KM_Md_KKU มุมมองคนตัวเล็ก (3) >>> ถอดบทเรียน KM Forum ครั้งที่1 ด้านการเรียนการสอน : “วิจัยในชั้นเรียน” (2) เรื่องเล่าจากอ.ประนอม


การแก้ปัญหาในชั้นเรียน อาจไม่ได้คำตอบในครั้งเดียวของการทำวิจัย อาจตามมาด้วยการหาคำตอบไปเรื่อยๆ เป็นการนำปัญหานั้นๆเข้าสู่กระบวนการ Plan-Act-Observe – Reflect Cycle

Classroom Research(วิจัยในชั้นเรียน)

 

รศ.พญ.ประนอม บุพศิริ หรือ อ.ประนอม เริ่มจากคำถามว่า

“พวกเรามองภาพนี้ว่าอย่างไร”

ภาพนี้สะท้อนภารกิจของผู้เป็น “ครู” ได้เป็นอย่างดี

และเมื่อเปิดประเด็นเรื่องของ “ครู” ก็ได้รับทราบ “หัวอกของผู้เป็นครู” ซึ่ง “ครู” มิใช่เพียงแต่เป็นผู้บรรยายในห้องเรียน แต่ผู้เป็นครูทางการแพทย์ที่ต้องสอนศิษย์ด้วยการแสดงให้เห็น กระทำให้ดู ซึ่งบางคราวเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ป่วยที่พลาดไม่ได้อีกด้วย

นี่คือภารกิจหนักของครู...ที่ยิ่งกว่ามดตัวนี้

“วิจัยในชั้นเรียน คืออะไร?”.......

 

“ทำไมถึงต้องทำ Research?”

 

“ลักษณะของการทำวิจัยในชั้นเรียน”

 

“ประเด็นที่ทำการศึกษา”

 

“ขั้นตอนในการทำวิจัย”

การแก้ปัญหาในชั้นเรียน อาจไม่ได้คำตอบในครั้งเดียวของการทำวิจัย อาจตามมาด้วยการหาคำตอบไปเรื่อยๆ เป็นการนำปัญหานั้นๆเข้าสู่กระบวนการ Plan-Act-Observe – Reflect Cycle

“การออกแบบงานวิจัย” มีหลายรูปแบบให้เลือก ซึ่งก็คงแล้วแต่ปัญหาที่เกิดและแนวทางการแก้ปัญหาที่เราคิดจะทำ

“เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล” อาจใช้

  1. การสังเกตการณ์(Observation)
  2. แบบสอบถาม(Questionnaires)
  3. การสัมภาษณ์(Interview)
  4. การทดสอบ(Test)

“การวิเคราะห์ข้อมูล”

  1. Qualitative analysis ; idea, words
  2. Quantitative analysis ; graph, statistic T-test, Chi-square test

ที่สำคัญคือ

  1. Is there any change after intervention?
  2. How does it works?
  3. If it does not work, why?
  4. What is the new plan?

 

จากนั้นอาจารย์เล่าตัวอย่างที่อาจารย์มีประสบการณ์ ว่า

จากการจัดให้ นศพ.ปีที่ 4 เข้าร่วมฟังวิชาการของภาควิชาสูติฯที่จัดทุกวันพุธ โดยให้เข้าฟังร่วมกับ พชท.และ พจบ. มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Morbidity & Motality conferences, Problem case discussion, Interesting case และ Louncheon symposium อาจารย์สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในชั้นเรียนพบว่า นศพ.มักหลับ ในชั่วโมง เป็นที่มาของคำถาม “ทำไมเด็ก(นศพ.ปี4)หลับในห้องเรียน?”

อาจารย์ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและสอบถามถึงรูปแบบการเรียนการสอนที่นักศึกษาต้องการ เป็นที่มาของการจัดรูปแบบการเรียนใหม่ คือให้ นศพ.ปีที่ 4 เข้าเฉพาะ Morbidity & Motality conferences จากนั้นให้แยกกลุ่มทำ Case discussion ต่างหาก เน้น EBM โดยให้นักศึกษาหา case มาเอง และนำมา discussion ร่วมกับอาจารย์และเพื่อน

ผลการศึกษาพบว่า วิธีการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจบทเรียนได้ดี 89%, อาจารย์สร้างบรรยากาศให้น่าเรียน 86% และ มีการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 89% และพบว่า นักศึกษาหลับในห้องเรียนน้อยลง

การต่อยอดเรื่องของ “วิจัยในห้องเรียน” ยังมีอีก โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

รายชื่อผู้เข้าร่วม KM Forum ครั้งที่ 1 หัวข้อ "วิจัยในชั้นเรียน"  14 ท่าน  ดังนี้ค่ะ 

  1. รศ.ประนอม บุพศิริ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ (ผู้นำเรื่อง)
  2. รศ.จินตนา สัตยาศัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  3. รศ.สุรพล วีระศิริ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
  4. ผศ.มณีวรรณ แท่นรัตนวิจิตร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
  5. รศ.ประภาวดี พัวไพโรจน์ ภาควิชาเภสัชวิทยา
  6. ผศ.ศิริมาศ กาญจนวาศ ภาควิชาเภสัชวิทยา
  7. นางอนงค์ศรี งอสอน หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ
  8. ผศ.นภา หลิมรัตน์ ภาควิชาชีวเคมี
  9. รศ.ไชยยุทธ ธนไพศาล ภาควิชาศัลยศาสตร์
  10. ผศ.ดรุณ โกฏิมนัสวนิชย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา
  11. ผศ.สริธร ศิริธันยาภรณ์ ภาควิชาพยาธิวิทยา
  12. ผศ.กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
  13. นางกฤษณา สำเร็จ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา(ผู้ถอดบทเรียน)
  14. น.ส.วิริยา แซ่ลี้ สนง.บริหารจัดการองค์ความรู้
หมายเลขบันทึก: 413041เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2010 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท