การสอนคณิตศาสตร์


การสอนคณิตศาสตร์ มีหลายวิธีดังนี้

        การสอนคณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จคือ  การสามารถให้นักเรียนมองเห็นว่าคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่มีความหมาย ไม่ใช่กระบวนการที่ประกอบด้วยทฤษฎีบท หลักการพิสูจน์ หรือการคิดคำนวณด้วยตัวเอง ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันนั้น กิจกรรมการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้โดยครูเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนการสอน    ดังนั้นวิธีการสอนของครูจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และเข้าใจในมโนมติของ    เนื้อหาวิชานั้น ๆ มีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับหลักการสอนคณิตศาสตร์หลายท่าน ดังนี้

     สมจิต ชีวปรีชา (2529: 11-16)ได้กำหนดหลักการสอนคณิตศาสตร์ปัจจุบันไว้หลายประการ คือ

1.  จัดเนื้อหาโครงสร้างของคณิตศาสตร์ให้ต่อเนื่องกันตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับ

มัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย

2.   ควรใช้สื่อการสอน ที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาคณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น 

รวดเร็วและภายหลังสอนเนื้อหาควรใช้วิธีอุปนัยในการสรุปหลักเกณฑ์และบทเรียน แล้วนำความรู้ไปใช้ด้วย

3.   จัดการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ถาวรเมื่อผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องแล้วจึงทำแบบฝึกหัด

คำนวณ

บุญทัน อยู่ชมบุญ (2529: 24-25) ได้กล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

1.   การสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของเด็ก คือ  พร้อมในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา

และความพร้อมในแง่ความรู้พื้นฐานที่จะมาต่อเนื่องกับความรู้ใหม่ โดยครูต้องการทบทวน  ความรู้เดิมก่อน เพื่อให้ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ต่อเนื่องกันจะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนได้ดี

2.   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องจัดให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ

และความสามารถของเด็ก

3.    ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้    

นักเรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เพื่อจะช่วยให้นักเรียนมีความพร้อมตามวัยและความสามารถของแต่ละคน

4.   วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาระบบที่ต้องเรียนไปตามลำดับขั้น การสอนเพื่อสร้างความเข้าใจ

ในระยะแรกต้องเป็นประสบการณ์ที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเมื่อมีโอกาส

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ ( 2533: 65;อ้างอิงมาจาก Nerboving and Klausmeier. : 238-241) และ

 ดวงเดือน อ่อนน่วม (2535: 14-16) กล่าวถึงวิธีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในทำนองเดียวกัน ซึ่งสามารถสรุปได้    4 วิธี คือ

1.   วิธีการสอนแบบค้นพบ (Discovery  Teaching)  เป็นวิธีสอนที่เน้นให้นักเรียนมีอิสระที่จะ

ซักถามเลือกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อตอบคำถามโดยไม่จำเป็นต้องมีครูสอน จุดเด่นวิธีนี้ก็คือก่อให้เกิดแรงจูงใจสูงมาก

2.   วิธีการสอนโดยการอธิบาย   (Expository Teaching )  เป็นวิธีสอนที่ครูเป็นผู้ควบคุมการ

สอนมุ่งป้อนความรู้ในเรื่องของความคิดรวบยอดหรือทักษะ โดยที่ครูจะอธิบายว่าจะค้นหาคำตอบ

ได้อย่างไร และครูเป็นผู้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

3.    วิธีสอนแบบค้นพบโดยตรง (Directed   Discovery  Teaching)  เป็นวิธีสอนที่ครูเป็นผู้

อำนวยความสะดวก โดยจัดโครงสร้างและลำดับของประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่นักเรียน ครูอาจสร้างปัญหาต่าง ๆ ด้วยกลวิธีต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้นักเรียนพัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหาของตัวเอง

4.  วิธีผสมผสาน (Combination  Method)  เป็นวิธีที่ผสมผสาน  วิธีการสอนทั้ง  3  วิธี ข้างต้น

ฉะนั้นการสอนจะใช้วิธีใดสอนนั้นขึ้นกับลักษณะของเนื้อหาวิชาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระดับพัฒนาการและรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน บางครั้งในการสอนบทเรียนหนึ่ง ๆ อาจใช้วิธีสอนหลายๆ วิธีผสมผสานก็ได้

จากหลักการสอนคณิตศาสตร์ดังกล่าว พอสรุปได้ว่า ในการสอนคณิตศาสตร์ควรพิจารณาถึง

ความแตกต่างระหว่างบุคคล จะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนและจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับระดับชั้นเรียน รวมถึงควรนำสื่อการสอนมาช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์และนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 415971เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2010 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท