็งยืนยง ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นไทภายใต้พระบรมโพธิสมภารมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าการปกครองประเทศจะเปลี่ยนแปลงจากระบอบราชาธิปไตยที่เป็นการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” โดยใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประชาชนบนพื้นฐานความรัก เมตตา ดุจบิดาพึงมีต่อบุตร มาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เปรียบเสมือนสมมติเทพที่มีอำนาจเหนือปวงชนและมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมืองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

๓) พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นผู้นำการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

                             (๑) การปกครองประเทศ ที่มีการแบ่งพื้นที่ วิธีการ และผู้รับผิดชอบตามความเหมาะสม ความจำเป็น และสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยยึดหลักทศพิธราชธรรม
ในการปกครองอย่างต่อเนื่อง สร้างความร่มเย็นและผาสุกให้แก่ประชาชน

                             (๒) การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มุ่งสร้างงานและรายได้ให้ทุกคนสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้เป็นปกติสุขมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทำให้เศรษฐกิจในสมัยนั้นมีความมั่นคง ก่อนเริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามุ่งค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าจนเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญในสุวรรณภูมิต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีดำเนินการไปตามยุคสมัย รวมทั้งสร้างฐานการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งการติดต่อสื่อสารโดยตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข การนำรถไฟมาใช้ในการคมนาคมขนส่ง ขุดคลองชลประทานเพื่อการเกษตรและการท่องเที่ยวในและนอกประเทศในช่วงรัชกาลที่ ๕ ยุครัตนโกสินทร์จนพัฒนามาสู่ยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกสาขาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                             (๓) การพัฒนาสังคม ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขโดยเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติเพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ใช้หลักอาวุโสในการดูแลสมาชิกในสังคม ที่เด็กต้องเคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่ ทำให้สภาพสังคมมีกฎเกณฑ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทุกคนยอมรับและปฏิบัติร่วมกันสืบต่อกันมา สามารถยึดโยงกันเป็นชาติไทยจนถึงปัจจุบัน ต่อมามุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้ เริ่มจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ที่วัดโดยมีพระทำหน้าที่เป็นครู จนถึงการส่งผู้มีศักยภาพไปเล่าเรียนต่างประเทศในช่วงรัชกาลที่ ๕ เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาประเทศ ในปัจจุบันการศึกษาได้
แผ่ขยายครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยที่พระมหากษัตริย์ทรงเมตตาจัดการเรียนการสอนให้ในพื้นที่ห่างไกลและบนพื้นที่สูง ส่วนด้านวัฒนธรรมให้ริเริ่มให้มีวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแต่ละช่วงเวลา เช่น ประเพณีสิบสองเดือน วัฒนธรรมตามเทศกาลและการแต่งกายแบบไทย เป็นต้น ในปัจจุบันวัฒนธรรมดั้งเดิมบางอย่างได้เลือนหายไปตามกาลเวลา จึงเป็นช่วงเวลาที่ต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพื่อรักษาความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป

                             (๔) ความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงมี
พระอัจฉริยภาพในการรักษาความมั่นคงของประเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งการใช้วัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศใกล้เคียง ในอดีตผ่านการร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน ต่อมาผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมประเทศต่างๆ ด้วยการเสด็จเยี่ยมเยือน และแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในแต่ละยุคสมัยเพื่อคงความเป็นอธิปไตยและความเป็นชาติและการสานสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

๔) การปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินมาโดยลำดับ คือ สมัยสุโขทัยได้จำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง เป็นการใช้อำนาจของพ่อปกครองลูก แบบให้ความเมตตา และให้เสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร ต่อมาในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทั้งปวงในแผ่นดิน มีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองใหม่ โดยแยกการบริหาราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทางด้านเวียง วัง คลัง นา ทหารและการป้องกันประเทศ มีสมุหนายกและสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นการปกครองที่เสริมสร้างสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ได้ปรับการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล และตำบลแบ่งออกเป็นบ้าน เป็นรูปแบบที่ใช้ต่อเนื่องตลอดเวลา เกือบ ๕๐๐ ปีของสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น กระแสวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย ประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหาเมืองขึ้นของชาติตะวันตก พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองใหม่ เนื่องจากระบบเดิมล้าสมัย ขาดประสิทธิภาพ การทำงานซ้ำซ้อน การควบคุมและการรวมอำนาจเข้าศูนย์กลางไม่สามารถทำให้ประเทศมั่นคงและเปิดโอกาสให้จักรวรรดินิยมตะวันตกเข้าแทรกแซงได้ง่าย จึงทรงนำเอาสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ อาทิ ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรมุ่งหวังที่จะสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย ทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ดังพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิของประชาชน” ทำให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวหน้ามั่นคง พร้อมกับการพัฒนาการเมืองการปกครองมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา ๗๘ ปี ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๒. สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพลังสำคัญของชาติ

ประเทศไทยมีชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของสังคม ทำหน้าที่ยึดโยงความสัมพันธ์ของคนในชาติให้เกาะเกี่ยวกันอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่มีรูปธรรม ประชาชนทุกคนรู้และเข้าใจความเป็นสถาบันได้ชัดเจน เป็นพลังที่ยั่งยืนของประเทศไทยมาช้านาน สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้คนในชาติรวมพลังกันนำพาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป อย่างมีความมั่นคงแม้ในยามวิกฤต

๓. การเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่ในสังคมไทยสามารถรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ได้และลดผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ กำหนดรูปแบบการปกครองประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการเทิดพระเกียรติให้ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สักการะและกำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่ผู้ใช้อำนาจ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ เพื่อก่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันตามหลักการประชาธิปไตย ชี้ให้เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจภายใต้กฎหมายสูงสุดของประเทศที่สามารถรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและก่อให้เกิดผลดีในการบริหารประเทศ ก่อให้เกิดสำนึก ความระมัดระวัง ความรอบคอบมิให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม รวมทั้งเป็นกลางทางการเมือง สามารถยับยั้ง ท้วงติงให้การปกครองประเทศเป็นไปโดยสุจริต ยุติธรรม

นอกจากนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมาช้านาน โดยเฉพาะรัชกาลปัจจุบันที่ทรงมีพระจริยาวัตรอันงดงาม เป็นแบบอย่างของความเรียบง่าย ทรงดูแลห่วงใยทุกข์สุขของประชาชนอย่างจริงจัง และสร้างประโยชน์เพื่อสังคมไทยมาโดยตลอด ได้ทรงพระราชทานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่พสกนิกรไทยมานานกว่า ๓๐ ปี เพื่อชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ให้ดำเนินไปตามทางสายกลาง ด้วยความพอเพียง ที่หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยใช้ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังมาประกอบในการปฏิบัติ และเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตและปฏิบัติงานด้วยความอดทนและมีความเพียรอย่างมีสติและปัญญา ทำให้คนในสังคมและประเทศชาติสามารถจัดการความเสี่ยงที่ต้องเผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เป็นต้นแบบการปกครองที่มีธรรมาภิบาล
การปกครองแบบพ่อกับลูกนับจากสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลปัจจุบัน
ที่ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน
ชาวสยาม
” แสดงให้เห็นหลักธรรมมาภิบาลของการปกครองไทย เพราะมีวิธีการที่จะปกครองแผ่นดินโดยธรรม และมีเป้าหมายที่จะไปให้ถึง คือ ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งหลักทศพิธราชธรรม เป็นทั้งหลักศาสนาและศีลธรรมเป็นเครื่องควบคุมการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ให้กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกายของพลเมือง จึงเป็นหลักปกครองที่ไม่ล้าสมัยและสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยสมัยใหม่ ก่อเกิดหลักการบริหารจัดการที่ดี ทั้งยังเป็นการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนเข้ามาร่วมในการบริหารประเทศ มีกระบวนการร่วมรับรู้ รับฟัง ร่วมคิด และร่วมรับผิดชอบ ทำให้การกำหนดนโยบาย มาตราการต่างๆ ดำเนินไปด้วยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง มีการใช้เหตุใช้ผลในการดำเนินงาน หากผู้บริหารประเทศ ผู้มีหน้าที่ทั้งราชการ นักการเมือง และประชาชนทั่วไป น้อมนำทศพิธราชธรรมไปปฏิบัติเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าและคนไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและยั่งยืน

๕. สังคมไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะมีความพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

การยึดมั่นในสถาบันกษัตริย์ภายใต้การปฏิบัติตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จะก่อให้เกิดพลังในสังคมไทยที่พร้อมจะพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองให้ลุล่วง โดยดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง เสริมสร้างฐานเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะในระดับฐานราก คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทันแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นคงและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ถึงคนรุ่นต่อไป

 

ความสำเร็จของสถาบันพระมหากษัตริย์การกับพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

            การทุ่มเทพระอุตสาหะทั้งมวลในการทรงงานของพระประมุขและพระบรมวงศานุวงศ์ในสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน นำมาสู่ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ดังตัวอย่างเช่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติ ทรงปฏิรูปประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่น
การจัดตั้งกระทรวง กรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม การสื่อสาร การศึกษา กฎหมาย ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ จนเป็นแบบแผนในการวางรากฐานการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในเวลาต่อมา

          และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าหลักการทรงงานและพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านนั้น เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างแท้จริง จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ช่วยให้ชาวไทยได้รอดพ้นจากความทุกข์เข็ญได้อย่างยั่งยืน และยังส่งผลถึงการบรรเทาทุกข์โศก และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย รางวัลและคำสดุดีเฉลิมพระเกียรติทั้งหลายที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประจักษ์พยานได้อย่างดีถึงพระปรีชาสามารถในพระองค์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด พระปรีชาสามารถอันเป็นที่ยอมรับด้วยใจของประชาคมโลกเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยปลาบปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (Human Development Lifetime Achievement Award) ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังความตอนหนึ่งของนายโคฟี อานัน เลขาธิการสหประชาชาติ (ในขณะนั้น) ซึ่งได้กล่าวสดุดีพระองค์ไว้ในโอกาสดังกล่าวว่า “...พระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์เอื้อไปยังบรรดาผู้ที่ยากจนที่สุด และเปราะบางที่สุดในสังคมไทย ทรงรับฟังปัญหาของพวกเขาเหล่านั้น และให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถยืนหยัดดำรงชีวิตของตนเองต่อไป ได้ด้วยกำลังของตัวเอง...โครงการเพื่อการพัฒนาชนบทต่างๆ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประโยชน์ให้กับประชาชนนับล้านๆ ทั่วทั้งสังคมไทย...”

          สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคมไทย ในทุกๆ ด้าน เป็นสมบัติ
ล้ำค่าที่ชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมกันปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่ตลอดไป

 

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (๒๕๕๓). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑. กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา. หน้า ๓๔-๓๙.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (๒๕๔๙). ๖๐ ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์ พระเกียรติเกริกไกร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. หน้า ๒๗-๒๘.

UNDP. (2006). Human Development Lifetime Achievement Award, His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand. 26 May 2006.

หมายเลขบันทึก: 424057เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคมไทย ในทุกๆ ด้าน เป็นสมบัติ
ล้ำค่าที่ชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมกันปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่ตลอดไป

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่พวกเราในฐานะปวงชนชาวไทย ควรได้เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ให้อยู่ยั่งยืนยงตราบฟ้าดินสลาย

และชาวไทยควรรู้รักสามัคคีรวมกันเราอยู่ เราแยกแตกสามัคคีเมื่อใด ชาติสลาย ประชาชนถูกยำยีด้วย

ดังนั้น ประชาธิปไตยบ้านเรา อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะเบื่อแสนเบื่อ แต่ไม่ควนนอนหลับทับสิทธิ์เด็ดขาด

อย่าลืมเลือกตั้ง หาคนที่มีความชั่วน้อยหน่อย เป็นคนดีเข้าสภา 26 มิถุนายน เลือกตั้งล่วงหน้า

และ3 กรกฏาคม 2554 คนทั้งประเทศมีนัดเข้าคูหาเลือกตั้งนะคะ

รพ.ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์

การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและ ชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม.

ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า

เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น

รพ.ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จว.บุรีรัมย์

การทุ่มเทพระอุตสาหะทั้งมวลในการทรงงานของพระประมุขและพระบรมวงศานุวงศ์ในสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน นำมาสู่ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ดังตัวอย่างเช่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติ ทรงปฏิรูปประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่น

การจัดตั้งกระทรวง กรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม การสื่อสาร การศึกษา กฎหมาย ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ จนเป็นแบบแผนในการวางรากฐานการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในเวลาต่อมา

นศท.รัฐชานนท์ มุธุสิทธิ์

ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป ผมรักในหลวงครับ

ข้าราชการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ชนชาวไทยใจพร้อมน้อมเจตคติ ตามดำริพระประสงค์ท่านทรงหวัง
สามัคคีเพื่อส่วนรวมร่วมพลัง ลดเกลียดชังเพื่อบดินทร์อิ่มพระทัย
ร่วมส่งกลอนเป็นพระพรซ้อนความคิด ขอเชิญฤทธิ์พระไตรรัตนสว่างใส
ให้ทุกข์โศกโรคเหนื่อยเศร้าบรรเทาไป เหลือสุขไว้ให้พระองค์ทรงพระเจริญ

ข้าพระพุทธเจ้าข้าราชการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก"

ขอบคุณคับ

ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นหน้าที่ของชาวไทยและบุคคลที่เหยียบยืนอยู่บนผืนแผ่นดินไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลสักเพียงใด ทรงเป็นทุกลมหายใจของปวงประชาราษฎร ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ท่านทรงเป็นมากกว่าพระมหากษัตริย์ เราควรทำให้ท่านภูมิใจในสิ่งที่ท่านต้องการให้ประเทษชาติพัฒนา ทรงพระเจริญ

ในหลวงคือผู้ที่เราควรยกย่องเทิดทูลให้ท่านมีความเจริญมากๆ ควรบอกคนอื่นๆ ต่อไปด้วยว่าให้ส่งเสริมท่าน ผมรักในหลวง

ท่านทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์

ท่านทรงเป็นประมุขของเเผ่นดินไทย

ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้มีความซาบซึ้งในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์

การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและ ชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม.

ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า

เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น

รพ.ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จว.บุรีรัมย์

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคมไทย ในทุกๆ ด้าน เป็นสมบัติ
ล้ำค่าที่ชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมกันปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่ตลอดไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นมิ่ง

ขวัญของคนไทยทุกคนพระองค์ทรงช่วย

เหลือประชากรทั่วทุกแห่ง ไม่ว่าจะลำบาก

แค่ไหน พระองค์ก็สามารถไปได้ทุกที่

ตั้งแต่ที่พระองค์ยังเยาว์วัยในฐานะที่พวก

เราเป็นคนไทยที่มีพระมหากษัติย์ที่ขยัน

มีความสามารถช่วยเหลือผู้ยากไร้ ก็ขอให้

พระองค์ทรงมีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน

และตัวของข้าพระเจ้าจะจงรักภักดีต่อชาติ

ทำตามทฤษฎีที่พระองค์ทรงคิดค้นไว้ เพื่อ

เป็นการช่วยชาติตามเศรษฐกิจพอเพียง

ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ

พระองค์ทรง เปรื่องปราชญ์ ศาสตร์และศิลป์
พระองค์ทรง เป็นพลัง ของแผ่นดิน
พระนามเมลือง ระบิล ทุกถิ่นคาม
เสด็จเยี่ยม ประชาไทย ไปทั่วหล้า
แก้ปัญหา ให้ประชา ชาวสยาม
ไม่ทรงทิ้ง เรื่องน้อยนิด ทรงติดตาม
ไม่เคยนับ โมงยาม เมื่อทรงงาน
พระองค์ทรง เสียสละ เวลาพัก
ทรงงานหนัก เพื่อประชา มหาศาล
แก้ปัญหา ดิน น้ำ ทรงชำนาญ
พระภูบาล ผ่านเกล้า ของชาวไทย
"เศรษฐกิจ พอเพียง" เลี่ยงทุกข์ยาก
ธ ทรงฝาก แนวคิด ติดไว้ให้
พระปัญญา ขององค์ พระทรงชัย
ทรงสั่งสอน คนไทย ให้รู้พอ
การปกครอง ขององค์ พระทรงยศ
พระทรง "ทศพธราชธรรม" กำเนิดก่อ
พระเสด็จ ทุกแห่งหน ชนเฝ้ารอ
แค่เพียงขอ ได้เฝ้า เจ้าแผ่นดิน
ทรงดูแล แม้ทาง ด้านศาสนา
พระกรุณา ยิ่งกว่า กระแสสินธุ์
ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ทั่วธานินทร์
ทรงอุปถัมภ์ ทั้งสิ้น ทุกศาสน์ไป
84พรรษา พระราชา มหาราช
พระองค์ทรง เป็นปราชญ์ ที่ยิ่งใหญ่
พระองค์ทรง เป็นบิดา ประชาไทย
พระทรงชัย ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

เทิดไท้องค์ราชัน ทรงพระเจริญ

ทรงพระเจริญ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญบิ่งยืนนาน

ผู้ปกครองแผ่นดินโดยธรรม

นศท.วรินทร ลิ้มวัฒนะ

ในหลวงของเรานั้นพระองค์ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทยไม่ว่าจะเป็นพระราชกรณียกิจต่างๆของพระองค์ก็มีมากมายเช่น เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้คนไทยทุกคนอยู่อย่างพอมีพอกิน ไม่ฟุ่มเฟื่อย เคยมีเพื่อนชาวต่างชาติถามดิฉันว่าทำไมคนไทยถึงรักในหลวงฉันตอบเขาไปว่าคุณมีเวลาพอจะนั่งฟังไหม

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคมไทย ในทุกๆ ด้าน เป็นสมบัติล้ำค่าที่ชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมกันปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่ตลอดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท