ว่าด้วยโพชฌงค์๗


      และแล้วก็ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์ เอ๊ย เวลาอันสมควรเสียทีในการเขียนบันทึกที่ ๒  หลังจากที่ผลัดวันประกันพรุ่งมานาน  อ้าว... ไม่ใช่   ต้องบอกว่าหลักจากที่ได้ไปศึกษา (ด้วยการนั่งอ่าน นอนอ่าน เกือบๆจะตีลังกาอ่าน...........ฮา)  แหมๆ  ก็ด้วยภูมิธรรมระดับเตรียมอนุบาลอย่างเรา  แต่อาจารย์เล่นให้เขียนบันทึกว่าด้วยโพชฌงค์ ๗  นี่นะ  เฮ้อ...ขนาดอิทธิบาท๔  หนูยังจะไม่รอดเลยค่ะอาจารย์ขา  

     ว่าแล้วก็ต้องหาตัวช่วย   แอบเห็นว่าบนชั้นหนังสือของท่านพ่อ  มีหนังสือเล่มใหญ่มหึมาอยู่เล่มหนึ่งที่สันปกเขียนไว้ว่า  พุทธธรรม ของท่านพระเทพเวที   อืมๆ  น่าจะมีเรื่องนี้เขียนไว้นะ   หนังสือเล่มนี้เห็นมาตั้งแต่จำความได้   แต่ยายม่านไม่เคยคิดจะแตะต้องเลย  จนกระทั่งวันนี้แหละ  และนี่ก็คือสิ่งที่ยายม่านพอจะสรุปได้เกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗  ลองดูนะ

โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ โพชฌงค์นี่มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ

  1. สติ ความระลึกได้
  2. ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
  3. วิริยะ ความเพียร
  4. ปีติ ความอิ่มใจ
  5. ปัสสัทธิ ความสงบ
  6. สมาธิ จิตตั้งมั่น
  7. อุเบกขา ความวางเฉย

สรุปได้ว่า  ในทางปฏิบัติเมื่อเราได้เล่าเรียนฟังธรรมหรือคำสอนของท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณแล้ว  ปลีกกาย  ปลีกใจ  ได้โอกาสเหมาะ  ให้เรา

1. ยกเอาธรรมที่ได้ฟังหรือสิ่งที่ได้เล่าเรียนนั้นขึ้นมานึกทบทวน  หวนระลึก  จับเอามานึกคิดเป็นการเจริญสตินั่นเอง

2. เมื่อมีสติระลึกนึกคิดอยู่อย่างนั้น   ก็ใช้ปัญญาเลือกเฟ้น   ไตร่ตรอง  สอบสวนพิจารณาไปด้วย  เป็นการเจริญธรรมวิจัย

3. เมื่อใช้ปัญญาเลือกเฟ้น  ไตร่ตรอง  สอบสวนพิจารณา  ก็เป็นการได้ใช้ความเพียร  ยิ่งเลือกเฟ้นเห็นความ  เข้าใจ  ได้สาระคืบหน้า  ก็ยิ่งมีกำลังใจ  กระตือรือร้นแข็งขัน  เพียรพยายาม  ไม่ย่นย่อ  เป็นการเจริญวิริยะ

4. พร้อมกับที่ระดมความเพียร  เอาจริงเอาจัง  มีกำลังใจเข้มแข็งรุดหน้า  ก็เกิดปิติ  เป็นการเจริญปิติ

5. เมื่อใจปิติ ทั้งกายทั้งใจย่อมผ่อนคลายสงบ  เกิดกายปัสสัทธี  และจิตตปัสสัทธิ  เป็นการเจริญปัสสัทธิ

6. เมื่อกายผ่อนคลายสงบ  มีความสุข  จิตย่อมตั้งมั่น(เป็นสมาธิ) เป็นการเจริญสมาธิ

7. เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่กับงานของมัน  หรือทำกิจของมันได้ดีแล้ว  ใจก้เรียบเข้าที่  เพียงแต่วางทีเฉยดูไปหรือนิ่งดูไปให้ดี  เมื่อปฏิบัติเช่นนี้  ก็เป็นการเจริญอุเบกขา

     เมื่อดำเนินไปตามลำดับอย่างที่กล่าวมาข้างต้น  ก็จะช่วยนำไปสู่วิชชาและวิมุตติในที่สุดนันเอง

     เป็นอย่างไรบ้างคะ   หากเพื่อนๆมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมก็เล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 414441เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใช้แล้วจ้ะ ต้องขอบคุณอาจารย์และพระอาจารย์อย่างมาก ที่ทำให้พวกเราได้ศึกษาและเรียนรู้ธรรมะเพิ่มขึ้น การได้เรียนรู้เรื่องธรรมะเหมือนเรามีความสุขมากขึ้นด้วย การนำหลักโพชฌงค์มาใช้ในการดำเนินชีวิตย่อมเกิดผลดีเสมอ

สวัสดีค่ะ ม่านฟ้า

ขนาดนั่งอ่าน นอนอ่านเรื่องนี้ ยังไม่ต้องตีลังกาอ่าน เนื้อหาก็สุดยอดแล้วค่ะ ความมีสติสำคัญนะคะ เราจะได้รู้ว่าตอนนี้เราทำอะไรอยู่

สาธุ...............ขอให้บรรลุมรรคผลนะครับ......................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท