กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน


กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ไม่ได้มีเพียงแต่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน หรือ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เท่านั้น ความจริงสถานประกอการ ที่มีนายจ้างและลูกจ้าง จะต้องปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมายสำคัญทั้งหมด 7 ฉบับด้วยกัน

กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน

กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ไม่ได้มีเพียงแต่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน หรือ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เท่านั้น ความจริงสถานประกอการ ที่มีนายจ้างและลูกจ้าง จะต้องปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมายสำคัญทั้งหมด 7 ฉบับด้วยกัน ได้แก่
  1. กฎหมายการจ้างงาน ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 6    จ้างแรงงาน )
  2. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ( พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับเดิม 2541 ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขใหม่ เป็น พรบ. คุ้มครองแรงงาน 2551 แล้ว )
  3. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ( พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ 2518 )
  4. กฎหมายประกันสังคม ( พ.ร.บ. ประกันสังคม 2533 )
  5. กฎหมายเงินทดแทน ( พ.ร.บ. เงินทดแทน 2537 )
  6. กฎหมายศาลแรงงาน ( พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน 2522 )
  7. กฎหมายความปลอดภัย ( ประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงาน )
 
ทั้ง  7 ฉบับนี้  เกี่ยวข้องกับนายจ้างและลูกจ้าง ตามสิทธิและหน้าที่ ของทั้งสองฝ่ายที่จะต้องปฏิบัติตามในประเด็นต่างกันไปในเรื่องของสหภาพแรงงาน จะเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ 2518 เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาพการจ้างงานและเป็นหลักเกณฑ์การจัดตั้งสหภาพแรงงานอยู่ด้วย สถานประกอบการใด  จะจัดตั้งสหภาพแรงงานจะต้องใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการ ส่วนสถานประกอบการที่ไม่มีสหภาพแรงงาน  จะยังคงมีมาตราต่างๆ  บังคับนายจ้างและลูกจ้างอยู่ด้วย   เช่น  หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน
หากนายจ้างได้เปลี่ยนแปลงโดยไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง นายจ้างจะไปบังคับลูกจ้างไม่ได้  นายจ้างจะต้องยื่นหนังสือเรียกร้องต่อลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างยินยอมเสียก่อน เป็นต้น
     ส่วนคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการนั้น จะเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2551 โดยสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป จะต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการเข้าทำหน้าที่ตามกฎหมาย และคณะกรรมการนั้นจะต้องได้มาจากการเลือกตั้ง
         ดังนั้น ในประเด็นที่นายจ้างจะไปเปลี่ยนแปลงสภาพจากสหภาพแรงงานมาเป็นคณะกรรมการสวัสดิการไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายคนละฉบับกันทั้งสหภาพแรงงานและคณะกรรมการสวัสดิการ มีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ไม่เหมือนกัน แต่อาจจะคล้าย ๆ กันเท่านั้น  ยกเว้นว่า ในสถานประกอบการนั้น สหภาพแรงงานที่มีอยู่  ยังไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายที่ถูกต้อง จึงอาจจะไปแก้ไขได้  ทั้งนี้ นายจ้างกับลูกจ้าง
ต้องพูดคุยตกลงกันให้เข้าใจด้วย  แต่ถ้ามีสหภาพแรงงานที่ถูกต้องแล้ว สหภาพแรงงานที่ทำหน้าที่ของสหภาพแรงงานไปตามกรอบของกฎหมาย  ส่วนคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการก็ทำหน้าที่ไปตามกรอบของกฎหมายเช่นกัน  เจตนารมณ์ของการมีสหภาพแรงงานหรือคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานนั้น  เพื่อเป็นช่องทางให้นายจ้างและลูกจ้างมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน  หากมีกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้น  จะได้ใช้คณะกรรมการสวัสดิการหรือสหภาพแรงงานนี้เป็นเวทีพูดคุย เจรจาไกล่เกลี่ยกันให้ได้เสียก่อน

“ร่วมมือร่วมใจ   สร้างสรรค์แรงงานสัมพันธ์

                                       นายจ้างและลูกจ้าง ผลประโยชน์ร่วมกัน”

หมายเลขบันทึก: 419340เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทั้งมันสมองหรือหยาดเหงื่อแรงกาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินตรา มาเลี้ยงชีพทั้งตนเองและครอบครัว ถือว่าเป็นคนสำคัญ กลุ่มอาชีพหนึ่ง ถึงแม้นบางครั้งจะยังไม่สามารถดำเนินกิจการตามความตั้งใจของตนเองได้ แต่คงมีสักวัน ที่ผู้ใช้แรงงาน

จะเติบโตและมีกิจการของตนเอง..........ต่อสู้ต่อไป คงมีสักวันที่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือความมุ่งหวังไว้

กรณีมีสหภาพแรงงาน ฯ แต่ไม่มีคณะกรรมการสวัสดิการ

ให้ตรวจสอบดูว่า สหภาพแรงงาน ฯ มีการยื่นแต่งตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างไว้หรือไม่ ( ปกติจะมี หากมีสหภาพแรงงาน ฯ ) ตามขั้นตอนหากสหภาพแรงงาน ฯ แต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง จะมีหนังสือส่งให้ บริษัท ฯ เสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจก่อน หากไม่พบหลักฐานจริง ๆ สามารถตรวจสอบได้ จากสหภาพแรงงานฯเอง หรือ จากสำนักงานแรงงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้ เพราะสำนักงานแรงงาน ฯ จะมีข้อมูลของสหภาพแรงงาน ฯ ในพื้นที่รับผิดชอบอยู่แล้ว

หากตรวจสอบแล้วมี คณะกรรมการลูกจ้าง จริง และยังไม่ครบวาระ ให้ทำหนังสือแจ้งแรงงานพื้นที่ได้เลยว่า บริษัท ฯ มีคณะกรรมการลูกจ้าง จึงให้คณะกรรมการลูกจ้างทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการ ตามมาตรา ๙๖ พ.ร.บ.คุ้มครอง ฯและที่สำคัญ อย่าลืมจัดประชุมร่วมระหว่างนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างกับ คณะกรรมการสวัสดิการหรือคณะกรรมการลูกจ้าง อย่างน้อยสามเดือนต่อครั้งนะครับ ทำบันทึกการประชุมด้วย เพราะกฎหมายกำหนดให้มีการจัดประชุม ตามมาตรา ๙๘ พ.ร.บ.คุ้มครอง ฯ

หากตรวจสอบแล้ว ไม่ปรากฏว่า มีคณะกรรมการลูกจ้าง บริษัท ฯ ต้องรีบดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการโดยด่วน ตามมาตรา ๙๖ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง เป็นไปตามกฎกระทรวง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ เมื่อเลือกตั้งได้คณะกรรมการสวัสดิการแล้ว ให้ติดประกาศรายชื่อ และส่งรายชื่อให้สำนักงานแรงงาน ฯ ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท