หญิงไทยในญี่ปุ่นกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อครอบครัวในประเทศไทย


หญิงไทยในญี่ปุ่น

หญิงไทยในญี่ปุ่นกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อครอบครัวในประเทศไทย[1] 

Thai women in Japan: Obligation and Responsibilities for kinship in Thailand.

เย็นจิตร  ถิ่นขาม[2]

มณีมัย ทองอยู่[3]

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาบางส่วนของการวิจัยเรื่อง  การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น โดยนำเสนอในประเด็น บทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้หญิงไทยในประเทศญี่ปุ่นต่อครอบครัวหรือเครือญาติในประเทศไทย  กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา  คือ   1)  ผู้หญิงไทยที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมกับผู้ชายญี่ปุ่น  รวมทั้งหมด   20  กรณีศึกษา  และ  2) ครอบครัวของหญิงไทยที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรม รวมทั้งหมด 16  กรณีศึกษา  พื้นที่ในการศึกษา คือ  ประเทศไทย  ได้แก่  จังหวัดขอนแก่น   อุดรธานี   มหาสารคาม  บุรีรัมย์ และประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ เมืองโกเบ (Kobe city) จังหวัดเฮียวโงะ (Hyogo province)  เมืองซาคุ (Saku city) จังหวัดนากาโน่ (Nagano province) และเมืองเกียวโต (Kyoto city) จังหวัดเกียวโต  (Kyoto province)  ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ  นำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์   ผลการศึกษา  พบว่า   พ่อแม่คาดหวังให้ลูกสาวแสดงบทบาทการผลิต   และบทบาทในการทะนุบำรุงสมาชิกในครอบครัวมากกว่าลูกชาย  ในหลายสังคมผู้หญิงส่วนใหญ่ยังถูกคาดหมายให้อยู่ในกรอบ ให้เป็นตัวกลางและมีหน้าที่หลักรับการถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมทั้งที่เป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชน  ขณะที่ผู้ชายไม่ได้ถูกคาดหวังมากขึ้นว่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบในภาระการดูแลครอบครัว  ซึ่งผู้หญิงที่แต่งงานกับชายญี่ปุ่นก็จะเห็นว่าบทบาทหน้าที่การดูแลและส่งเสียครอบครัวเดิมเป็นบทบาทหน้าที่ของตนที่จะต้องทำ  ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นลูกที่ไม่ดี  และไม่มีความกตัญญู บทบาทหน้าที่ต่อครอบครัวเดิมหรือเครือญาติเดิมในประเทศไทยแสดงออกทั้งที่เป็นรูปธรรมได้แก่  การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน สิ่งของ การส่งบุตรหลานเรียนหนังสือ การซื้อที่ดิน การสร้างบ้าน และนามธรรม ได้แก่  การให้คำปรึกษา การให้กำลังใจ การส่งข่าวคราวผ่านทางโทรศัพท์ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ การฝากความคิดถึงผ่านญาติหรือผู้หญิงไทยที่กลับมาเยี่ยมบ้านที่ประเทศไทย หรือการมาเยี่ยมเยือนด้วยตนเองในเทศกาลวันหยุด

 

คำสำคัญ:  หญิงไทยในญี่ปุ่น บทบาทหน้าที่ การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม 

Abstract

The objective of this article is to present findings regarding cross-cultural marriages of Thai women with Japanese Men. This study focuses on obligation and responsibilities of Thai Women who married to Japanese Men for kinship in Thailand. Key informants were 1) 20 Thai women who are married to Japanese men and 2) 16 Thai women’s families. Research areas were located in the Northeast of Thailand, namely Khon Kaen, Udon Thani, Maha Sarakham and Buri Ram Provinces; and located in Japan namely Kobe City in Hyogo province, Saku city in Nagano province and Kyoto city in Kyoto province. Qualitative research methods were used to collect and analyze the data.

The researcher found that Parents expected her daughter to play productive role and reproductive role rather than his son. Most women expect to be in the frame. As an intermediary and is primarily responsible inherited culture and that is the duty of everyone in the community, while son are not expected to be more responsible for family care giving.

Even though Thai women lived with their husband in Japan, they still considered themselves Thai and felt that their real home was Thailand. They also felt the obligation of a child’s duty and gratitude towards their parents and family of orientation. If not, is regarded as a bad child.

Thai women also experience some consciousness of being responsible for Thai family as they play a daughter role. They express these consciousnesses by mean of willingness to support family in term of financial, household care giving, raising children, the purchase of land for housing, family management,  and recreational assistance include counseling, send news via telephone, electronic mail, leave the thinking of Thai women through relatives or returning home to visit Thailand or visitation with their holiday.

 

Keywords:  Thai Women in Japan, Obligation and responsibilities, Cross-cultural marriage.

 


[1] บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต   สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และโครงการวิจัย Cross-cultural Marriage and East Asian Community, Faculty of letters, Kobe University, Japan. ภายใต้ทุนของ Japan Society for the Promotion of Science (JSPS).

[2] อาจารย์, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

[3] อาจารย์ ดร, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 419346เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท