"..สุ่มตัวอย่างแบบ AI กับทรงผมขัดใจแม่ ตอน 1 .."(ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 301)


Appreciative Inquiry เพื่อสังคม..แห่งการพึ่งตนเอง..

คำถาม Top ฮิต โดยเฉพาะจากกัลยาณมิตรนักวิชาการ ที่ถามบ่อยสุดคือ AI นี่มีหลักการสุ่มตัวอย่าง อย่างไร..เพราะหลายครั้งเวลาผมคุยกับนักวิชาการที่ทำวิจัยเชิงปริมาณมามากๆ จะถึงขั้นรับไม่ได้ไปก็มี เพราะ AI Project บางชิ้นคนถามคนอยู่ 5 คน บางชิ้นก็ 300 ...นี่ีมันอะไรหว่า..ยิ่งไปดูงานของกูรูด้านนี้ ฟาดเข้าไป 20,000 คน พอไปดูงานของ AI ใหญ่ๆ เช่นกลุ่ม Imagine Chicago นั่นปาเข้าไปเป็นแสนคน..ผมถึงรำพึงรำัพันกับตัวเองหลายครั้งว่า AI นี่มันเป็นอะไรที่เหมือนกับเราไปตัดทรงผม แล้วขัดใจแม่จริงๆ

................

..เอาหล่ะ ไม่เป็นไรครับ..ดูที่มาที่ไปนิดส์นึงครับ..เรื่องนี้มีหลายมิติ ต้องแยกเป็นตอนๆครับ..ตอนนี้เป็นตอนแรก..มาเริ่มกันครับ..ว่าที่นิยาม AI ก่อน

.....

Appreciative Inquiry คือศาสตร์แห่งการค้นหาเรื่องดีๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ใน "ทุกคน" "ทุกระบบ" "ทุกสิ่งแวดล้อม"...เห็นคำว่า "ทุกคน" ไหมครับ..นี่แหละ..ทำให้หลายครั้งคุณไม่ค่อยเจอค่ำว่า "สุ่มตัวอย่าง" ในแวดวง และงานด้าน Appreciative Inquiry>>>

....

นี่เป็นเพราะ...แทน แท่น แ้ท้น....AI ถือหลักสามอย่างครับ  คือ 

1. หลัก "ดึง" การมีส่วนร่วม (Inclusion) เป็นต้นว่าถ้าคุณทำ AI เกี่ยวกับโรงเรียน..คนที่มีส่วนร่วมคือ ทุกคนตั้งแต่ครูใหญ่ ภารโรง แม่บ้าน ร้านค้า นักเรียนหัวเกรียน เด็กโข่ง ผู้ปกครอง..ประมาณนั้นครับ..Inclusion นี่ไม่ใช่ดึงมาฟัง แต่เป็นการ "ดึง" เอาจุดแข็ง เรื่องราวดีๆ ของทุกคน ที่จะย้อนกลับไปสร้างเรื่องดีๆ ให้ทุกคนและส่งผลดีต่อองค์กร...เด็กเกรียนติดเกมส์ จึงจะเข้ามามีส่วนร่วม ในโครงการ AI แล้วเล่าประสบการณ์ดีๆ ออกมาจน ครู ผู้ปกครองการช่วยกันขยายผลให้เขาหายเกรียน หรือไม่ก็ค้นพบตนเองจนกลายเป็นโปรแกรมเมอร์เกมส์ หรือวิศวกรคอมพิวเตอร์ไปเลย..ประมาณนั้น.. 

2. หลักการมีส่วนร่่วมในทุกกระบวนการ (Participation) ตรงนี้ในการทำ AI จึงต้องอาศัยศิลปะของกระบวนกร ที่จะต้องกระตุ้น สร้าง "พื้นที่" ปลอดภัย ในการแสดงออก ไม่ใช่แค่ข้อคิดเห็น แต่เป็นพื้นที่ที่ยอมให้เกิดการแปลงเป็นการปฏิบัติได้

3. หลักการลงแรง (Collaboration) โครงการ AI จะไปได้ไม่ใช่แค่เอาคนมานั่งฟังนะครับ.ต้องคิดต่อว่าจะวางโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ จะให้ใครทำ จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะวัดกันยังไง รู้ได้ไงว่าสำเร็จแล้ว..ของอย่างนี้ต้องอาศัยการลงแรง ลงความคิดกัน รับผิดชอบด้วยกันครับ..

.....

ตอนนี้เป็นตอนแรก เลยสรุปว่า การสุ่มตัวอย่างแบบ AI แบบแรกคือ มีกี่คน ดึงมามีส่วนร่วม ให้หมดครับ ประมาณว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดนั่นแหละครับ แ่ต่มีส่วนร่วมด้วยหลักสามข้อขั้นต้นนี้ครับ

 

......

ดู

Reed J. (2007). Appreciative inquiry: research for change. London: Sage Publication.

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#sampling
หมายเลขบันทึก: 422568เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2011 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท