การบริหารการเปลี่ยนแปลง


การบริหารการเปลี่ยนแปลง

                                     การบริหารการเปลี่ยนแปลง 

                                    (Change   Management )

            เนื่องจากองค์การแต่ละองค์การย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  สภาพแวดล้อม บริบท สิ่งแวดล้อมต่างๆ  ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย  ดังนั้นเพื่อความสอดคล้องเหมาะสม  และความอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมใหม่  องค์การจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย   ซึ่งรายละเอียดของการการบริหารในการเปลี่ยนแปลง  ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

 1.  สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

         ส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ  ดังนี้

        1.1    องค์การมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง   

        เมื่อมีการควบรวมองค์การหรือหน่วยงานในองค์การ  หรือลดขนาดองค์การ  ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การจะทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงส่วนการทำงานที่อาจซ้ำซ้อน 

        1.2    องค์การมีการเพิ่มบทบาทหน้าที่และบริการใหม่

        บทบาทหน้าที่อื่นที่เพิ่มเข้ามาหรือบริการใหม่จากที่กำหนดเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม  ทำให้จำเป็นต้องมีส่วนงานใหม่หรือกระบวนการทำงานใหม่  บุคลากรต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  ที่เกี่ยวเนื่องกับการนำเสนอบริการใหม่ให้กับประชาชนผู้รับบริการ

        1.3    องค์การมีการเปลี่ยนผู้บริหาร  

        ผู้บริหารคนใหม่ขององค์การมักนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์การ

        1.4    องค์การต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี 

        เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กระบวนการทำงานเปลี่ยนรูปแบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  การนำเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาใช้  จะทำให้องค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารการทำงานและการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

2.  ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อองค์การ

       การเปลี่ยนแปลงใดๆ  ในองค์การ  จะทำให้มีผลกระทบต่อองค์การในสี่ด้านดังนี้

      2.1    เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ  (Structural  Change)

      2.2  เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องบุคลากรในองค์การ (People   Change)

      2.3  เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Process  Change)

      2.4  เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวันธรรมองค์การ  (Cultural  Change)

 3.  ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง

      ในการที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงใดๆ  ภายในองค์การ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรที่จะมองหาผู้สนับสนุนที่จะเข้ามาทำงานในหน้าที่หลักทั้งสี่ประการ  ดังนี้

      3.1    ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง  (Change  Sponsor)

ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง  หมายถึง  ผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลง   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดการสนับสนุนของผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง    ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้บทบาทของผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง  มีดังนี้

               1)  เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่ตนให้การสนับสนุนว่ามีความสำคัญอย่างไร  จะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง  และจะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

               2)  ทำงานร่วมกับคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลง  สื่อสารและช่วยในการแก้ไขปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น

               3)  เป็นประธานในการเปลี่ยนแปลง  มีภาวะผู้นำสูง

     3.2  ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Change  Advocate) 

            ู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง  หมายถึง  ผู้ที่ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการสื่อสารความสำคัญ  และเนื้อหาของการเปลี่ยนแปลงนั้นไปยังส่วนต่างๆ  ขององค์การ  เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีที่จะช่วยเพิ่มแรงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง  รวมทั้งช่วยในการับข้อมูลและข้อคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและสื่อสารกลับไปให้ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงทราบ  ดังนั้น  Change  Advocate  จะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

              1)  เข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้น

              2)  เป็นผู้ที่คนในองค์การรับฟัง น่าเชื่อถือ

              3)  มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจคนฟัง

              4)  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

     3.3  ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Change  Agent) 

     ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง  หมายถึง  ผู้ที่วางแผนและทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้น เป็นผู้มีบทบาทดำเนินการต่างๆ  ที่เป็นไปเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลสำเร็จ  รวมถึงการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ  ของการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ดำเนินไปได้ด้วยดี  สอดคล้องกัน  เป็นผู้ประสานงาน  และตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง  ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและผู้ถูกเปลี่ยนแปลงจะเห็นว่าผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นเสมือนคนกลางที่ต้องทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งการวางแผน  ปรับแผน  และดำเนินการ  สิ่งที่ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงต้องมี  ดังนี้

             1) เข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้น

             2) มีความสามารถในการวางแผน  บริหารจัดการเปลี่ยนแปลงนั้นในด้านต่างๆ 

            3) ทำงานร่วมกับผู้อื่นในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหา

             4) มีความสามารถในการประสานงานทั้งกับระดับบนและระดับล่าง

     3.4    ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Change  Target)

     ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง  หมายถึง  ผู้ที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในการ

เปลี่ยนแปลงครั้งนี้  เช่น  อาจต้องเปลี่ยนตำแหน่งงาน  หน้าที่รับผิดชอบ  เปลี่ยนกระบวนการในการทำงาน  หรือเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน 

     จะเห็นได้ว่าในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งจำเป็นที่ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงจะต้องทำความเข้าใจกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง  รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง  จัดหาอัตรากำลังคนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องกัน  และประสานสัมพันธ์ให้องค์การดำเนินงานไปด้วยดี 

                                         ............................

                                           อ้างอิง

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สพฐ,  กพร. (2553) .  การบริหารการ

      เปลี่ยนแปลง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



 

หมายเลขบันทึก: 417733เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2011 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท