ถามตอบจากการดูงานของน้องนักศึกษาพยาบาลจากวพ.บรมราชชนนีชัยนาท


เราลองทำในส่วนที่ทำได้ก่อนไหม ฝันให้ไกลๆ แต่ต้องเริ่มจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำได้ง่ายๆก่อน ให้เห็นความสำเร็จ เก็บและจดจำความสำเร็จนั้นไว้ชื่นชม และเป็นปิติสุขกับตนเอง เพื่อเป็นกำลังใจในการทำสิ่งใหญ่ๆที่ยากกว่า

การมาเยี่ยมเยียน หาประสบการณ์ทางสูติฯและจิตฯ ของน้องๆจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท เมื่อวันที่ 12 -13 กันยายน 2548 มีคุณLinklingได้สรุปประเด็นสำคัญไว้ผมขอถือโอกาสนำมาเผยแพร่ต่อครับ
            เห็นน้องน้องครั้งแรกพวกเราทุกคนในโรงพยาบาลก็รู้สึกสดใสขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะนักศึกษาหรืออาจารย์ช่างดูสดใสไปซะหมด บวกกับความเรียบร้อย บุคลิกดีๆ First impression ที่ดีก็เกิดขึ้นค่ะ และด้วยความเต็มใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่น้องๆ( และอาจารย์ )เลือกโรงพยาบาลบ้านตากของเราเป็นแหล่งหาประสบการณ์ พี่ๆทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ไม่เก่า เอ้ย ไม่ใช่ศิษย์เก่า เลยจัดตารางให้เพียบ ทั้งในส่วนของการบรรยายวิชาการและภาคชุมชน แต่ขอบอกอีกครั้งนะคะว่าวิชาการน่ะน้องคงได้มาจากการเรียนการสอนในวิทยาลัยมากพอดูแล้ว คราวนี้มาลองดูการประยุกต์ใช้จริงในการปฏิบัติงานค่ะ น้องคงได้เรียนรู้เทคนิคหรือมุมมองแปลกๆ ไปใช้ในชีวิตพยาบาลในภายภาคหน้านะคะ แล้วพบกันในฐานะ สมาชิกชมรมพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนนะจ๊ะ 

             ภาคการลงชุมชน น้องๆอาจไม่เห็นภาพพยาบาลผมเรียบแปล้ ลงไปกางผ้าปู หยิบของใช้จากกระเป๋าเยี่ยมออกมาเรียงอย่างเป็น Step พร้อมกับกล่าวแนะนำตัวและ.... อย่างมีขั้นตอน แต่สิ่งที่น้องๆได้สัมผัส นี่คืองานประจำของการลงชุมชนของพวกพี่ๆพยาบาล รพ.ชุมชน อาจดูหัว หูยุ่งๆ ท่าทางลุยๆ เข้าหาชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เราคุยกันคุ้นเคย กันเอง นี่เป็นเพราะเราศึกษาชุมชน รู้ถึงปัญหาแต่ละ case ว่าจริงๆ ไม่ได้มีเฉพาะด้านรักษา พยาบาลเท่านั้นที่เป็นปัญหาของเขา ความวิตกกังวลความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ การไม่เข้าใจกันในครอบครัว หรือค่านิยมความเชื่อล้วนแล้วแต่สร้างความเครียดให้ case เพราะฉะนั้น บทบาทของพยาบาลชุมชนจึงต้องวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับ case ให้ได้ เพื่อจะได้วางแผนป้องกันและรับมือได้อย่างเหมาะสม ( ภาษา HA ของ รพ.บ้านตาก เรียกว่า การค้นหาความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงค่ะ )ดังนั้น การเข้าไปช่วย support จิตใจ รับฟังปัญหา เป็นเพื่อนคู่ปรึกษา ช่วยคิดช่วยเสนอแนะ ถือว่าสำคัญมาก 
              กับการบริการหญิงตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด และการดูแลสุขภาพจิตทั้งใน โรงพยาบาลและในชุมชน น้องๆที่ยังมีข้อติดขัด ( Handy drive เต็ม ) ก็ติดต่อมาใหม่นะคะผ่านทาง Web board นี่แหละ พี่นาง พี่เงาะ พี่ปูและพี่อ๊อดยินดีจัดให้ค่ะ 
              เวลา 2 วันที่น้องๆมาเยี่ยมพวกเรา สร้างความประทับใจให้กับพี่ๆอย่างมาก ไม่เว้นแต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็ยังประทับใจใน นศ. พยาบาลชั้นปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านของความคิด มุมมอง การแสดงออก หรือระเบียบวินัย ล้วนน่าประทับใจค่ะ พี่จึงขอสรุปประเด็นคำถามที่ดีๆของน้องๆ และคำตอบเด็ดๆของผู้อำนวยการ ไว้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ผ่านมาทราบ ว่าเรา ( หมายถึงโรงพยาบาลและนักศึกษาพยาบาล) ได้อะไรจากการมา Share ประสบการณ์และความคิดเห็นกันค่ะ

              น้องคนน่ารัก : เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไรที่จะทำให้ ผู้ใหญ่เห็นด้วยกับความคิดและแนวทางการทำงานของเราคะ 
              ผู้อำนวยการ : ไม่มีความคิดใครเหมือนกันทั้งหมด แม้แต่คนที่รักกันมาก ( แน่ะ คำคม ) เราจึงต้องมีวิธีโน้มน้าว หรือใช้วิธีทำเป็นโครงการนำร่องก่อน นำเสนอผลงานแสดงเพื่อยืนยันความสำเร็จ การทำงานด้านสาธารณสุขถือเป็นการทำงานเชิงสังคม มักเห็นผลสำเร็จช้าและไม่สามารถวัดได้เป็นตัวเลข เพราะมีปัจจัยที่เข้ามาข้องเกี่ยวมาก และพฤติกรรมของคนต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน เพราะฉะนั้นเราต้องทำงานให้เต็มที่แต่อย่าหวังผล 100% เปรียบเป็นการวิ่ง ก็เป็นการวิ่งแบบมาราธอน ไม่ต้องวิ่งเร็ว แต่ต้องอึดและทน คือ วิ่งไปเรื่อย ไม่ท้อ ไม่หยุด ไม่หมดกำลังใจ  บางครั้งที่เราคิดสิ่งดีๆ ( วกเข้าเรื่อง เอ้ย วกเข้าคำถาม ) แต่อาจทำได้ไม่ทั้งหมด เนื่งจากมีความจำกัด  เราลองทำในส่วนที่ทำได้ก่อนไหม ฝันให้ไกลๆ แต่ต้องเริ่มจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำได้ง่ายๆก่อน ให้เห็นความสำเร็จ เก็บและจดจำความสำเร็จนั้นไว้ชื่นชม และเป็นปิติสุขกับตนเอง เพื่อเป็นกำลังใจในการทำสิ่งใหญ่ๆที่ยากกว่า

               น้องช่างคิด : ตลอดเวลา 2 วันขอชื่นชม รพ.บ้านตากที่มีหัวหน้าทีมดี ลูกทีมที่ดี ผู้อำนวยการมีวิธีบริหารอย่างไร ให้งานบรรลุตามนโยบายคะ 
               ผู้อำนวยการ : ชื่นชมคำถามและผู้ถาม วิสัยทัศน์ผู้บริหารเลยนะเนี่ย ตอบนะครับ การทำงานถ้าเราได้คิด + วางแผนร่วมกัน + ประเมินผลและมีส่วนในการตัดสินใจร่วมกัน การมี participate and empowerment จะทำให้ เจ้าหน้าที่รู้สึกสนุก และอีกอย่างที่ทำให้ทำงานสำเร็จด้วยดี มี 3 หลัก คือ 1. ทำให้(งาน)ง่าย 2. ทำให้รู้ (งาน) และ 3. ทำให้รัก (งาน) รักที่จะทำ ทำด้วยใจ หรือมุ่งมั่นทำ (commitment ) และสิ่งที่กระตุ้นให้ จนท.อยากทำงานคือส่งเสริมให้มีภาวะผู้นำด้วยครับ

               น้องมีอุดมการณ์ : ทำอย่างไรให้นักศึกษาพยาบาล กลับไปทำงานที่ถิ่นกำเนิดครับ 
               ผู้อำนวยการ : ไม่มีที่ไหน อบอุ่นเท่าบ้านเราหรอกครับ น้องๆ ลองเข้ามาอ่านหนังสือที่หมอเขียน เรื่องหมอใหม่กับโรงพยาบาลชุมชน ใน web รพ.บ้านตาก จะให้ข้อคิดเรื่องประสบการณ์ในชีวิต ประสบการณ์ที่มีค่าในช่วง 3 ปีที่จบมาเป็นหมอโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งไม่สามารถย้อนกลับมาได้และหาประสบการณ์เช่นนี้ได้จากที่ไหนอีก หรือเรื่องในช่วงวัยการเป็นนักศึกษาในหมาวิทยาลัย การทำกิจกรรมต่างๆในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องไร้สาระเลย สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นครู ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นห้องเรียน อาจกระตุ้นให้ อยากทำงาน รพ.ชุมชน(แถวบ้าน)ก็ได้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 4157เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2005 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท