รอบรู้เรื่องโรคผิวหนัง: ความหลากหลายของอาการโรคผิวหนัง


แม้ผู้ป่วยเป็นโรคชนิดเดียวกัน โรคเดียวกันนี้มีความแตกต่างของอาการได้มากมาย

บันทึกนี้เป็นการทำความเข้าใจเรื่องในเรื่องพื้นฐานของโรคที่มีการแสดงออกทางผิวหนังครับ

 

โรคผิวหนังเป็นโรคที่สามารถเห็นได้ง่าย โรคผิวหนังบางโรคเพียงแค่ได้มองเห็นลักษณะที่จำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่ง แพทย์ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการใดๆ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนังบางชนิด

 

นอกจากนั้นการที่มีรอยโรคเห็นได้อย่างชัดเจน  ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ดีการที่มีรอยโรคที่มองเห็นได้ง่ายนี้ก็เหมือนดาบสองคม ทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่มีอาการของโรคผิวหนังที่เป็นบริเวณกว้างมากๆ เช่น มีผื่นทั้งตัว ก่อให้เกิดผลกระทบด้านจิตใจได้ไม่น้อย  เพราะมักถูกมองหรือเข้าใจผิดว่าเป็นโรคนั้นโรคนี้ อย่างไม่มีโอกาสแก้ตัว

 

นอกจากนั้นการมีผื่นหรือรอยโรคที่เห็นได้ชัดเจน ทำให้เป็นเป้าหมายสำคัญของคำแนะนำจากผู้หวังดีทั้งหลาย ที่ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง ทำให้ได้การรักษาที่ผิดๆ หรือ เป็นอันตราย เช่น ผู้ที่เป็นงูสวัด มักมีผื่นที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะผู้ที่มีรอยโรคงูสวัดที่ใบหน้า พบได้เนืองๆ ว่าผู้ที่มีรอยโรคงูสวัดที่ใบหน้าดังกล่าวได้รับการรักษามาบ้าง ไม่มากก็น้อย เช่น ได้ยาฆ่าเชื้อที่เป็นยาแผนปัจจุบันโรยใส่มาก่อน หรือ ได้สมุนไพรพอกมาก่อนพร้อมทั้งการเป่าพ่นด้วยกรรมวิธีต่างๆ เป็นต้น
 
ถึงแม้ว่าจะเห็นรอยโรคได้ชัดเจน แต่การวินิจฉัยโรคผิวหนังก็ยังทำได้ไม่ง่ายนัก อะไรที่เป็นสาเหตุดังกล่าว

โรคผิวหนังก็เหมือนกับโรคอื่นๆ ตรงที่ แม้ผู้ป่วยเป็นโรคชนิดเดียวกัน โรคเดียวกันนี้มีความแตกต่างของอาการได้มากมาย ถึงแม้ในผู้ป่วยคนเดิมที่เป็นโรคเดิม แต่มารับการตรวจครั้งใหม่ ก็สามารถมีความแตกต่างของอาการได้เช่นกัน 

นอกจากโรคจะมีความแตกต่างกันแล้ว สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้มีความแตกต่างของอาการก็คือ การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับก่อนที่จะมาพบแพทย์ทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน

 

คงต้องเน้นในที่นี้ว่า ความแตกต่างของรอยโรคดังกล่าว เป็นประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การวินิจฉัยโรคผิวหนังทำได้ไม่ง่ายนัก ทำให้บางครั้ง แพทย์ผิวหนังจะต้องขอทำการตรวจเพิ่มเติม ทางห้องปฏิบัติการ เช่นการขูดเชื้อ การเพาะเชื้อ และอาจจะถึงขั้นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจพิสูจน์

 

อย่างเช่นในรูปข้างล่างนี้ แพทย์มักขอทำการตรวจหาเชื้อราจากเล็บโดยการขูดเชื้อและส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเพาะเลี้ยงเชื้อราจากเล็บที่เห็นอยู่

ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านไปรับการตรวจจากแพทย์ผิวหนัง และเมื่อตรวจแล้วได้รับการร้องขอให้ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แสดงว่ามีความจำเป็นต้องตรวจ ขอให้ท่านให้ความร่วมมือในการตรวจดังกล่าวด้วยครับ

หมอสุข

คำสำคัญ (Tags): #ผิวหนัง#หมอสุข
หมายเลขบันทึก: 419849เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดี ครับ

Ico48
เป็นบันทึกความรู้ที่อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น นะครับ
และถือโอกาสกล่าวคำสวัสดีปีใหม่กับหมอด้วยนะครับ
สวัสดีปีใหม่ 2554 ครับ
  • ขอบคุณคุณหมอมากเลยครับ
  • ชาวบ้านแถวบ้านผมมีความเชื่อผิดเรื่องงูสวัสและเริม
  • ช่วงนี้คนเป็นมากเลย
  • สวัสดีปีใหม่
  • คุณหมอสบายดีนะครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

  • ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ค่ะ
  • มีความสุขทุกๆวันนะคะ

ขอบพระุคุณ แสงแห่งความดี ที่แวะมาและสำหรับรูปที่สวยงามครับ และสวัสดีปีใหม่

สวัสดีปีใหม่ และขอขอบพระคุณ ขจิต ฝอยทอง   ที่แวะมาแลกเปลี่ยนครับ

ขอบพระคุณ คุณยาย ที่แวะมาและสวัสดีปีใหม่ครับ

หมอสุข

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณหมอ...

ขอบคุณสาระดีๆค่ะ

 ขอบพระคุณ nussa-udon  ที่แวะมาครับ

  • หมอสุข
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท