กำไรมา อัมพวาไป


การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ ชัยพัฒนานุรักษ์

ผมนั่งทบทวน ภายหลังกลับจาก นครพนม เมื่อวันอาทิตย์ ๓๑ ม.ค. ๕๔

 

ผมกลับไปเยือนจังหวัดนี้อีกครั้ง เพราะผม และครอบครัว รู้สึกดี กับ    วิถีนครพนม

 

กับคำถามกึ่งทำนายของชายคนหนึ่งซึ่งกำลัง ทำงานสวน หรือ ชะลอกระแสการท่องเที่ยวที่ “โครงการชัยพัฒนานุรักษ์” อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม

 

“อาจารย์ว่าไหม ? อีกไม่นานนครพนมจะเป็นที่ถัดไป จาก ปาย อัมพวา หรือเชียงคาน”

 

“ที่ผมทำมาร่วมสามปี หากเลือกได้ ผมอยากให้อัมพวาเป็นเหมือนเก่า แต่มันก็เป็นเรื่องเศร้าเสียแล้วหล่ะครับ”

 

“ยังไงเสีย  ผมก็คงจะยืนหยัดทำเพื่อคนอัมพวาต่อไป นัยส์ตาสีสนิม ยังมองมุ่งไปข้างหน้าอย่างมีวิสัยทัศน์”

 

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10167249/E10167249.html

 

กับกระทู้ซึ่งมีการถกเถียงกันอยู่ขณะนี้  เหตุการณ์ลักษณะนี้คงจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่เมืองไทย

 

หากการพัฒนา หรือ การเปลี่ยนแปลง ยังคงเป็นไปแบบไม่เข้าถึง “ภูมิทัศน์ ภูมิสังคม ดั่งองค์ภูมิพล”ได้นำร่องการพัฒนาไว้

 

ร่องมะพร้าว  ร่องสวนส้มโอ มังคุด ละมุด ลำไย แม้กระทั่ง ร่องลึกน้ำใจก็คงจะหายไปในไม่ช้า  หากมีแต่แสวงหากำไรในร่องน้ำอัมพวา

 

 วิถีเนิบช้า ซึ่งล้นไหลบ่าของน้ำใจ จะแห้งเหือดหายไป กับกำไรที่ไหลล้นทะลัก

 

เพียงไม่กี่ชั่วโมงกับ คนไม่กี่คนที่รับผิดชอบพื้นที่ที่คุณคุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา บริจาคให้ มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อจัดทำโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุกรักษ์

 

จำนวน ๒๑ ไร่ ๑๒ ตารางเมตร เพื่อเฮ็ดให้เป็น การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต ที่ดีดลูกคิดแล้วได้  ๒ อย่างในเวลาเดียวกัน คือ

 

คุณค่า พร้อม มูลค่า

 

เสียงด่า คำบ่น จากคนค้ากำไรรอบข้าง คือ comment ก็เพราะไม่อยากให้เป็นอย่าง เมืองปาย  ซึ่งขายคุณค่าทุกอย่างเพื่อ มูลค่า เพียงด้านเดียว  คำสังเกตแบบหวาดเสียวของคนพัฒนา

 

ยังพอมีคนในพื้นที่หลงเหลือเพื่ออนุรักษ์ วิถีอัมพวา วิถีการพัฒนาที่ยังคงยึด คุณค่า มูลค่า ควบคู่กัน

 

แต่จะทัดทานกระแสท่องเที่ยวได้หรือไม่ เพราะโครงการเพิ่งมีอายุได้แค่ ๓ ปี เหมือนเด็กดีคนหนึ่ง ซึ่งอยากจะเดินบนวิถีของตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องการผู้ใหญ่มีประสบการณ์คอยชี้แนะ

 

นับจากวันนั้น พลันจนถึงทุกวันนี้ วิถีอัมพวา คงถูกท้าทายไปรอบแล้ว รอบเล่า

 

หากไม่หลงมัวเมาเอาแต่   มูลค่า  วิถีอัมพวา  คงยั่งยืนอย่างทระนง

 

ทุกคนคงกลับมาตั้งคำถาม ?  ?  ?  ?

 

เราจะตาม(กัน)ไปอัมพวาเพื่อค้นหาคนพายเรือ เกลือคลุกกุ้งเผา เอาปลาทูนึ่งไปขาย พายเรือชมหิ่งห้อย ร้อยใบมะพร้าวเป็นรูปศิลป์ หรือจะเอาแค่อินคำสกรีนบนทีเชิ๊ต นุ่งสเกริ๊ตเพื่อโชว์ขา ?

 

แน่นอน อัมพวา คงยังอยู่คู่คนไทย หากใส่ใจในคำสองคำ ภูมิทัศน์ ภูมิสังคม

 

ซึ่งอุดมด้วย  คุณค่า  มูลค่า พัฒนา แบบอนุรักษ์

 

จากคำว่า ชม ช็อบ ชิม

 

บ้านทองโบราณ  อาหารทะเลน้องอุ้ม คุมสุขภาพที่สวรรค์โอสถ ฟังดนตรีเลิศรสด้วย กะลาบรรเลง

 

หรือจากคำว่า “บางช้างสวนนอก       บางกอกสวนใน”

 

วลีที่หมายถึง   วิถีสวนบ้านนอก  คือ  สวนบางช้าง   ส่วนสวนที่อยู่ในเมืองใกล้รั้ววังเจ้านายคือ  สวนใน นั่นเอง

 

 ปัจจุบันวิถีชีวิตของชุมชนอัมพวาในอดีตยังปรากฏให้เห็นและสัมผัสได้ในปัจจุบัน จะนานแค่ไหนนั่น

 

ฉัน เธอ คุณ เขา พวกเราต้องตั้งประสงค์กันเอาเอง

 

ดังนั้น โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ คงต้องทำงานเชิงประจักษ์ในการอนุรักษ์ พัฒนา เพื่อให้คำว่า คุณค่า มูลค่า อยู่คู่กันไป

 

ท้ายสุดชุมชม ท้องถิ่นก็จะได้ ชัย สมชื่อเหมือนโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

 

พัฒนา อนุรักษ์ เพื่อให้ได้ชัยชนะของคนไทยในท้องถิ่น(อัมพวา)

 

สุดท้าย...

 

พื้นที่ใดของประเทศไทย ที่อยากจะได้การบริหาร การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไม่ได้บริหารจัดการเพื่อมุ่งหวังกำไรอย่างเดียว โดยไม่ท่องเที่ยวไล่ คุณค่า หนีไปเสียหมด

 

ผมว่า  โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์  น่าจะเป็นแบบแผนนำร่องได้เป็นอย่างดี

 

ที่ไม่ว่าจะพัฒนาที่ไหน ๆ ให้ใส่ใจ ระเบิดจากข้างใน ก่อนเริ่มการพัฒนา

 

ด้วยคำว่า

 

ภูมิทัศน์ ภูมิสังคม ดั่งองค์ภูมิพล ได้พระราชทานให้

 

ต่อจากนี้ไป กระทู้คำถามข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้นอีก ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

 

                                                                                                                                                ดร.อุทัย   โคตรดก

๓๑   ม.ค. ๕๔

แหล่งข้อมูลประกอบการเขียน

 

เอกสารข้อมูล คนต้นเรื่อง โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

 

www.pantip.com/blueplanet

หมายเลขบันทึก: 423299เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท