KM0038 : บทเรียนจากน้ำท่วมหาดใหญ่ ตอนที่ ๕


ผมเป็นคนที่เดินทางเกือบบ่อย ทุกครั้งก่อนขึ้นเครื่องฯ ลงเครื่องฯ (เครื่องฯ หมายถึง ทั้งเครื่องรถยนต์ เครื่องรถโดยสาร เครื่องรถไฟ เรือ เครื่องบิน) ถึงโรงแรม ก็จะโทรบอกคนที่บ้านประจำครับ ไม่ได้รายงานครับ แต่บอกให้มีคนรับรู้ไว้ เพราะหากมีปัญหาขึ้นมา คนที่จะช่วยเหลือจะได้ทราบว่าเราอยู่ในช่วงไหนของการเดินทางครับ
หลังจากเคลื่อนย้านตัวเองและสัมภาระขึ้นมาชั้น ๒๘ แล้ว ห้องที่ผมพักบังเอิญหน้าต่างเปิดออกไปได้ (ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย) แต่ก็แทบไม่ยากเปิดเพราะลมหรือเรียกว่าพายุก็ได้ แรงมาก ทั่งลมทั้งฝนมองออกไปก็ไม่ค่อยเห็นอะไร แต่ก็พยายามมองออกไปเพราะอยากรู้ว่าน้ำท่วมแล้วหรือยัง ระหว่างนี้ผมบอกให้ทุกคนชาร์ทแบตตารี่ของอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เพราะไม่รู้ว่าหากน้ำท่วมจริงๆ จะท่วมซักกี่วัน (ปี ๔๓ ท่วมอยู่เกือบสัปดาห์) และทุกคนก็เริ่มนอนพักผ่อนกัน แต่หน้าต่างเจ้ากรรมของผมพอลมแรงมากๆ ทีไรมันก็มีเสียงดังทุกที บางครั้งก็เลื่อนออกมาจนมีเสียงลม วิ้วๆ ดังเข้ามา เล่นเอาผมนอนหลับๆ ตื่นๆ แต่ก็อาจเป็นเพราะกังวลเรื่องน้ำท่วมด้วย เลยต้องลุกมาขยับหน้าต่างพร้อมกับดูน้ำเป็นระยะๆ แต่สุดท้ายก็หลับไปเพราะความง่วง (ธรรมชาติของมนุษย์จริงๆ) มาสะดุ้งตื่นอีกทีจำไม่ผิดประมาณตี ๒ เพราะไฟในโรงแรมดับ แอร์ไม่ทำงาน และผมก็ได้ยินเสียงที่ไม่ค่อยอยากได้ยิน คือ เสียงไซเลน ลุกขึ้นมาเปิดหน้าต่างมองออกไปเห็นแต่ความมืดและไฟสัญญาณเตือนไฟ เข้าใจว่าไฟคงจะดับทั้งเมืองแล้ว เมื่อมองลงไปด้านล่างที่โรงแรมข้างเคียง สิ่งที่กังวลใจก็เป็นจริง น้ำครับ น้ำสีโคลนเริ่มไหลเข้าตัวเมืองหาดใหญ่ เข้าใจว่าน่าจะไหลมากซักพักแล้วตอนที่ผมหลับไป ที่โรงแรมข้างๆ หน้าทางเข้าลอบบี้ซึ่งสูงกว่าถนนซักหน่อย มีรถจอดอยู่ ๒ คัน น้ำท่วมประมาณครึ่งล้อ และมีคนยืนที่โน้นชี้นี่ไปที่รถ ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเจ้าของหรือไม่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ขับออกไปก็ไม่ได้ เพราะถนนอยู่ต่ำลงไป คงได้แต่ยืนมองดูระดับน้ำ และคงภาวนาในใจไม่ให้น้ำขึ้นสูงไปกว่านี้ ผมยังมองเห็นรถอีกหลายคันที่จอดอยู่ในลานจอดรถ และเริ่มส่งเสียงร้อง (มันอาจจะร้องว่า ช่วยด้วย ช่วยด้วย) พร้อมทั้งไฟกระพริบ เข้าใจว่าเกิดจากระบบกันขโมย (เพิ่งรู้ว่าน้ำท่วมมันก็ร้อง) และหลังจากนี้คงไม่ต้องพูดถึง ก็หลับๆ ตื่นๆ วิ่งดูน้ำกันทั้งคืน พร้อมกับความคิดที่มีมามากมาย

- จะต้องติดอยู่กี่วัน (ยังมี Mental Model คือ ฝังใจกับปี ๔๓) เพราะนำชุดมาแค่ชุดเดียว
- เรื่องอาหารคงไม่ห่วงเท่าไหร่ เพราะอยู่ในโรงแรมใหญ่ อาหารน่าจะพอกิน แต่ไม่รู้มีคนในโรงแรมเท่าไหร่
- น้ำกินไม่ห่วง (คิดเหมือนอาหาร) ห่วงแต่นน้ำใช้ เพราะไฟไม่มี โรงแรมสูงๆ ก็ต้องใช้ไฟสูบน้ำขึ้นมา ที่สำคัญการประปาก็โดนน้ำท่วมไปด้วย ตอนปี ๔๓ ทั้งหาดใหญ่และสงขลาไม่มีน้ำใช้กันเกือบเดือน (ถ้าจำไม่ผิด)
- เรื่องคนมาช่วยไม่น่ามีปัญหาเพราะทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้ว่าเรามาพักอยู่ที่ไหน และสมัยนี้โทรศัพท์มือถือก็ช่วยได้เยอะ (แต่เอาเข้าจริงก็โทรแทบไม่ได้) ตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญครับ ไปไหนมาไหนต้องบอกให้ใครสักคนหรือหลายคนรับรู้ ผมเป็นคนที่เดินทางเกือบบ่อย ทุกครั้งก่อนขึ้นเครื่องฯ ลงเครื่องฯ (เครื่องฯ หมายถึง ทั้งเครื่องรถยนต์ เครื่องรถโดยสาร เครื่องรถไฟ เรือ เครื่องบิน) ถึงโรงแรม ก็จะโทรบอกคนที่บ้านประจำครับ ไม่ได้รายงานครับ แต่บอกให้มีคนรับรู้ไว้ เพราะหากมีปัญหาขึ้นมา คนที่จะช่วยเหลือจะได้ทราบว่าเราอยู่ในช่วงไหนของการเดินทางครับ
ก็ประมาณนี้แหละครับ แถมนิดหน่อย ก่อนหน้าที่ผมจะย้ายขึ้นมาชั้น ๒๘ บรรดาเจ้าหน้าที่ที่มาด้วยกันจากกรุงเทพฯ (และเป็นสุภาพสตรีทั้งหมด) ได้ไหวตัว และลงไปซื้อเทียนที่ร้านสะดวกซื้อมาเก็บไว้แล้ว ๓ กล่อง พร้อมกับบ่นว่าในร้านแทบไม่เหลืออะไร (ดีครับ มีคนมาช่วยเก็บร้านด้วยการซื้อ) ที่สำคัญมันคือเทียนเล่มเล็กๆ ที่อยู่บนกล่องธูป โดยทั้งหมดเข้าใจและภาคภูมิใจว่าในกล่องธูปคือเทียน (ประมาณว่าไฟดับกี่วันฉันก็ไม่กลัว) ส่วนเทียนที่อยู่นอกกล่องคือของแถม ผมเลยแซวว่า สงสัยไม่ค่อยได้เข้าวัด ทุกคนยิ้มและหัวเราะ สรุปว่าเรามีเทียนเล่มเล็กอยู่ ๓ เล่ม ต้องวางแผนใช้กันต่อไป
แล้วเช้าวันที่ ๒ พ.ย. ๕๓ ก็มาถึง......................
หมายเลขบันทึก: 419289เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2011 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท