รพ.สต. หนองไขว่ อ.หล่มสัก มีอะไรดีนะ ?


วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554
เป็นเช้าที่พวกเราจะได้ไปเรียนรู้และเดินทาง
 
พวกเรา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่อนามัย  ครู  อสม.  จำนวน 10 ชีวิต  ออกเดินทางประมาณ 6 โมงเช้ากว่า ๆ
 
จุดหมายเป้าหมายหมายทาง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไขว่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ที่โด่งดังทั้งอำเภอด้วยแนวคิดโรงพยาบาลสองบาท  และโด่งดังระดับประเทศจากความร่วมมือระหว่างประธานเครือข่ายสุขภาพ (ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล) และรองประธานเครือข่ายสุขภาพ (ท่านสาธารณสุขอำเภอ)
 
พวกเราอยากเรียนรู้ในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
กว่าจะถึงที่หมาย ก็เกือบห้าโมงเช้า เพราะหลง-จัง-จัง 
 
 
มาถึงพบว่า ผู้รับบริการมาอย่างต่อเนื่อง สถานที่สวยงาม  และโอ่อ่า สมกับคำร่ำลือ
‘ พี่นงลักษณ์ ’ พยาบาลวิชาชีพออกมาต้อนรับ และบอกว่า ไม่ได้เตรียมตัว หน้าหน้าออกพื้นที่กับน้องนักศึกษา  คงเพราะความคลาดเคลื่อนระบบหนังสือราชการที่ส่งไปที่สาธารณสุขอำเภอ และไม่ได้ยืนยันในชัดเจนของผมเอง
 
 
พวกเราประสานเสียงพร้อมเพรียงว่า อยากมาดูแบบนี้แหละ ไม่ต้องเตรียมตัว มาพูดคุยกับพี่แบบน้อง  และรอยยิ้มพวกเรากับเจ้าหน้าที่ที่นี้ ก็เกิดขึ้น
 
ในมุมมองของผม ผมได้เรียนรู้มากมาย...
 
-         ความพร้อมของประชาชนและหมู่บ้านทั้ง 15 หมู่บ้าน ที่ร่วมแรงร่วมใจลงขันเพื่อสร้าง  โรงพยาบาลสองบาทใน ปี 2549  ต่อคนต่อปีของครอบครัว ที่ผ่านการประชาคมของกลุ่มที่หลายหลายในพื้นที่ จนเกิดเป็นกองทุน และตั้งกรรมการด้วยตนเองในการขับเคลื่อนการทำงาน ปีต่อ ๆ นี้  มีการระดมได้มาก  บางครอบครัวให้มากกว่านั้น ให้ปีละ 10,000 บาท  ให้ตู้  โต๊ะ เตียง พัดลม ฯลฯ
 
 
-         ความเข้มแข็งระหว่างเครือข่ายสุขภาพ  โดยประธานเครือข่ายสุขภาพ (ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล) และรองประธานเครือข่ายสุขภาพ (ท่านสาธารณสุขอำเภอที่ทำให้เกิดหัวใจเดียวกันระหว่างโรงพยาบาลและหัวใจให้เป็นแผ่นเดียวกัน ไม่ว่า  จะเป็นระบบยา  ระบบการเงิน  การทำงานระหว่างวิชาชีพ  การพัฒนาวิชาการ  การพัฒนาระบบให้คำปรึกษาผ่านอินเตอร์เน็ต ที่มีผู้ประสานงานหลักอย่างเป็นทางการ สื่อสารได้ทุกหน่วยงาน ทุกแผนก  ทุกกลุ่มงาน
 
 
-         ความมุ่งมั่นของทีมงาน รพ.สต. หนองไขว่ อ.หล่มสัก อีกครับ  อยู่แบบพี่แบบน้อง บทบาทที่ได้รับและเกื้อกูลกัน  ระบบการออกเยี่ยมบ้าน  ระบบงานที่ลงตัว  การเรียนเปลี่ยนเรียนรู้  และมีบริการที่หลากหลาย เช่น ทันตกรรม  การแพทย์แผนไทย  กายภาพ  และความสุขในที่ทำงาน
 
 
-         การประสานแรงใจระหว่างเครือข่ายชุมชน  ผู้นำชุมชน  อสม. อบต.  โรงเรียน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  ทำให้ที่นี้เกิดความแจ่มใสเบิกบานจังครับ
 
 
-         สุดท้าย คือ  รอยยิ้มของทุก ๆ คน ที่นี้  ขอบพระคุณมากครับที่ได้มาที่นี้  ประทับใจมากครับ....
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 423296เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเยี่ยมเยือนคนขยันเดินทางครับ และเป็นกำลังใจให้ส่งเสริมสุขภาพอนามัยประชาทั่วไปนะครับ

แผนกทันตกรรม รพ.สต.มีบุคคลาการวิชาชีพ ด้านนี้หรือครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์โสภณ ครับ

ช่วงนี้ชีพจรลงเท้าครับ พยายามจัดสรรเวลาให้ลงตัวทุกด้าน

ผมว่า การดูแลสุขภาพในฝันของผม

คือ ชาวบ้านต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด

ในฐานะบุคลากรสุขภาพ

ก็ต้องพยาบาลทำตามวิชาชีพ มาตรฐาน และวิชาการ

และที่สำคัญที่สุด คือ การบริหารด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นะครับอาจารย์

ขอบพระคุณ - คุณชาวบ้าน -  มาก ครับ

แผนกทันตกรรม รพ.สต.มีบุคคลาการวิชาชีพ ด้านนี้หรือครับ

ที่มาดูงาน ณ แห่ง ร่วมถึงที่บ้านของผม (สอ. / ศสช / รพ.สต.)

จะมี จนท. ทันตาภิบาล  (หลักสูตร 2 ปี) เฉพาะหน่วยงานบริการหลัก ของสอ. / ศสช / รพ.สต.

ประมาณ 3-5 แห่ง  โดย 1 คน ต่อ 1 แห่งครับ

โดยช่วงเช้ารับคนไข้ไม่เกิน 10 คน ก็เหนื่อยแล้ว เช่น ขูดหินปูน ถอดฟัน และตอนบ่ายก็ลงโรงเรียน เพื่อทำงานทันตสุขภาพในโรงเรียน ช่วยงานทันตะ สอ.ที่เป็นลูกข่าย และออกเชิงรุกร่วมกับ จนท.ท่านอื่น ๆ

บางแห่งอาจมีผู้ช่วย (คนที่มาช่วยงาน) ที่มาช่วยงานต่าง ๆ ในคลินิกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท