dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

งานวิจัย : การอ่านของคนไทย


การวิจัยเกี่ยวกับการอ่านของคนไทย

                                     วิจัย สถานการณ์การอ่านของคนไทยในปี  2552

 

                  การทำให้คนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นต้องเริ่มตั้งแต่คนเรายังเป็นเด็กเล็กๆ คือต้องเริ่มตั้งแต่การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย  และผู้ที่อบรมเลี้ยงดูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกฝังการรักการอ่านอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของเด็ก   ไม่ใช่การสอนเขียนอ่านอย่างเป็นทางการในตอนแรก  เพราะเด็กเรียนรู้จากการเล่น  กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้กระทำ หรือได้ลงมือปฏิบัติอย่างมีความสุข มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน  พร้อมกับการเรียนรู้ไปด้วย  จากผลการวิจัยซึ่งจะกล่าวต่อไป  เป็นโจทย์ที่ท้าทายให้พวกเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่หรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ร่วมมือกันดำเนินการไปสู่เป้าหมายคือคนไทยมีพฤติกรรมรักการอ่าน  สำหรับผลการวิจัยเกี่ยวกับการอ่านของคนไทยที่ว่า คนไทยอ่านเฉลี่ย  94 นาทีต่อวันนั้น ทำโดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้( ทีเคปาร์ค)  กับคณะครุศาสตร์  จุฬาฯ   ทำวิจัยเรื่องการศึกษาสถานการณ์การอ่านและดัชนีการอ่านของคนไทยปี  2552  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  5865 คน   มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย 156 คน  และศึกษารณีผู้ที่มีนิสัยการอ่านสุดโต่งทั้งกลุ่มที่ชอบอ่านและไม่ชอบอ่านอีก  191  คน  ครอบคลุม  13 จังหวัด  ทุกภูมิภาคของไทยผลการวิจัยสะท้อนพฤติกรรมาการอ่านของคนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 94 นาทีต่อวัน   โดยเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างในการอ่านมากที่สุด  ขณะที่คนอายุ  49  ปีขึ้นไปใช้เวลาว่างอ่านน้อยที่สุด  อาชีพข้าราชการใช้เวลาว่างอ่านหนังสือมากที่สุด ส่วนอาชีพอื่น ๆ  เช่น ภิกษุ  แม่บ้าน  ทหารเกณฑ์ใช้เวลาว่างอ่านน้อยที่สุด    ส่วนผลการวิจัยที่จะขอกล่าวเพิ่มเติมเป็นเรื่องที่ตั้งของถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกันพบว่า  ผู้ที่อยู่ในเขตเมืองมีดัชนีการอ่านที่มากกว่าผู้ที่ไม่อ่านหนังสือที่อยู่ในเขตนอกเมือง  ส่วนเด็กและเยาวชนที่ไม่อ่านหนังสือมีสาเหตุจากความขี้เกียจ  แม้จะมีหนังสือและสถานที่ให้อ่านก็ไม่อยากอ่าน  รายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างบางส่วนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเลย  จนถึงอ่านทุกวันโดยเฉลี่ยอ่านประมาณ  4  วันต่อสัปดาห์ที่อายุน้อยกว่า  20 ปีอ่านน้อยที่สุด  เฉลี่ยประมาณ  3-4 วันต่อสัปดาห์   การศึกษาสูงกว่า

ปริญญาตรีอ่านมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ  5-6  วันต่อสัปดาห์ ส่วนระดับประถมศึกษาน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ  3-4 วันต่อสัปดาห์  อาชีพรับราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน  มีจำนวนเรื่องที่อ่านใน  1  สัปดาห์  มากที่สุดเฉลี่ยประมาณ  5 วันต่อสัปดาห์  ส่วนอาชีพรับจ้างและเกษตรกรน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ  3  วันต่อสัปดาห์

              ส่วนความคล่องแคล่วในการอ่านผลวิจัยพบว่า  การศึกษาระดับประถมศึกษามีความคล่องแคล่วในการอ่านน้อยที่สุด   อาชีพรับจ้าง  เกษตรกร  ภิกษุ  แม่บ้าน   และทหารเกณฑ์มีความคล่องแคล่วในการอ่านน้อยที่สุด   จากงานวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เราเห็นถึงข้อมูลของสภาพการอ่านที่สามารถนำมาพัฒนาได้ในหลายประเด็นให้กับคนไทยเรา   ที่สำคัญเราจะเตรียมสร้างให้เด็กๆรักการอ่านได้อย่างไร  ซึ่งต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพ่อแม่  ผู้ปกครองว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างสิ่งดังกล่าว   พ่อแม่ต้องมีเจตคติที่ดีต่อการอ่าน    มีสภาพทางอารมณ์ที่พร้อมในการปลูกฝังพฤติกรรมในการอ่าน   เล่นกับลูก  อ่านหนังสือให้ลูกฟัง    เล่านิทานให้ลูกฟัง    มีเวลาให้ลูก  มีความรู้พร้อมกับความรัก   ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์กับลูกด้วยภาษาท่าทางที่รักเมตตา  โอบกอดด้วยความรักและผูกพันไม่ใช่การสอนอ่านอย่างเป็นทางการ  คือ ต้องอ่านพยัญชนะ  สระ   หรือสะกดคำให้ได้   และไม่ใช่การสอนอ่านอย่างเข้มงวด   ถ้าทุกครอบครัวหรือครอบครัวส่วนใหญ่ร่วมมือกันทำให้ได้อย่างจริงจัง  จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการอ่านของเด็กไทยตั้งแต่แรกซึ่งจะส่งผลต่อสถานการณ์การอ่านที่ดีขึ้นหากมีการสำรวจครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 413728เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2010 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ดีครับ ผมเชื่อว่าการอ่านทำให้มีอำนาจในการควบคุมตนเองครับ อิอิ

การที่ให้คนไทยอ่านได้มากขึ้นก็ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆให้เป็นคนรักการอ่านโดยเริ่มจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ต่อมาก็ครู แต่ที่ดีที่สุดคือตัวของเด็กเองที่จะเลือกให้ตัวเองเป็นคนที่มีนิสัยรักการอ่าน

การอ่านคือสิ่งที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการดำรงชีวิต เพราะถ้าอ่านไม่ออก ก็คงจะเขียนไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไทยหันมารักการอ่านมากขึ้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับ การสอนของครู ว่ามีวิธีเร้าความสนใจหรือกระตุ้นให้เด็กไทยรักการอ่านมากอย่างไร ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครองด้วยมีความร่วมมืออย่างไร ถ้าเวลานักเรียนมาเรียนแล้วตั้งใจเรียนตั้งใจอ่าน แต่ถ้ากลับไปบ้านผู้ปกครองปล่อยไม่สนใจเด็กก็จะไม่อ่านไม่สนใจเช่นกัน จึงต้องร่วมมือกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง

อ่านกี่วันต่อสัปดาห์ คำว่าวันเนี่ย หมายถึงอะไรครับ อ่านทั้งวัน หรือ หนึ่งวันอ่าน 1 นาที ก็นับว่าหนึ่งวัน

การอ่านคือการที่เราจะเข้าใจถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลของเนื้อหานั้น แต่ถ้าเราอ่านไม่ได้แล้วเราจะเข้าใจเนื้อหาได้อย่างไรและไม่สามารถที่จะตอบคำถามของเนื้อหานั้นได้หรือสามารถถ่ายทอดความรู้ของเนื้อหานั้นให้ผู้อื่นได้

ชิษณุพงศ์ วรรณเกษม

การอ่านคือการที่เราจะเข้าใจถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลของเนื้อหานั้น แต่ถ้าเราอ่านไม่ได้แล้วเราจะเข้าใจเนื้อหาได้อย่างไรและไม่สามารถที่ตอบคำถามของเนื้อหานั้นได้หรือสามารถถ่ายทอดความรู้ของเนื้อหานั้นให้ผู้อื่นได้ ดั้งนั้นจะเห็นว่าการอ่านมีความสำคัญต่อทุกเพศทุกวัย

เห็นด้วยค่ะ เนื่องจากปัจจุบันนี้เด็กอ่านหนังสือไม่ออกจำนวนมาก จึงส่งผลกระทบต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ในการนี้โรงเรียนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้มากขึ้น และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กด้วย

และผู้ปกครองควรสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก เช่น อ่านหนังสือนิทานให้ฟังก่อนนอน จัดหนังสือไว้ทั่วมุมของบ้าน เป้นต้น

เชื่อว่าการอ่านให้อะไรมากกว่าในสิ่งที่อ่าน แต่ยังสามารถนำไปคิดวิเคราะห์และพัฒนาตนเองและประเทศชาติได้

นางมยุรี ภูทองอูบ

ชอบมากค่ะ ทำให้ทราบถึงประโยชน์ของการอ่านนิทานให้เด็กนักเรียนฟัง

การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่เสริมสร้างหรือพอกพูนสติปัญญาของผู้อ่านได้ง่ายที่สุด แต่ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้คนไทยหรือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่อยากอ่านหนังสือหรือตำราเพราะว่ามีแต่ตัวหนังสือเต็มไปหมด ไม่มีสีสัน ถ้าตำราไทยมีรูปภาพ แผนผัง บล็อก และมีสีสันสวยงาม น่าจะดึงดูดให้เด็กหันมาอ่านหนังสือมากขึ้นครับ

รัชฬิการตริ์ โพธิ์วาปี

การอ่านนับเป็นปัจจัยและมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆที่ทันต่อเหตุการณ์ เด็กในปัจจุบันอ่านน้อยลงดูได้จากการเรียน เด็กบางคนเรียนอยู่ชั้นที่ควรอ่านได้แล้ว ยังไม่สามารถที่จะอ่านได้ ดังนั้นครูและผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน เช่น มีการจัดมุมหนังสือที่น่าอ่านไว้ที่บ้านและที่โรงเรียนให้เด็กได้หยิบอ่านบ่อย ๆ

                                              

ผมคิดว่า การรับสารหรือรับข้อมูลผ่านการอ่าน นับเป็นการใช้ภาษาที่ผู้อ่านต้องผ่านกระบวนการคิด การสร้างความหมาย และการตีความ ทำให้การอ่านเป็นกระบวนการใช้ภาษาที่ค่อนข้างซับซ้อน และที่สำคัญคือ กระบวนการคิดและการกลั่นกรองที่ทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดความคิดและต่อยอดความรู้ได้เอง  ดังนั้นเราควรจะปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของคนไทย ตั้งแต่ในวันนี้ มิเช่นนั้น ประเทศชาติ ก็จะยังคงไม่เจริญก้าวหน้า

เห็นด้วยกับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็ก เพราะทำอย่างนี้เป็นประจำจะทำให้ติดเป็นนิสัย และวิธีที่จะทำให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านก็น่าจะเป็นการตั้งโจทย์ว่า"วันนี้ใครอ่านหนังสือมาบ้างเอ่ย" ออกมาเล่าให้ครูฟังทีละคน ใครจะออกมาเป็นคนแรกนะ (แต่ต้องออกมาเล้าทุกคนนะ) เมื่อเด็กเล่าแล้วก็ให้เพื่อนๆ ช่วยกันแสดงความคิดเห็นทำให้มีส่วนร่วมในห้องเรียนอีกด้วยค่ะ

เราควรปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ อาจจะมีมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กเช่น มุมหนังสือ เพื่อที่จะสามารถให้เด็กหยิบอ่านได้ แล้วก็จะพัฒนาไปถึงเด็กประถม เด็กก็จะมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น ครูก็จะมีสมุดบันทึกการอ่านให้เด็กทุกคนเพื่อทำการบันทึกทุกวัน และทางผู้ปกครองก็ควรมีส่วนร่วมในการอ่านหนังสือของเด็กด้วย เพื่อปลูกฝังและพัฒนาให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น

นางสาวราตรี โกมลเปริน

การอ่านมีความสำคัญมากและผู้ปกครองควรที่จะปลูกฝังเด็กให้อ่านหนังสือเพื่อให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน  และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่านหนังสือ  เพื่อให้เด็กอ่านหนังสือตาม

การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กมีประสบการณ์และความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ผู้ปกครองก็ควรมีส่วนร่วมกับโรงเรียนและครูเพื่อปลูกฝังและพัฒนาเด็กให้มีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น

การอ่านมีคุณค่าต่อชีวิตมากมาย ถึงกับมีปราชญ์กล่าวว่า

ระวังนะ การอ่านหนังสือมาก จะทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

การทำงานหนักจะทำให้เรามีหน้าที่การอ่านดีขึ้น

และอ่านอะไรชีวิตเราก็ไปทางนั้น

ทานอะไรสุขภาพของเราก็ไปตามนั้น เช่นกัน

นำภาพเกษตรบ้านผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ระยอง มาฝากด้วยครับ


คนไทยขาดการส่งเสริมการอ่านตั้งแต่ในระดับรากหญ้า ไม่เห็นความสำคัญของการอ่าน ยิ่งในปัจจุบันมีสื่อเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกเข้ามามาก ทำให้ยิ่งไม่เห็นความสนใจของการอ่าน ควรส่งเสริมการอ่านเด็กตั้งแต่ในระดับเด็กเล็ก โดยอาจเริ่มจากการอ่านหนังสือที่เด็กชอบ อาจเป็นการ์ตูน หรือหนังสือภาพที่ชื่นชอบเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านที่ดีให้กับเด็ก ให้เกิดความเคยชิน จนติดเป็นนิสัย สอนให้เด็กรู้จักการใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง

นางสาววิไลพร นพพลั้ง

การอ่านคือการที่เราจะเข้าใจถึงเนื้อหาสาระที่เราต้องการแต่ถ้าเราอ่านไม่ได้ก็จะไม่เข้าใจในเนื้อหารที่เราต้องการได้อย่างไรดังนั้นจึงเห็นว่าการอ่านมีความสำคัญมาก

นางสาวพัชรี แลปู่น้า

เห็นด้วยค่ะ  การอ่านเป็นทักษะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารที่มีความจำเป็น ควรส่งเสริมการอ่านเด็กตั้งแต่ในระดับเด็กเล็ก โดยอาจเริ่มจากการอ่านหนังสือที่เด็กชอบ อาจเป็นการ์ตูน หรือหนังสือภาพที่ชื่นชอบเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านที่ดีให้กับเด็ก ให้เกิดความเคยชิน จนติดเป็นนิสัย สอนให้เด็กรู้จักการใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง

นางสาวรุ่งกมล ฤทธิ์น้อย

เห็นด้วยกับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็ก เพราะทำอย่างนี้เป็นประจำจะทำให้ติดเป็นนิสัย การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่เสริมสร้างหรือพอกพูนสติปัญญาของผู้อ่าน  ด้งนั้นการอ่านจึงเป็นสิ่งจำเป็น

การที่ให้คนไทยอ่านได้มากขึ้นก็ต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆให้เป็นคนรักการอ่านโดยเริ่มจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ต่อมาก็ครู แต่ที่ดีที่สุดคือตัวของเด็กเองที่จะเลือกให้ตัวเองเป็นคนที่มีนิสัยรักการอ่าน  หากการที่เด็กอ่านนั้นเพราะโดนบังคับเด็กก็จะไม่รักการอ่าน

การอ่านคือสิ่งที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการดำรงชีวิต เพราะถ้าอ่านไม่ออก ก็คงจะเขียนไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไทยหันมารักการอ่านมากขึ้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับ การสอนของครู ว่ามีวิธีเร้าความสนใจหรือกระตุ้นให้เด็กไทยรักการอ่านมากอย่างไร ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครองด้วยมีความร่วมมืออย่างไร ถ้าเวลานักเรียนมาเรียนแล้วตั้งใจเรียนตั้งใจอ่าน แต่ถ้ากลับไปบ้านผู้ปกครองปล่อยไม่สนใจเด็กก็จะไม่อ่านไม่สนใจเช่นกัน จึงต้องร่วมมือกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง  เด็กจึงจะมีคุณภาพตามที่ครูและผู้ปกครองตั้งใจอยากให้เป็น

จันทิมา บรรดาศักดิ์

การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็ก ให้เด็กอ่านหนังสือได้จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ทุกวิชา  เพราะหากอ่านไม่ออกก็จะทำให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง   ผู้ปกครองก็ควรมีส่วนร่วมกับโรงเรียนและครูเพื่อปลูกฝังและพัฒนาเด็กให้มีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น  เพื่อในวันที่เด็กโตขึ้นนั้นหากมีนิสัยรักการอ่าน  ก็จะทำให้เด็กเป็นผู้รอบรู้

ครูและผู้ปกครองนั้น  เป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในการช่วยพัฒนาเด็กในทุกด้าน  รวมทั้งการอ่านด้วย  เพราะการอ่านคือการที่เราจะเข้าใจถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลของเนื้อหานั้น แต่ถ้าเราอ่านไม่ได้แล้วเราจะเข้าใจเนื้อหาได้อย่างไรและไม่สามารถที่ตอบคำถามของเนื้อหานั้นได้หรือสามารถถ่ายทอดความรู้ของเนื้อหานั้นให้ผู้อื่นได้ ดั้งนั้นจะเห็นว่าการอ่านมีความสำคัญต่อทุกเพศทุกวัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท