เรียนรู้จากสมัชชา วทน. เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ ๙ (วันแรก)



          วันที่ ๑๐ ม.ค. ๕๔ ผมไปร่วมการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ ๙ ประเทศไทยก้าวไกล ก้าวทัน ก้าวหน้า   เริ่มจากท่าน รมว. วิทยาศาสตร์ ดร. วีระชัย วีระเมธากุล กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ประเทศไทยก้าวไกล ก้าวทัน ก้าวหน้าด้วย วทน.   ท่านกล่าวว่าจะพูด ๓ เรื่อง  เรื่องแรก แนวทางพัฒนา วทน. ท่านให้ความสำคัญ ๓ เรื่อง. (๑) ให้ชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว (๒) ใส่ใจปัญหา ปชช.  (๓) มี เครือข่ายเข้าไปช่วย โดยทำงานกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา.   อสวช. อาสาสมัครวิทยาศาสตร์ชุมชน มี ๕ - ๖ พันคน

          เรื่องที่ ๒ แผนฯ เน้นด้านใด ท่านว่าเน้น ๓ สร้าง (๑) สร้างเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสีเขียว ความสามารถในการแข่งขัน  (๒) สร้างสังคมให้มีภูมิคุ้มกัน รักธรรมชาติ พิชิตโลกร้อน สังคมผู้สูงอายุ  ความเข้มแข็งของชุมชน  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  บริการการแพทย์ทั่วถึงและเป็นธรรม  (๓) สร้างคน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  เข้าสู่การศึกษาสายวิทย์ สู่เส้นทางอาชีพ

          เรื่องที่ ๓ การทำให้แผนบรรลุวัตถุประสงค์ ต้องเน้นการวิจัยและพัฒนา คือวิจัยเอาไปใช้ประโยชน์ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนา จาก ๐.๒๔% GDP เป็น ๑% ใน ๕ ปี และเป็น ๒% ใน ๑๐ ปี   และเพิ่มจำนวนนักวิจัยเต็มเวลา จาก ๖.๗ : ๑๐,๐๐๐ เป็น ๑๕ ใน ๕ ปี  และเป็น ๒๕ เมื่อจบแผน ๑๐ ปี  เพิ่มบทบาทของเอกชนในการวิจัยและพัฒนา จาก ๔๕ : ๕๕ เป็น ๗๐ : ๓๐ เมื่อสิ้นแผน ๑๐ ปี

          ผมฟังแล้วในช่วงแรกได้ความรู้สึกยืนยันว่านักการเมืองจะเน้นการดำเนินการที่มีผลงานจับต้องได้โดยผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ที่เป็นผลปัจจุบัน  ไม่ได้เอาใจใส่ระบบ หรือการพัฒนาระยะยาว.  แต่พอฟังเรื่องที่ ๒ และ ๓ ก็ได้ความเข้าใจว่า ประโยชน์ของแผนพัฒนาฯ คือการทำให้การเมือง และผู้คนในสังคมคิดในระยะยาวและดำเนินการต่อเนื่อง  ไม่ตกหลุมความคิดและดำเนินการเพียงเพื่อประโยชน์ระยะสั้น


          หลังจากนั้นเป็นพิธีเปิด  และมอบรางวัล STI Thailand Award

          รางวัลแบ่งเป็น ๒ กลุ่มบริษัท คือ สถานประกอบการขนาดใหญ่ กับ SME

สถานประกอบการขนาดใหญ่  ได้รับรางวัลรวม ๑๕ บริษัท ได้แก่
     • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่บริษัท ADB จำกัด
     • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ บริษัท อีสเทิร์น โพลิแพค จำกัด
     • รางวัลชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ บริษัทสามมิตรมอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
     • และรางวัลชมเชย ๑๒ รางวัล ได้แก่ บริษัท TOA Paint ประเทศไทย   บริษัทไทยพลาสติก เคมีภัณฑ์   บริษัทไทยวาโก้   บริษัทนวพลาสติกอุตสาหกรรม สระบุรี   บริษัทน้ำปลาพิชัย   บริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด   บริษัทพัฒน์กล จำกัด มหาชน   บริษัทพรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด   บริษัทเพรสิเด้นท์ ไรซ์ โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)   บริษัทพลาสติกแอนด์ ไฟเบอร์ จำกัด   บริษัทสยามพรีเสิร์พฟูด   บริษัทธนไพศาลอุตสาหกรรม อินเตอร์เนชั่นแนล

 

SME
     • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท BKE combustion Control จก.
     • รองอันดับ ๑ บริษัท รอยัลมอเตอเวิร์ค จก
     • รองอันดับ ๒ ธนไพศาลฯ
     • รางวัลชมเชยมี ๑๒ รางวัล เช่น บริษัท Quality Assembly Thailand จก.  เป็นต้น

 

          ช่วงที่มีสีสันมาก เป็นนวัตกรรมของการประชุม คือ วิดีโอคอนเฟอเรนส รับข้อเสนอ จาก ๗ ศูนย์ทั่วประเทศ   โดยมีท่าน รมว. กับทีมผู้บริหารของกระทรวงวิทย์ นั่งบนเวทีตอบข้อซักถามหรือข้อเสนอจากแต่ละศูนย์ 

          เริ่มจากศูนย์อีสาน ที่ มข. ถามเรื่องการใช้ วทน. ช่วยลดปัญหาความยากจนในอีสาน   ผู้ว่าการ วว. ตอบว่า วว. ส่งเสริมปลูกผักหวานป่า ในอีสาน  ผลิตอิฐดินบล็อกประสาน ที่สถานีวิจัยลำตะคอง

          ท่าน รมต. พูดถึงโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย หรือคลินิกเทคโนโลยี

          มข. ต้องการห้องปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  รมต. ตอบว่าจะจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค  เพื่อชวนภาคเอกชนเข้าไปในพื้นที่  จะเอาโครงการเข้า ครม. ในเดือนหน้า

          ศูนย์อีสานใต้ มทส.  ถามเรื่องการแก้ปัญหาความยากจน ภัยแล้ง และน้ำท่วม   ผอ. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ตอบว่า เก็บข้อมูลเชื่อมโยงกับต่างประเทศ นำข้อมูลมาทำ modeling ผลกระทบต่อการเติบโตของพืชผล

          รมต. กล่าวถึง พันธุ์พืช น้ำ  แบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง เชื่อมกับปัจจัยอื่นๆ  การบริหารจัดการน้ำชุมชน ได้ งปม. มาทำ ๘๔ แห่ง แต่อยากได้ ๑๐ เท่า

          ศูนย์ภาคเหนือตอนบนที่ มช. เสนอเรื่องนโยบายซื้อเทคโนครั้งเดียว ต่อไปผลิตเอง แบบที่เกาหลีทำ   การก้าวข้ามการทำงานแบบแยกส่วน  และอื่นๆ ยืดยาว

          ภาค ตอ. ที่ มบ. ถามเรื่องแก้ปัญหา สวล. ในภาค ตอ.   ดร. พิเชฐ ตอบ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูองค์รวม และมีชุมชนสัมพันธ์ วางแผนร่วมกัน มีการชดเชยผลกระทบในรูปแบบต่างๆ  กรณีมาบตาพุดเป็นบททดสอบ

          ดร. ทวีศักดิ์ ผอ. สวทช. กล่าวว่าต้นปี ๕๓ มี ๖ หน่วยงานร่วมกันสร้างความเชื่อมั่น ทำ โครงการติดตามสภาพแวดล้อม   NEDO ของญี่ปุ่นสนับสนุน เป็นข้อมูลอิสระ  ทำบัญชี ใครปล่อยมลพิษ ต้องจ่าย

           รมต. มองวิกฤตเป็นโอกาส สร้างสังคมสีเขียว  ใหญ่ขนาดปฏิวัติอุตสาหกรรม ด้วยวิทย์

          ผมไม่ได้บันทึกสาระจากทุกศูนย์

          ในที่สุดท่าน รมต. ขอให้ คุณเสาวนีย์ รองปลัดด้านแผน เล่าเรื่อง กระทรวง วท. ทำความร่วมมือกับ มท.  จัดทำแผนพัฒนา จว. ด้วย วทน.  ทั้งระดับ จว. และ อบต.  ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสได้ งปม. เพิ่ม   โดยมีคลินิกเทคโนโลยี ตาม มทร. ช่วยด้านเทคนิก

          การประชุมเริ่มช้า และ teleconference ใช้เวลามาก   จนเวลาล่วงเลย ต้องมีการปรับกำหนดการอุตลุด  เอาช่วงนำเสนอแผนฯ โดย ท่านเลขาธิการ วทน.  และเสวนา วทน. กับการปฏิรูปประเทศไทยไปไว้ตอนบ่าย   แต่เนื่องจากคุณพยุงศักดิ์ ผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่งอยู่ตอนบ่ายไม่ได้   ท่านจึงให้ข้อคิดเห็นสั้นๆ  

 

พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ปธ. สภาอุตสาหกรรม

          เศรษฐกิจฐานความรู้ต้องพัฒนา วทน. เพื่อใช้สร้างคุณค่าเพิ่ม  ซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน ต้องทำเชื่อมโยงและต่อเนื่อง  ภาครัฐเอกชนร่วมมือกัน

          คาดหวังใช้ วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เวลา ๑๐ ปีสั้น   ต้องวางโครงสร้างที่แน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามฝ่ายการเมือง  อุทยานวิทยาศาสตร์ทุกภูมิภาค จะช่วยกระจายความเข้มแข็งของ วทน. ไปตามภูมิภาค   คูปองนวัตกรรมช่วยกระจายไปให้ SME

          Industrial design Ctr ช่วยยกระดับจากรับจ้างผลิต

          ต้องผลิตนักวิจัยให้เพียงพอ

          ต้องสมดุลทุกด้าน  วทน. แทรกซึมเข้าไปทุกอณูของประเทศไทย

          กระทรวงอุตสาหกรรม  ก. พลังงาน  ก. เกษตร  ก. ทรัพยฯ  ก. ศึกษา  ก. แรงงาน ฯลฯ ต้องทำงานร่วมมือกัน

          ใช้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐช่วยส่งเสริมในตอนต้น เช่น bioplastic  เชื่อมโยงกับการพัฒนาคน

          Agro-based industry  ขยายสินค้าเกษตร ให้เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก   เป็น  Green products

          ความเข้มแข็งของชุมชน  OTOP, SME ต้องการนวัตกรรม

          ผมชื่นชมว่า ในเวลาสั้นๆ คุณพยุงศักดิ์ สรุปประเด็นสำคัญๆ ได้ทั้งหมด

รมต.
          แผนแรกอาจตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมด ขอให้ช่วยกันมาช่วยกันทำให้ตอบโจทย์ได้มากขึ้น
          ในช่วงเช้า คุณนัทธี โกศลพิศิษฐ์ ดำเนินรายการ

 

บ่าย

 


พิเชฐ : แผน วทน. เพื่อการพัฒนาประเทศ


          เชื่อมโยง ยั่งยืน   ขับเคลื่อนแผนได้
          ต้องสร้าง S Curve ใหม่ เพื่อยกระดับการพัฒนา สำหรับ ๒๐ ปีข้างหน้า โดยใช้ วทน. เป็นเครื่องมือ
          ต้องตีความ ว. ท. น. ใหม่ สำหรับอนาคต
          น = แปลงปัญญาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
          การลงทุนวิจัยและพัฒนาช่วยเพิ่ม total factor productivity
          Krabi Initiative 2010 for ASEAN
          ต่อไปจะทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมมากขึ้น

 

วทน. กับการปฏิรูปประเทศไทย
ประเวศ วะสี
          วิทยาศาสตร์หมายถึงกระบวนการใช้หลักฐานและเหตุผลเพื่อเข้าถึงความจริง
          เทคโนโลยี หมายถึงการประยุกต์ใช้ความรู้
          นวัตกรรม หมายถึงการสร้างสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
ทั้ง ๓ รวมกันเป็นกระบวนการทางปัญญา
          โลกมายา ได้แก่ กม. กฎ ระเบียบ อำนาจ ความคิด เป็นโลกของนักการเมือง ข้าราชการ สื่อมวลชน
          โลกจริง คือการอยู่ร่วมกันในวิถีชีวิต
          ระบบสังคมที่มีชุมชนเป็นฐานแตกสลายด้วยอำนาจ ๓ คือ เงิน การเมือง ความรู้
          เสนอเทศาภิวัฒน์ เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เป้าหมายสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่  สัมมาชีพมากกว่าอาชีพ รวมไปถึงการอยู่ร่วมกัน
          แผนอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำนโยบายและยุทธศาสตร์ หาจุดคานงัด เพื่อบรรลุผล หาเครื่องมือ   Agent ของ วทน.  คือมหาฯ
          พัฒนานโยบาย ไม่ใช่เพื่อเสนอรัฐบาลเท่านั้น ต้องเอาทุกฝ่ายมาร่วมกันคิด หาวิธีการดำเนินการร่วมกัน
          ระบบพลังงาน หากทำนโยบายถูกต้อง จะลดความยากจนได้หมด เช่นการขนส่ง นโยบายผิดที่ใช้ถนน ต้องขนส่งทางราง
          สถาบัน ว และ ท แบบ KIST ทำกับอุตสาหกรรม ใช้เงิน ๒๐ ล้านเหรียญแล้วไม่ต้องใช้เงินอีกเลย เพราะเงินมาจากอุตสาหกรรม
          สร้างความเข้มแข็งของ ว. พื้นฐาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการซื้อเทคโนโลยี  มีการจัดการ

 

เชิญพร เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรม
          เอา วทน. ไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งระดับอุตสาหกรรม และเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม
          การ share resources, ต่อยอดการวิจัยสู่เชิงพาณิชย์   (เมื่อได้ยินคำพูดนี้ผมปิ๊งแว้บว่าผิด ๙๐%  ถูกเพียง ๑๐%  เพราะการวิจัยสู่ตลาดส่วนใหญ่เริ่มจากตลาด ไม่ใช่เริ่มจากสถาบันวิจัย   ประเด็นนี้ภาษาวิชาการเรียกว่าหุบเหวแห่งการวิจัยและพัฒนา   เป็นประเด็นที่ ดร. สุชาติ เอาไปถามที่ประชุมห้องย่อยที่ผมอยู่ในตอนบ่าย)
          Bioplastics, biodiesel พลังงานทดแทน
          อย่างบูรณาการต่อเนื่อง

          ภาพ รมต. และหัวหน้าส่วนราชการขึ้นไปนั่งบนเวทีสลอน ในรายการ teleconference ทำให้ อ. หมอประเวศ ตกใจ   เกรงว่า สวทน. จะทำงานแบบเป็นลูกน้อง รมต.  ซึ่งจะทำให้ทำงานใหญ่และยาก ที่ต้องร่วมมือรอบทิศไม่สำเร็จ   เพราะเมื่อเปลี่ยน รมต. ก็จะต้องเปลี่ยนทิศทางใหม่   แต่ผมมองว่า นี่คือการประนีประนอม   โดยที่ สวทน. ทำการบ้านร่วมกับฝ่ายต่างๆ ทุกภาคส่วนมาล่วงหน้าอย่างดี


          ผมสรุปว่า วทน. จะปฏิรูปประเทศไทยได้จริง สวทน. ต้องทำงานแบบเน้นยุทธศาสตร์ ที่ทำต่อเนื่อง ก้าวข้ามพรรคการเมือง ก้าวข้ามรัฐบาล

 


วิจารณ์ พานิช
๑๑ ม.ค. ๕๓

รางวัล STI Thailand Award เป็นนวัตกรรมของการส่งเสริม วทน. ในภาคผู้ประกอบการ ภาพหมู่ของผู้แทนหน่วยงานที่ได้รับรางวัล

 

VDO Conference ตอบคำถามจากผู้แทน ๗ ภูมิภาค ก็เป็นนวัตกรรมของการประชุม

 

คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรม สรุปแนวทางใช้ วทน. ปฏิรูปประเทศไทยได้ชัดเจนและกระชับ

 

 ประเวศ พิเชฐ เชิญพร

 

ห้องประชุมกลุ่ม ชุมชน สังคม ท้องถิ่น คนไม่ถึง ๒๐ คน

หมายเลขบันทึก: 422926เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2011 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท