งานสืบเสาะและพินิจ


การสืบเสาะและพินิจ  เป็นกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติและภูมิหลังทางสังคม  รวมทั้งพฤติการณ์แห่งคดีของผู้กระทำผิด  แล้วนำข้อเท็จจริงที่ได้มาประมวล  วิเคราะห์  ทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับมาตรการการลงโทษที่เหมาะสม  การแก้ไขฟื้นฟูที่เหมาะสมกับผู้กระทำผิดแต่ละราย  โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมเป็นสำคัญ

          ปัจจุบันกรมคุมประพฤติมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสืบเสาะและพินิจผู้กระทำผิดใน 2 ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม คือ

          1.  ขั้นตอนของศาล  :  ก่อนการพิจารณาคดี  เป็นการสืบเสาะและพินิจจำเลยตามคำสั่งศาล  เพื่อศาลจักได้ใช้ข้อมูลและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติในรายงานสืบเสาะและพินิจประกอบดุลพินิจในการพิพากษา  เพื่อลงโทษจำเลยแต่ละรายอย่างเหมาะสมต่อไป

          2.  ขั้นตอนของราชทัณฑ์  : หลังการถูกลงโทษจำคุกมาแล้วระยะหนึ่งในกรณีที่นักโทษเด็ดขาดต้องโทษในเรือนจำแล้วไม่น้อยกว่า  1 ใน 3 ของกำหนดโทษตามหมายศาลในขณะนั้น  หรือไม่น้อยกว่า  10  ปี  ในกรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตและสามารถพิสูจน์ได้ว่า  เขาเหล่านั้นสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสังคม  จะได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษ ในขั้นตอนนี้พนักงานคุมประพฤติต้องสืบเสาะข้อมูลทางสังคม    เพื่อประกอบดุลพินิจของคณะกรรมการพักการลงโทษว่า  ผู้ต้องขังรายนั้น ๆ สมควรได้รับการพักการลงโทษหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4190เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2005 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท