พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธ์ แก้ปัญหาสังคมได้จริงหรือ?


มุมมองของปัญหา

กฏหมายคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธ์  แก้ หรือสร้างปัญหาให้สังคม

     หลังจาก ครม. ชุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติผ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธ์ ทำให้เกิดคำถามจากกระแสสังคมว่า แก้ปัญหาการศึกษาได้จริงหรือ แก้ปัญหาสังคมได้จริงหรือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มี 29 มาตรา ทุกมาตรามีประโยชน์ต่อเยาวชน และสตรีเพศ พอสรุปบางมาตราสังเขป ดังนี้

     มาตรา 5 กล่าวถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธ์ สิทธิทางเพศ ข่าวสาร การได้รับคำปรึกษา และบริการ อย่างเหมาะสม มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน

     มาตรา 6 สถานบริการสาธารณสุข  ต้องจัดให้คำปรึกษา ด้านอนามัย การเจริญพันธ์ อย่างเหมาะสม มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

     มาตรา 7 ให้สถานศึกษาสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และวัยของผู้เรียน ตามคำแนะนำของคณะกรรมการ

     มาตรา 8  ข้อพึงปฏิบัติของผู้ให้คำปรึกษาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์

     มาตรา 9 ไม่ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือนายจ้างภาคเอกชน ขัดขวางการลาคลอดตามเวลากำหนด และส่งเสริมให้มารดาได้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา

     มาตรา 10 ไม่ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือนายจ้างภาคเอกชนล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนทางเพศ ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ลูกจ้าง

     มาตรา 11 หน่วยงานของรัฐ หรือสถานประกอบการมีหญิงมีครรภ์อยู่ ไม่พร้อมจะมีบุตร ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองไม่ได้  ให้หน่วยงานของรัฐ หรือสถานประกอบการสงเคราะห์ช่วยเหลือ และดูแลสุขภาพของบุตรและมารดาอย่างเหมาะสม

     มาตรา 12 สถานศึกษามีหญิงมีครรภ์อยู่ระหว่างศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษานั้น ต้องอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ศึกษาต่อในระหว่างตั้งครรภ์  และกลับไปศึกษาต่อภายหลังคลอดบุตรแล้วได้

     มาตรา 13 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถสอนและให้คำปรึกษาด้านอนามัยการเจริญพันธ์และเพศศึกามี คุณภาพ และมาตรฐานตามที่กรรมการกำหนด

ฯลฯ

     สิ่งที่น่ากังวลมากคือ มาตรา 12 สถานศึกษา  ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 คือโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา กศน. และอุดมศึกษา  การอนุญาตให้หญิงมีครรภ์(นักเรียน) หรือคลอดบุตรแล้ว มานั่งเรียนร่วมกับผู้อื่น จะเกิดอะไรขึ้น

     1. หากนักเรียน ป.5-6 หรือ ม.1- 6  ตั้งท้อง จะนั่งเรียนร่วมชั้นกับเพื่อนได้หรือ

     2. มีนักเรียนชั้น ป.5-6 หรือ ม.1-ม.6  มานั่งเรียนอยู่กำลังท้องโย้ย สวมชุดคลุม ความรู้สึกของสังคมเป็นอย่างไร

     3. กระทรวงศึกษาธิการต้องไปแก้กฎกระทรวงว่า ด้วยเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา

     4. หากมีนักเรียนท้อง8 เดือนร้อยละ30 ของโรงเรียน กิจกรรมลูกเสือจะจัดอย่างไร

     5. เมื่อนักเรียนคลอดแล้ว ไม่มีผู้ดูแลบุตรให้ ต้องนำมาเลี้ยงที่โรงเรียนนั่งเรียนหนังสือไปด้วย ลูกก็ร้อง คุณภาพการศึกษาจะดีขึ้นหรือ

     6. อย่าลืมว่า เด็กวัยรุ่น 13-17 ปี เป็นวัยที่อยากลอง อยากรู้ นึกภาพดูอะไรจะเกิดขึ้น เสมือนเป็นการเปิดช่องทางให้เยาวชนมีพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น

     7. หาก ร่างพรบ. ฉบับนี้ผ่านรัฐสภา ออกมาบังคับใช้ ปิดตานึกภาพดู จะมีนักเรียนชั้นประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษานุ่งชุดคลุมมาเรียนหนังสือกันมากมาย

     8. ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มาตรา 12 ยังไม่เหมาะสมกับนักเรียนไทย วัฒนธรรมไทย และเยาวชนของไทย เหมาะสมกับวัฒนธรรมตะวันตกมากกว่า

      ขอวิงวอนนักการศึกษาจริยธรรม ส.ส .ส.ว. ได้พิจารณามาตรา 12 นี้ให้รอบคอบด้วย

หมายเลขบันทึก: 415202เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2010 02:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยเหมือนกันแต่คิดว่าการทำให้โลกเจริญ ก็ต้องให้ถึงจุดเสื่อมมากก่อน แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้น

คงต้องค่อยๆ คุยกันครับ โดยเฉพาะมาตรา 11 และ 12

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท