การมีส่วนร่วม


การมีส่วนร่วม

                                        การมีส่วนร่วม

         การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริหารจัดการของภาครัฐมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จ  ความร่วมมือ  ร่วมใจ  ของทุกฝ่าย  การนำทฤษฎีของการมีส่วนร่วมไปสู่การปฏิบัติ  สามารถแบ่งเป็นระดับได้ดังนี้

1.       ระดับกระทรวง  การมีส่วนร่วมแบ่งออกเป็น  5  ขั้นตอน  ดังนี้

         1.1    แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นสาธารณะ

(Participatory  Govermence  in  Public  Issue  Formulation)

        การกำหนดประเด็นสาธารณะ  (Public  Issue)  หมายถึง  ประเด็นปัญหา  ประเด็นการพัฒนาที่รวมประเด็นสาธารณะที่สำคัญ  3  เรื่อง  ด้วยกัน  ดังนี้

                1)  ประเด็นที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกับปัญหาหรือเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่  ความเชื่อพื้นฐานของสังคม  และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมโดยส่วนรวม

                2)   ประเด็นหรือเรื่องที่สนใจของรัฐบาล  สังคม  ที่ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขอบข่ายประเด็น  (Scope  of  Issues)  หรือแนวทางดำเนินการ (Measures)  ตลอดจนผลกระทบ (Impacts)  อย่างกว้างขวาง

         1.2  แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง (Participatory  Govermance in  Strategy  Formulation)

         สำนักงาน กพร.  ได้เสนอแผนยุทธศาสตร์ของระบบราชการไทย  ประกอบด้วยผลสำเร็จ  4  มิติ  ดังนี้

               1)  มิติด้านประสิทธิผล   โดยมุ่งเน้นไปที่ผลงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  เพื่อสร้างมูลค่าหรือคุณค่า (Value  Creation)  ในรูปของประโยชน์สาธารณะ

               2)  มิติด้านคุณภาพบริการ  โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจ  (Satisfaction)  ของผู้รับบริการและความไว้วางใจ (Trust)  ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

               3)  มิติด้านประสิทธิภาพ  โดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถของส่วนราชการในการใช้ทรัพยากรทั้งงบประมาณและรอบเวลาการดำเนินงานที่ลดลง  เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการและสร้างความไว้วางใจจากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

               4)  มิติการพัฒนาองค์การ  โดยสร้างความพร้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic  Readiness )  ด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรและทุนมนุษย์ (Human  Competency  and  Capital)  การจัดการความรู้เพื่อให้เกิดทุนข้อมูลสารสนเทศ (Information  Capital)  ตลอดจนเสริมสร้างค่านิยมเพื่อเป็นรากฐานของวัฒนธรรมองค์กร (Organization  Capital)   ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้  เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนมิติประสิทธิภาพ  และมิติประสิทธิภาพจะเป็นมิติที่ส่งเสริมมิติคุณภาพการบริการและมิติประสิทธิผล

        1.3   แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายของกระทรวง (Participatory  Govenance  in  Law  and  Rule  Making)

        การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมในกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายของกระทรวงหรือหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ไม่ว่าเป็นการร่างกฎหมายใหม่  ปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้ว  โดยเฉพาะร่างกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน   การมีส่วนร่วมดังกล่าวควรมีการดำเนินการให้ครบวงจร  ตั้งแต่การให้ข้อมูลแก่ประชาชน  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  การให้ประชาชนกำหนดประเด็นขอบเขตของกฎหมาย  และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย  โดยกระทรวงหรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องนำข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าสู่การพิจารณาในการจัดทำร่างกฎหมาย  รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง โปร่งใส

        1.4  แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงในระดับเขตพื้นที (Participatiory  Governace  in Resource  Allocating  Decision) 

         ในการกำหนดแนวทางตามขั้นตอนที่ 4  นี้   การกำหนดแผนยุทธศาสตร์กระทรวงมักประสบปัญหาและอุปสรรคในการนำแผนยุทธศาตร์ไปสู่การบัติ  ดังนี้

               1)  โครงการในระดับพื้นที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์ของแผนยุทธศาสตร์  4  ปี  และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกระทรวง  มักมีขั้นตอนการดำเนินงานและจัดสรรทรัพยากรลงในแต่ละพื้นที่แบบถัวเฉลี่ยเท่ากันทั่วประเทศ  โดยไม่ได้พิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของพื้นที่ที่มีภูมิสังคมแตกต่างกัน

               2)  ผลพวกจากข้อ  1)  ทำให้โครงการในระดับพื้นที่ของระทรวงหลายโครงการไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้

               3)  ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของโครงการในระดับพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการ ทำให้การเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น  การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการและรับประโยชน์อยู่ในระดับต่ำหรือแทบไม่มี   การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินจากเงินภาษีของประชาชน  ไม่ได้เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางแต่ใช้ความคิดแบบรวมศูนย์ของราชการส่วนกลาง

               4)  ในระดับพื้นที่  โครงการตามกลยุทธของแผนปฏิบัติราชการประจำปีระดับกระทรวงเกือบทุกกระทรวงยังไม่สอดคล้องกัน

       1.5    แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบและการจัดบริการสาธารณฟของกระทรวง (Participatory  Governance  in  Designing  and  Providing  Public  Services) 

       รัฐเน้นการออกแบบและการจัดการสาธารณะ  โดยให้บริการสาธารณะ (Public  Services)  ซึ่งรวมถึงการบริการที่หน่วยงานภาครัฐจัดทำให้ประชาชน  ไม่ว่าจะเป็นการจัดโดยหน่วยงานภาครัฐเอง  หรือจัดบริการโดยให้องค์การอื่นๆ  เช่น  องค์การชุมชน  หรือองค์การไม่แสวงหากำไร  รวมทั้งหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชน ฯลฯ

       บริการสาธารณะนี้เป็นบริการที่ไม่สามารถจัดโดยผ่านกลไกตลาดได้  และเป็นบริการที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม  ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ  รักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อม  ความมั่นคงปลอดภัย  และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ  ตลอดทั้งการดูแลส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีของประชาชน  การคุ้มครองสิทธิของประชาชน  การดูแลผู้ด้อยโอกาสในสังคม ฯลฯ  ซึ่งภารกิจในการจัดบริการเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงต่างๆ 

2.  กระบวนการการมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษา

    กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษา  มี  4  ขั้นตอนหลัก  ดังนี้

     2.1    มีส่วนร่วมปรึกษาหารือและวางแผนงาน 

ประกอบด้วย  การรับรู้  เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนและร่วมวางแผนกิจกรรม

     2.2    มีส่วนร่วมในการปฏิบัติและดำเนินการ

ประกอบด้วยการเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ  และการตัดสินใจ

     2.3    มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลงาน

เป็นการตรวจติดตามถึงผลงานที่ได้ทำ  หรือปฏิบัติไปแล้วเพื่อหาข้อสรุป

     2.4    มีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์

เป็นการมีส่วนร่วมในการจัดสรรประโยชน์  ผลของกิจกรรม  หรือผลของการตัดสินใจ

ที่เกิดขึ้น

 3.  เทคนิคการมีส่วนร่วม

      การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น  มีเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ  ที่สามารถเลือกใช้เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องประเด็น  เวลา สถานการณ์  ทรัพยากรที่มีจำกัด  หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและต่างสถานะ  ต่างสภาพกัน  การให้ข้อมูลหรือการรับฟังจากประชาชนต้องอาศัยรูปแบบที่ต่างกัน  ซึ่งสามารถแบ่งเป็น  3  กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

      3.1    เทคนิคการมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ 

ได้แก่เอกสาร  ข้อเท็จริง (Fact  Sheet)  จดหมายข่าว  (Newsletter)  รายงานการศึกษา(Report  Study)  การจัดทำวีดีทัศน์ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร  (New  Repositories)  การแถลงข่าว(New  Release)  การสัมมนาทางวิชาการให้กับสื่อมวลชน  การสื่อสารผ่านวิทยุกระจายเสียง  หอกระจายข่าวชุมชน (Village News  Announcement)  ทัศนศึกษาและเยี่ยมชมโครงการ (Facility  Tour/ Site  Visit)  การนำเสนอ(Presentation)  และการชี้แจงในการประชุมของทางราชการ

      3.2    เทคนิคการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 

      ได้แก่  การสัมภาษณ์รายบุคคล  (Community  Interview)  การสนทนากลุ่มย่อย (Fucus Group )  การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์  (Interactive  Website)  การสำรวจควาคิดเห็น (Surveys  and  Telephone  Polls)  สายด่วนสายตรง (Hot  Line)  และการปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการ (ประชาพิจารณ์)

       3.3    เทคนิคการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ 

      ได้แก่  เวทีสาธารณะ  (Public  Meeting/Forum)  การพบประแบบไม่เป็นทางการ

(Open  House/Informal  Meeting)  การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนแก่ชุมชน  (Community  Outreach  Service)  การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)  และคณะที่ปรึกษา (Advisory  Group)

       จะเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมของทุกภาส่วนในระดับต่างๆ  นั้น  มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งนักต่อการสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย 

    

                                        .....................................

 

                                                อ้างอิง

คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553).  การสร้างเครือข่ายและการมี

       ส่วนร่วม. กรุงเทพฯ:  กพร.

 

คำสำคัญ (Tags): #การมีส่วนร่วม
หมายเลขบันทึก: 417508เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2010 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท