เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล : เปลี่ยนชุด


การสื่อสารกับผู้ป่วย เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้และรับบริการได้

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องเล่าจากโรงพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติงานตามโรงพยาบาลต่างๆมาเล่าให้ผมฟัง ดังต่อไปนี้ ครับ

 

เปลี่ยนชุด 1

บริเวณหน้าห้องเอกซเรย์ มีนายทหารมาขอรับบริการ ถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ถ่ายภาพเอกซเรย์

  

เจ้าหน้าที่ประจำห้องเอกซเรย์คนหนึ่ง ได้บอกให้นายทหารคนนั้น เปลี่ยนชุด โดยถอดชุดเครื่องแบบทหารออก แล้วใส่ชุดที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ และทหารคนนั้น ได้ทำตามคำแนะนำพร้อมกับแขวนชุดทหารของตัวเองไว้ในห้องเปลี่ยนชุดดังกล่าว  แล้วเข้าไปรับบริการในห้องถ่ายภาพเอกซเรย์

...

 

ระหว่างที่นายทหารกำลังรับบริการถ่ายภาพเอกซเรย์อยู่นั้น

 

...

ก็มีผู้รับบริการอีกคนหนึ่ง เข้ามาติดต่อขอรับบริการถ่ายภาพเอกซเรย์

...

 

เจ้าหน้าที่ประจำห้องตรวจอีกคนหนึ่ง ก็บอกให้ผู้รับบริการ เปลี่ยนชุดเช่นเดียวกัน ในคำบอกหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ที่บอกให้ผู้รับบริการรับทราบ คือ ให้ถอดเสื้อผ้าของตัวเองออก แล้วเปลี่ยนชุด ให้ใส่ชุดสีเขียว ในห้องเปลี่ยนชุดนะครับ

 

 

 

 

 

ซึ่งผู้รับบริการอีกคน ก็เข้าไปเปลี่ยนชุดในห้องเปลี่ยนชุดเดียวกับนายทหารคนนั้น และ... ผู้รับบริการก็... สวมชุดทหาร ที่แขวนไว้ออกมา (นึกว่าชุดทหาร คือ ชุดที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้) แทนที่จะสวมชุดที่โรงพยาบาลวางไว้

 

สาเหตุ เพราะว่า ชุดนั้น(ชุดทหาร) เป็น ชุดสีเขียว เหมือนกัน ตามคำบอกของเจ้าหน้าที่

 

เจ้าหน้าที่คนที่บอกให้เปลี่ยนชุด ก็.....

 

 

 

เปลี่ยนชุด 2 

คล้ายกันเรื่อง เปลี่ยนชุด 1 แต่รายนี้ เจ้าหน้าที่บอกผู้รับบริการว่า...

ให้ถอดเสื้อและถอดการเกงออก เหลือแต่กางเกงในไว้ ไม่ต้องถอดออก แล้วใส่เสื้อของโรงพยาบาลออกมา 

ปรากฎว่า... ผู้รับบริการสวมชุด... ดังภาพออกมา

เนื่องจากชุดของโรงพยาบาลนี้เป็นชุดแบบแยกชิ้นเสื้อและกางเกง

เนื่องจาก... ผู้รับบริการเข้าใจว่า ให้สวมเสื้อและไม่ต้องถอดกางเกงใน

 

 

เจ้าหน้าที่ ผู้ให้คำแนะนำผู้รับบริการ ก็....

 

 

สรุป : การสื่อสารกับผู้ป่วย เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน การรับฟังที่ไม่ชัดเจน อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาด บางครั้งก็ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้และรับบริการได้

 

ประสบการณ์ของผู้ให้และผู้รับบริการ มีความแตกต่างกัน การสื่อสารแบบเดียวกัน คำพูดแบบเดียวกัน บางครั้งก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่แตกต่างกันได้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 415533เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2010 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มีประสบการณ์คล้ายๆครับ

น้องรังสีผู้หญิง เป็นคนที่พูดเร็ว เสียงนุ่มสุภาพ บอกให้ผู้ป่วยสูงอายุหญิง เอกซเรย์ช่องท้อง ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าใส่ ถอดเสื้อชั้นนอกชั้นในและกางเกงออกให้หมดแล้วใส่ชุดคลุมยาวออกมา เสร็จแล้วให้ขึ้นไปนอนรอบนเตียงเอกซเรย์ เจ้าหน้าที่ก็ไปเตรียมอุปกรณ์ พอกลับมาในห้อง ปรากฏว่า ผู้ป่วยนอนบนเตียงโดยใส่เสื้อคลุม ตัวสั้น นอนรออยู่ ในสภาพที่ไม่เหมาะสม ถอดหมดไม่เหลือแม้นแต่กางเกงชั้นใน เขาจึงให้เข้าไปเปลี่ยนใหม่ สาเหตุจากการสื่อสารเช่นกันครับ ผู้ป่วยได้ยินว่าให้ใส่เสื้อคลุมกาวน์(เหมือนเสื้อกาวน์) ในตู้ออกมา โดยที่ไม่ได้ดูขนาดความยาวของเสื้อซึ่งใส่ตู้แขวนแยกไว้ในตู้เดียวกัน โชคดีที่ผู้ป่วยยอมรับ มิฉนั้นอาจเป็นข่าวได้

ที่ดีควรอธิบายให้ชัดเจน

..มีเรื่องเข้าใจผิดบ่อยๆนะคะ

จนท.ซักประวัติตามฟอร์มซักประวัติก่อนฉีดสารทึบรังสี ตรวจIVP

เคยรับการตรวจแบบฉีดสี ดูการทำงานของไตมาก่อนหรือไม่ ยายตอบ...ไม่

เคยแพ้ยา อะไรไหม (เช่นอาการคัน มีผื่น แน่นหน้าอก) ยายตอบ..แพ้..ยาฆ่าหญ้า..เกือบตายแน๊..แกตอบ...

จนท..อึ้ง..ๆไปเลย

ผมว่าภายในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าน่าจะมีรูปติดแสดงด้วยนะครับ หรือไม่ก็มีตู้ไว้เก็บเสื้อผ้าเป็นของใครของมันเลย ( ผมยังเคยเข้าห้องน้ำผิดเลย )

เรียน ทุกท่าน

จากเรื่องเล่าและข้อเสนอแนะ จะเห็นได้ว่า นอกจากการสื่อสารด้วยคำพูด ด้วยการไม่ใช้คำพูด เช่น การมีภาพประกอบ มีป้ายบอก การแสดงวิธีการสวมใส่ การจัดองค์ประกอบห้องตรวจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ก็มีความสำคัญ ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง และหน่วยงาน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมมาเสนอแนะ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท