GotoKnow

มหาวิทยาลัยจัดการความรู้เพื่อชุมชน(6)

นาย ภีม ภคเมธาวี
เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2548 11:29 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:59 น. ()
รับใช้ชุมชน เรียนรู้จากกันและกัน

ผมเสนอวิธีการเริ่มต้นซึ่งอ.ไพบูลย์เห็นด้วยคือ การประชุมระดมความคิดกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับนโยบาย ผู้บริหาร และผู้สนใจแนวคิดนี้ ที่คิดไว้มีอ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อ.วิจารณ์ พานิช อธิการบดี รองฯฝ่ายวิชาการ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ อ.อุทัย ดุลยเกษม อ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ครูชบ ยอดแก้ว น้าประยงค์ รณรงค์           คุณโกเมศร์ ทองบุญชู เป็นต้น
ถ้าพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ในม.วลัยลักษณ์ของผมแล้ว เป็นการคิดนอกเหนือภารกิจ แต่ถ้าพิจารณาจากภารกิจของงานที่ผมรับผิดชอบก็เป็นกลยุทธหนึ่งที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพิ่มทุนทางปัญญาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ในภาควิชาการระดับอุดมศึกษา สอดคล้องตามปณิธานของมหาวิทยาลัย "เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล"และคำขวัญของอธิการบดี "Active Learning Serving Communities" เราต้องช่วยกันจัดการความรู้ให้มหาวิทยาลัยลงมารับใช้ชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้จากกันและกันให้มากยิ่งๆขึ้น


ความเห็น

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

Active Learnning Serving Communities คำคมที่คมคาย มีอยู่ไม่มากมายนักในสังคม ที่สถาบันการศึกษา องค์กรประสิทธิประสาทวิชา จะกล้าลงมารับใช้สังคม และชุมชนฐานล่างอย่างจริงจัง และจริงใจ  จะชักช้าอยู่ใย อยากเห็นวลัยลักษณ์เข้าถึงชุมชนจริง ๆ  และรับใช้ชุมชน  ขอเป็นเพื่อนร่วมทางอีกหนึ่งแรงที่จะร่วมขบวนพลังขับเคลื่อนให้เพื่อนสมเจตจำนงค์หมาย ครับผม!

 

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

"ม.วลัยลักษณ์" เกิดขึ้นได้เพราะเสียงเรียกร้องของชาวนครฯ
หากไม่มีชาวบ้าน ชาวเมืองนครฯ ก็คงไม่มี "ม.วลัยลัษณ์" ในวันนี้

ผมขอเป็นกำลังใจให้อีกคนนึงนะครับ....


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย