กุลมาตา
นาง ธันยา พิชัยแพทย์(นามสกุลเดิม) แม็คคอสแลนด์

..บัวสี่เหล่า..


เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าเปรียบบุคคลเสมือนบัวจำพวกต่าง ๆ นั้น เป็นข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) และพระไตรปิฏก ว่าเมื่อแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ได้พิจารณาว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า

 

 

 

 

 

 

 

บัวสี่เหล่าคละเคล้าไปในบึงกว้าง

ปริ่มน้ำบ้างค้างในตมคละขรมทั่ว

บ้างพ้นน้ำชูช่อเหนือกอบัว

สัจธรรมนำดีชั่วบัวอุบล

.

บัวในตมขมเศร้าเหงาปล่าวเปลี่ยว

กระแสน้ำขุ่นเชี่ยวเกรี้ยวกราดล้น

มิลดละผละกิเลสต้านเวทย์มนต์

ต้องทุกข์ทนปนสุขคลุกเคล้าดี

.

บัวพ้นน้ำจำเริญธรรมนำสุขศานติ์

ดั่งบัวบานอันพิสุทธิ์ดุจรังษี

สว่างพ้นคนชั่วมัวราคี

บัวทั้งสี่เหล่าคละปะปนกัน

 

..

กุลมาตา-Singlemom99

๕ พฤษภา ๒๕๕๓

(แก้ไข ๓๑ มกรา ๒๕๕๔)

 

 

 

บัวสี่เหล่า คืออุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ที่อยู่ในฐานะของบุคคลที่สามารถฝึกสอนให้รู้ธรรมได้และไม่ได้ในทางพระพุทธศาสนา เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าเปรียบบุคคลเสมือนบัวจำพวกต่าง ๆ นั้น เป็นข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) และพระไตรปิฏก ว่าเมื่อแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ได้พิจารณาว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า (ตามนัยอรรถกถามี 4 เหล่า[1]) หรือ 3 เหล่า (ตามนัยพระไตรปิฎกมีเพียง 3 [2])

อนึ่ง มีความสับสนถึงเรื่องการเปรียบบุคคลด้วยบัว 3 เหล่าตามนัยพระไตรปิฎก คือสับสนนำข้อความในปุคคลวรรค ที่เปรียบบุคคลเป็น 4 เหล่า [3] มาปะปนกับข้อความในอรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) ที่เปรียบดอกบัวเป็น 4 เหล่า[4] ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะในพระไตรปิฏกพระพุทธองค์ตรัสเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัวเพียง 3 เหล่าเท่านั้น

เมื่อพิจารณาจากบัวสี่หรือสามเหล่าดังกล่าว ความในมติอรรถกถากล่าวว่ายังมีมนุษย์บางจำพวกที่ไม่สามารถสอนได้ (อเวไนยสัตว์) ในขณะที่หากพิจารณาจากพระพุทธพจน์จากมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ตามพระไตรปิฎก มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตรัสรู้ธรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์ตรัสรู้ได้ (เวไนยสัตว์) กล่าวคือพระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วว่ามนุษย์ที่ยังสามารถสอนให้รู้ตามได้ยังมีอยู่ จึงทรงตกลงพระทัยในการนำพระธรรมที่ทรงตรัสรู้มาสั่งสอนเวไนยสัตว์

 

บัวสามเหล่า (ตามนัยพระไตรปิฏก)

ในพระไตรปิฏก พระพุทธองค์ทรงพิจารณาตามคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมที่เชิญให้พระองค์แสดงธรรม พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาตรวจสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ และทรงเห็นว่า สัตว์โลกที่ยังสอนได้มีอยู่ เปรียบด้วยดอกบัว 3 จำพวก ดังความต่อไปนี้

Cquote1.svg

... ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่า ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่า ตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี...

Cquote2.svg
— 'มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า'

บัวสี่เหล่า (ตามนัยอรรถกถา)

ตามนัยอรรถกถา ได้อธิบายบุคคล 4 ในปุคคลวรรค พระไตรปิฏก ปนกับอุปมาเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว 3 เหล่าใน มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์  โดยลงความเห็นว่าบุคคล 4 ที่พระพุทธองค์ตรัสในปุคคลวรรค เปรียบกับดอกบัว 3 เหล่า (โดยเพิ่มบัวเหล่าที่ 4 เข้าไปในบุคคล 4 ในปุคคลวรรค) ดังนี้

Cquote1.svg

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.

Cquote2.svg
— 'อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา'

ความหมายของบัวสี่เหล่าตามนัยอรรถกถา

  1. ( อุคคฏิตัญญู ) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
  2. ( วิปจิตัญญู ) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
  3. ( เนยยะ ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
  4. ( ปทปรมะ ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

 

 (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

 

 

 

..เห็นบัวขาว พราวอยู่ในบึงใหญ่..

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 423294เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

บัวสี่เหล่าแบ่งแยกคนได้สี่ประเภท หลักคำสอนที่น่านำมาพิจารณานะครับ

ท่านกว๊ธรรมโสภณ ค.ห.๑

 

ในชีวิตจริงช่วงหลังๆถึงปัจจุบัน

พบบัวเหล่าที่สี่มากเลยค่ะ

แม้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้า

เขายังโต้แย้ง..น่ากลัวมากค่ะ

..

แต่ก็มีกัลยาณมิตรอยู่ในสามเหล่าแรก

ตัวเองก็พยายามค่ะที่จะไม่เป็นเหล่าที่ ๔

 

 

บัวงาม  ยามแสง ทองส่อง

ปรองดอง เรียนรู้ ศึกษา

ท่องบ่น  สนใจ นำพา

รู้ค่า แล้วจึง รับไป

อยากให้ลูกศิษย์เป็นบัวเหล่าที่ 3 ก็พอค่ะ

 

คุณครูป.๑ ค.ห.๒

 

ขอบคุณที่มาร่วมต่อกลอนไพเราะค่ะ

ลูกศิษย์ไม่เป็นบัวเหล่าที๔

ครูก็โล่งใจแล้วนะคะ

@@@บัวหนึ่งสูงค่าน่าคิด

บัวสองตามติดเติมฝัน

บัวสามโอกาสมากพลัน

บัวสี่ตันตีบหนทาง@@@

คุณkrugui Chutima ค.ห.๓

 

ขอบคุณคุณครูที่มร่วมต่อกลอนไพเราะ

สั้นๆ กระชับ ครบสี่เหล่า ได้ความหมายตรงใจมากค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์กุลมาตา

  ขอคุณสำหรับเรื่องราวเเละข้อคิดดีๆเเก่ชีวิตนะคะ เราจะเป็นบัวเหล่าไหนเราเลือกได้

 ที่จะทำ

                   สวัสดีค่ะ

 

 

หนูปูเปี้ยว ค.ห.๔

 

ขอบคุณหนูเช่นกันค่ะ

ครูดีใจที่หนูเป็นเด็กดี คิดเป็น

ครูมั่นใจว่าหนูเรียนจบออกไป

เป็นอนาคตของชาติที่พัฒนาชาติให้เจริญแน่นอนค่ะ

ธรรมรักษานะคะ บัว ๓ เหล่าแรก เลือกเป็นได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท