สรุปผลการพัฒนาในแต่ละเครือข่าย ของNodeสิชล ปี 2553


ความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามเกณฑ์ PCA ของลูกโหนด(ลูกข่าย)ภาคใต้ตอนบน

1. CUP ท้ายเหมือง

-ประชุมกลุ่มสหวิชาชีพ

- CUP ท้ายเหมือง มี 10 PCUได้รับ On Top Payment 9 แห่ง

-PCU ใกล้รุ่ง ดำเนินงานคลินิกเบาหวานความดัน  รพ.สต.บางเตยได้รับรางวัลดีเด่น

- ในระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม 2553ที่ผ่านมา มีการลงเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงาน PCA โดยทีมเยี่ยมจาก สำนักประสาน รพ.สต.กระทรวงสาธารณสุข ได้แลกเปลี่ยนกับชุมชน ผู้พิการ ลงเยี่ยมบ้าน และเชิญทีม QRT จังหวัดมาสังเกตการณ์กิจกรรมที่ทำในวันแรก ได้นำเสนอ PCU  Profile  เชิญกลุ่มต่างๆในองค์กรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  นำทีมตรวจเยี่ยมลงเยี่ยมบ้าน  วันที่สอง นำทีมไปเยี่ยม CUP รพ.ท้ายเหมือง จัดเวที่แลกเปลี่ยนระหว่างทีมเยี่ยมกับทีมบริหาร  ทีมสนับสนุนของ CUP  ทีมผู้ปฏิบัติ

-พัฒนาศักยภาพของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิโดยการทำ Two – Ticks ตอนแรกเริ่มต้นก็มีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ผ่านไประยะหนึ่งก็เข้าที่ ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจและจำดำเนินโครงการนี้ต่อ

-จากการดำเนินงาน PCA ทำให้มีการเชื่อมโยงของเครือข่ายมากขึ้น มีการพัฒนาตนเองโดยการเรียนรู้จากบุคลากรที่มีประสบการณ์และมีความรู้ในเครือข่าย

สรุปการพัฒนา    CUP ท้ายเหมือง มีการพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะการใช้เครื่องมือ CQI มาจับ ทำให้ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี โดยการทำงานของ CUP ท้ายเหมือง   ในการทำงาน Primary Care ไม่ควรยึดติดกรอบที่มีอยู่มากเกินไป แต่ผู้ปฏิบัติงานควรมีความเข้าใจในคำว่า “Primary Care”

 

2. CUP อ่าวลึก

                ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน  “หนึ่งเดียวอยู่รอด สุดยอด PCU สู่เครือข่ายมหัศจรรย์” 

                -มีทันตแพทย์ลงตรวจสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มอายุ  เกินเป้าที่กระทรวงตั้งไว้

                -ระบบการติดตามเยี่ยมบ้านแบบครบวงจร

                -ประกวดเรื่องเล่า

                -การดูแลผู้สูงอายุ  ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง (เบาหวาน ความดัน) แบบครบวงจร บริการตรวจตา  ตรวจเท้า  การปรับเปลี่ยนพฤติการณ์  ตรวจ A1C

                -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็ง

                -จากการเปลี่ยนรูปแบบการจัดสรรเงินใหม่  ทำให้หน่วยงานต้องมีการปรับปรุงการทำงานและการพัฒนาบุคลากร  ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดี  ส่งพยาบาลวิชาชีพไปเรียนเวชปฏิบัติฯทุกสอ.  สภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับที่บริหารตนเองได้

 

 

3. CUP ฉวาง

                -ทำ PCA ในหมวด P, 3 และ 6 ส่งไปแล้วได้รับเงินโอนมา 50 %

                -กระบวนการ การนำองค์กรใช้กระบวนการทบทวนนโยบาย ทำแผนเชิงกลยุทธ์ของ สอ. ทำแผนของ CUP

                -จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู  นวัตกรรม  เรื่องเล่าในทุกๆเดือน

                -ทุก สอ. มีพยาบาลเวชปฏิบัติฯครบทุก  สอ.  แต่ยังไม่ได้ทำ Two – Tick  แต่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต

                -การพัฒนาบุคลากรโดยการให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าร่วมการอบรมตามสาขาวิชาชีพ

                -ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน PCA ของหน่วยบริการปฐมภูมิทุกหน่วย

                -การดูแลผู้ป่วย เน้นการทำงานแบบองค์รวมมากขึ้น

 

4. CUP หลังสวน

                -รับนโยบายการดำเนินงาน PCA จาก  สสจ.ชุมพร  จัดประชุมชี้แจงเครือข่าย 2 ครั้ง

                -ครั้งที่ 1ประเมินตนเองทั้งเครือข่าย  พบ ปัญหาอุปสรรคดังนี้  บุคลากรและทีมสหวิชาชีพมีไม่เพียงพอ, เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เกิดความเบื่อหน่ายในการทำงานเชิงคุณภาพ ,โครงสร้างการบริหารงานแยกเป็น 2 เครือข่าย คือ รพ.หลังสวน และ รพ.ปากน้ำหลังสวน ทำให้เกิดความแตกต่างในการเริ่มกระบวนการทำงาน,

                -ความก้าวหน้าเครือข่ายดูแลผู้ป่วย  มีทีมแพทย์และสหวิชาชีพสลับหมุนเวียนในการให้บริการที่ สอ.  ทุกเดือน  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทรายถึงการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

                -กระบวนการ KM  ได้เริ่มต้นด้วยการอบรม  ครู  ก  ให้เป็น  FAR ของ CUP จำนวน 8 คน ซึ่งจะมาเป็นแกนนำในการดำเนินงานการจัดการความรู้ระดับอำเภอต่อไป

                -พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง

                -นำเครื่องมือ IRBM  มาใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน  โดยยึดประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ  โรคและกลุ่มโรค   การเชื่อมโยงของระบบ HA+PCA  ทรัพยากรบุคคลและระบบสารสนเทศ  การเงินการคลัง  หลังจากใช้เครื่องมือ IRBM  ได้ผลดังนี้  ดำเนินงานใน 6 กลุ่มโรคหลัก  11 โรครอง ทั้งนี้  PCU ต้องดำเนินงานในโรคและกลุ่มโรคดังกล่าวนี้ด้วยตามบริบทของแต่ละพื้นที่  การทำงานต้องมีความสอดคล้องในแต่ละปัจจัย  เจ้าหน้าที่ทุกคนมีตัวชี้วัดในแต่ละงานที่ตนเองรับผิดชอบ  เกิด 18 Road  MAP เป็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน

 

5. CUP  กาญจนดิษฐ์

                -ข้อมูลทั่วไป มีประชากรประมาณ 100,000  คน  มี 13 ตำบล 117 หมู่บ้าน  อบต. 10 แห่ง  เทศบาล 4 แห่ง  PCU รพ. 1 แห่ง รพ.สต. 17 แห่ง 

                -จากการเข้ากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ครั้ง ซึ่งได้รับงบประมาณ จาก สปสช. 50 % โดยจักประชุมชี้แจงใน CUP 2 ครั้ง

                -สิ่งที่ CUP สนับสนุน คือ หน่วยทันตกรรม 2 แห่ง  ในปี 2554 อีก 1 แห่ง

                -ด้านการฟื้นฟูผู้พิการ  ดำเนินการไป 5 รพ.สต.  โดยการอบรมการดูแลผู้พิการแก่ อสม.

                -สิ่งที่จะทำในปี 2554 คือ การจัดการความรู้ในเครือข่าย  ทางเครือข่ายมีผู้ผ่านการอบรมครู ก  เพื่อเป็นแกนนำในการจัดการความรู้ต่อไป

                -ฝึกการใช้เรื่องเล่า การจัดการความรู้  และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับ CUP

 

6. CUP สิชล

                -การดำเนินงาน PCA ใช้กระบวนการของโรคมา,กระบวนการให้บริการ เป็นตัวเดินเรื่องเพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายเข้าใน Concept PCA ได้ง่ายขึ้น

                -การพัฒนางานและศักยภาพของบุคลากร โดยใช้กระบวนการ CQI,R2R, Two-Tick

                -การเยี่ยมบ้าน  ยึดหลักการดูแลแบบองค์รวม  การเสริมพลัง  สร้างนำซ่อม  เชื่อมโยงกับชุมชน  ใช้เครื่องมือในการเยี่ยมบ้านโดยใช้แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านที่เป็นรูปแบบเดียวกันทั้ง CUP 

เพื่อให้ข้อมูลมีความเชื่อมโยง ตรงประเด็นในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

                -กระบวนการทำ Two-Tickเป็นการทบทวนการทำหัตถการ  โดยใช้หลักการให้หน่วยปฐมภูมิเขียนหลักสูตรที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนำมาแชร์ร่วมกัน  หลังจากนั้นทารพ.จะคัดเลือกบุคคลที่สามารถสอนหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้มาเป็นผู้สอนและเป็นพี่เลี้ยง Tick แรก  เป็นการสอน  สาธิตให้ดู Tick สอง คือ การฝึกปฏิบัติ  โดยปีหนึ่งจะมีการฝึกทบทวน  2 ครั้ง

                การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานในชุมชน

                -การนำเสนอ CASE HHC  โดยทุกเดือนจะมีการประชุม PCA ระดับ CUP การบ้านที่ หน่วยบริการปฐมภูมิต้องทำเหมือนกันคือการนำเสนอผลการเยี่ยมบ้าน  เพื่อเป็นประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามบริบทของพื้นที่และเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน  โดยหลักการของการเยี่ยมบ้านที่เป็นข้อตกลงกันใน CUP คือการเยี่ยมบ้านนั้นต้องมอง และดูแลคนทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจิตวิญญาณ  มองถึงครอบครัวและบริบทแวดล้อมในชุมชนด้วย  โดยเน้นให้ชาวบ้านรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง (Self  Care)

                การนำเครื่องมือ 7 ชิ้นมาใช้

                - การนำแผนที่ชุมชนมาใช้เป็นชิ้นแรกเพื่อให้คนทำงานเข้าใจถึงชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้มองเห็น จุดเด่น จุดด้อย ในชุมชน สามารถดึงศักยภาพส่วนที่เด่นของชุมชน มาผลักดันให้เกิดงานด้านสุขภาพที่เริ่มต้นจากต้นทุนที่ชุมชนมีอยู่เดิม  มองหาจุดด้อยและเสริมพลังให้กับชุมชน จากการศึกษาชุมชนโดยใช้แผนที่ชุมชน สอ.ได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อนำข้อมูลต่างมาวาดเป็นแผนที่เดินดินร่วมกันที่ทำให้มองเห็นทุกมุมของชุมชน   และนำมาเสนอในวันประชุมประจำเดือน PCA

                สิ่งที่จะพัฒนาต่อไป

                -พัฒนากระบวนการ KM, การเขียนเรื่องเล่า, R2R, สุนทรียสนทนา

                -ดำเนินการ เครือข่ายNode สิชล ต่อไป และจะประสานเครือข่าย R2Rภาคใต้ ช่วยจัดการเรียนรู้เรื่อง R2R สำหรับเขตภาคใต้ตอนบน โดยใช้เครือข่าย PCA แห่งนี้เป็นฐานต่อไป

หมายเลขบันทึก: 414492เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บทเรียนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ

โครงการพัฒนาระบบคุณภาพบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award: PCA) ปี 2553

เครือข่ายNodeสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

แม่ข่าย (Node) สิชล ประกอบด้วย เครือข่าย 5 แห่งที่เป็นลูกข่ายในเขตภาคใต้ตอนบน ดังนี้

1) CUP ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

2) CUP อ่าวลึก จ.กระบี่

3) CUP หลังสวน จ.ชุมพร

4) CUP ท้ายเหมือง จ.พังงา

5) CUP กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏร์ธานี

อยากเห็นจังว่าแต่ละ พื้นที่ได้เรียนรู้อะไรซึ่งกันและกันบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท