CT Perfusion


ภาวะสมองขาดเลือด อาจนำไปสู่ความพิการ หรือเสียชีวิตได้ การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิค CTP เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคอย่างหนึ่ง

สวัสดีครับ

 

วันนี้ขอถอดบทเรียนจากการได้เข้าไปร่วมเรียนรู้เทคนิคการตรวจสมองเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือ CT Brain Perfusion โดย รศ.พญ.อรสา ชวาลภาฤทธิ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมงาน ณ อาคาร MRI ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2554 หัวข้อการบรรยายและลงมือปฏิบัติ เกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ศึกษาการไหลเวียนของเลือดสมอง เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง 

 

ภาพจาก ศูนย์สมองกรุงเทพ

http://www.herbalone.net/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=382:2010-12-05-07-32-28&catid=70:2010-11-12-03-38-21&Itemid=140

ภาวะสมองขาดเลือด อาจเกิดเนื่องจากหลอดเลือดผิดปกติ มีอาการตีบ (Cerebral thrombosis) อุดตัน (Cerebral embolus) หรือ แตก (Cerebral hemorrhage) ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่เพียงพอ (Ischemia) หรือเซลล์สมองตาย (Infraction) อาการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเหล่านี้ อาจที่ให้สมองบกพร่อง ทำให้มีอาการปวดศีรษะ สับสน ตาพร่ามัว แขน ขา ชา หรือ อ่อนแรง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยซ้ำซ้อน ความพิการ หรือ รุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

เทคนิคการตรวจโรคหลอดเลือดสมอง จะคล้ายการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทั่วๆไป

เทคนิคนี้สามารถทำได้เฉพาะในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดที่มีหลายหัววัดรังสี (CT spiral Muliti slice) เท่านั้น (และจะดีมาก เมื่อเครื่องนั้นมีจำนวนหัววัดรังสีที่มีจำนวนมาก เนื่องจากสามารถครอบคลุมพื้นที่การตรวจได้กว้างขึ้น)

 

 

ขั้นตอนการตรวจ

1. เริ่มต้นจากการถ่ายภาพสมองด้านข้าง เพื่อใช้ในการวางแผน เพื่อกำหนดพื้นที่ๆต้องการตรวจ ที่เรียกว่า Scout view หรือ Topogram หรือ SurView ขึ้นกับชนิดของเครื่อง CT Scan ที่ใช้

 

 

2. ถ่ายภาพตัดขวางของสมองทั้งหมด เพื่อหาความผิดปกติของหลอดเลือดในบริเวณที่สงสัย

 

 

3. จากนั้นจะฉีดสารทึบรังสี (Contrast media) ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการถ่ายภาพตัดขวางบริเวณพื้นที่ที่กำหนด โดยปกติพื้นที่กว้างประมาณ 4 cm. 

 

 

 

ภาพจาก http://www.visions-journal.com/GB-2006-V09/S06-08.pdf 

4. จากนั้นเข้าโปรแกรมพิเศษ คือ CT Pefusion หรือเรียกอย่างย่อว่า CTP แล้วเลือกตำแหน่งหลอดเลือดที่สนใจศึกษา หรือ ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติ เพื่อหาค่าของอัตราไหลของเลือด (Cerebral Blood Flow : CBF) ปริมาณของเลือด (Cerebral Blood Volume :CBV) และ ค่าเฉลี่ยการไหลผ่านของเลือด ณ บริเวณที่สนใจ (mean transit time : MTT) และใช้สมการ CBF = CBV/MTT เพื่อหาค่าออกมาเป็นตัวเลข เพื่อใช้ประกอบการพิจาณาวินิจฉัยและรักษาโรคต่อไป

 

ภาพจาก http://www.visions-journal.com/GB-2006-V09/S06-08.pdf

ความผิดปกติของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และภาพสมองที่คอมพิวเตอร์สร้างแถบสีที่ปรากฏออกมาในลักษณะแตกต่างกัน เพื่อนำไปใช้ประกอบการวินิจฉัย

 

 

 

ค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทั่วไป กับ CTP

 

Routine CT Brain : 120 kV and 150-200 mAs 

 

CTP : 80 kV and 100 mAs

 

จะเห็นได้ว่ามีการใช้ค่า Exposure factor ใน CTP ที่ต่ำกว่าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทั่วไป ทำให้คุณภาพของภาพที่ปรากฏไม่ดีเก่าที่ควร

 

ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก CTP ต้องสแกนซ้ำที่เดิมหลายรอบตามพื้นที่ๆกำหนดไว้ หากใช้ปริมาณรังสีที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงภัยต่อรังสีต่อผู้รับบริการจากการตรวจ CTP มากขึ้น

 

 

 

ดังตัวอย่างในหนังสือ New york times เรื่อง

The Radiation Boom

After Stroke Scans, Patients Face Serious Health Risks

 

 

http://www.nytimes.com/2010/08/01/health/01radiation.html

 

 

ข้อคำนึง

ดังนั้นรังสีแพทย์ นักรังสีเทคนิคและผู้เกี่ยวข้อง ควรร่วมวางแนวทางการตรวจและกำหนดพารามิเตอร์ที่ใช้งานให้เหมาะสม รวมถึงการเลือกใช้ปริมาณรังสีที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

 

 

สรุป :

การตรวจด้วยเทคนิคนี้ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองได้  (แต่ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด แต่ยังดีกว่าไม่ได้ทำการตรวจเลย) เพราะหากผู้ป่วยเกิดอาการสมองขาดเลือด ไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ก็อาจนำไปสู่การสูญเสียในระดับที่มากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป (พิการหรือเสียชีวิต)

 

 

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการหนึ่งที่มีความเสี่ยงภัยต่อผู้รับบริการ  

 

 

 

การดูแล รักษาตนเองเชิงป้องกัน การตรวจหาความผิดปกติในระยะเริ่มแรกหรือเบื้องต้น เป็นแนวทางหนึ่งที่อาจจะช่วยลดความเสี่ยง ลดการสูญเสียลงได้

 

หมายเลขบันทึก: 420269เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2011 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท