ต่อเนื่องจากเรื่องราวที่พี่นิด สสจ.จังหวัดพิจิตร ได้ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดพิจิตรผ่านการประเมินโรงพยาบาลสายใยรักระดับทองมาครบทุกแห่งแล้ว ก็ได้ต่อยอดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ลงสู่ระดับตำบล ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เราทีมศูนย์อนามัยที่ 8 จึงมีโอกาสไปพบสิ่งดีๆ จากพี่น้องเครือข่ายอีกหลายอย่างที่อยากนำมาบอกต่อ
อย่างแรกเมื่อทีมไปถึง เราจะเห็นภาพทีมของจังหวัดพิจิตร ที่มี ท่านหัวหน้ารพ.สต....สสอ....อสม. หรือบางแห่งก็เป็น อสนม...และบางหน่วยงานจะมีทีมพี่เลี้ยงจากรพช. มาด้วย เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นจุดแข็งที่เราเห็นว่า
" การทำงานโรงเรียนพ่อแม่ ถ้าให้ง่าย และลงถึงระดับรพ.สต.ได้ดีนั้น ควรเริ่มตั้งแต่ รพช.สร้างระบบร่วมกับรพ.สต. ก่อน จากนำ พี่เลี้ยงอย่างรพช.นี่ล่ะ ต้องกำหนดแผนการสอน เตรียมเอกสารเชื่อมโยงการสอน และขยายผลรวมถึงการเชื่อมโยงให้รพ.สต.ทราบเพื่อนำสู่การปฏิบัติในภาพรวมทั้ง cup และถ้าต่อยอดลงสู่ อสม./อสนม. ก็ง่ายขึ้น"
อย่างที่สอง ความมุ่งมั่นของบุคลากรทุกระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่เอง หรือ อสม./อสนม. มีใจที่จะบอก ที่จะสอน การเตรียมบุคลากรจึงเป็นประเด็นที่ท้าทายของเจ้าหน้าที่ในรพ.สต. ทั้งตัวเองจะไขว่ขว้าหาความรู้ update จากไหน แล้วไหนจะต้องพัฒนาทีมอสม./อสนม.ด้วย เพราะเค้าคือตัวแทนสำคัญของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่น้อยนิดในการจะลงสู่ประชาชนได้มากกว่าเรา เพราะฉะนั้นควรมีการคัดเลือกอสม./อสนม.ที่มีความรู้ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะในการดูแลแม่และลูก จุดแข็งที่เราพบจาก ที่นี่
" เจ้าหน้าที่อยากอบรม อยากพัฒนาในขณะเดียวกัน หัวหน้า.ก็สนับสนุนให้งบประมาณไปอบรมในส่วนของค่าเดินทาง และเบี้ยเลี้ยง เพราะศูนย์ฯไม่มีงบประมาณสนับสนุนในส่วนนี้ จึงแจ้งกับสสจ.ทราบเพื่อบริหารจัดการบุคลากรมารับการอบรมที่ศูนย์ฯจัดให้ แล้วแผนที่ตั้งไว้ก็คือ แล้วแต่พื้นที่จะจัดสรรเองว่าจะส่งใครไป แต่ที่พิจิตร ได้ให้โอกาสน้องๆถึงระดับรพสต.ไปอบรม ทั้งๆที่แผนของศูนย์ฯ ตั้งเป้าไว้ในระดับรพช.เท่านั้น"
อย่างที่สาม คือ สื่อสนับสนุน สวยงาม และน่าสนใจ ที่ได้รับสนับสนุนจาก หลายแห่ง ให้เราๆ ชาวศูนย์ฯ ไปเห็นแล้วตาโต เพราะศูนย์ฯ ไม่เคยได้เลย ทั้งๆที่บางอย่างเป็นของกรมอนามัยเองแท้ๆ
" เรื่องของสื่อได้ฝากแง่คิดไว้นิดเดียว คือ สื่อควรเน้นเป็นภาพมากกว่า ตัวหนังสือ และควรเป็นสื่อภาพที่ถูกต้อง เป็นต้นแบบด้วย โดยเฉพาะสื่อที่ต้องพึงระวัง สื่อ สื่อเรื่องนมแม่ ท่าอุ้มต้องถูกต้อง ไม่มีภาพขวดนม ไม่มีโลโก้นมผสม และเด็กน้อยไม่ควรใส่ถุงมือ และสื่อต้องใช้งานได้จริง"
เพราะเรามักเต็มที่อยากให้ความรู้ แต่ลืมไปว่ากลุ่มภาคประชาชนเราไม่ค่อยนิยมการอ่านหนังสือ เพราะฉะนั้น อย่าลืมว่า สื่อที่เราทำนั้น เพื่อให้ประชาชนอ่านนะจ๊ะ
อย่างที่สี่ คือ มุมพัฒนาการเด็ก ที่จัดไว้อย่างสะอาด สวยงาม เข้าถึงง่าย
แต่สิ่งนึงที่ศูนย์ฯฝากแง่คิดไว้คือ การสอนในเด็กขอให้เน้นนิทาน มากว่าการอ่าน ก.ไก่ข.ไข่ หรือ A B C เพราะจะสร้างความเครียดให้เด็ก และไม่ก่อให้เกิดจินตนาการ และบางแห่งการมีโครงการ Book start ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ก็อยากให้เกิดความยั่งยืน ก็คือ น่าจะจัดทำมุมห้องสมุดเล็กๆ เป็นตู้หนังสือ ตู้นิทานที่ให้ยืมกลับบ้านได้ หมุนเวียนกันใช้
และนี่คือ โฉมหน้า พี่นิด สสจ.พิจิตร ผู้ประสานงานสายใยรัก ร่วมกับศูนย์ฯ เราที่ได้ผลักดันและเห็นความสำคัญงานสายใยรัก และต่อยอดงานโรงเรียนพ่อแม่ในระดับรพ.สต. ที่ทำให้ทีมงานเรามีความสุข ที่เราทำงานง่ายมากในจังหวัดพิจิตร และไปเมื่อไรเราก็จะเห็นพัฒนาการที่ดีของพี่ๆน้องๆในจังหวัดพิจิตรตลอด งานนี้ไม่ได้ใต้โต๊ะมาเชียร์กันเองนะค่ะ เรื่องจริงที่ขอบอกต่อ เป็นภาคที่ 1 ก่อนแล้วกันนะคะ
สวัสดีค่ะ
ขอเป็นกำลังใจคนทำงานเพื่อความสุขของประชาชนค่ะ จริงด้วยค่ะ ภาคประชาชนไม่ค่อยอ่านหนังสือ หากเป็นโปสเตอร์ก็ดูผ่านตา ไม่เกิดกับตัวเอง ก็ผ่านไป ไม่คิดต่อค่ะ
คุณครู คิม นพวรรณ ค่ะ เรื่องของสื่อที่เราตั้งใจให้ ก็เลยบอกพี่ๆ น้องๆ ไว้ว่าประเมินผู้รับบริการด้วยว่ารับไปแค่ไหน
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและเอกสารที่ส่งให้นะคะ
กิจกรรมน่าสนใจดีค่ะ
เริ่มเข้ามาหน้านี้ในฐานะคนเป็นแม่คนนึง แต่พออ่านไปเรื่อยๆ
ยิ่งทำให้สนใจมากขึ้น อาจเป็นเพราะทำงานด้านบริการสุขภาพ
ดังนั้นจึงขอเป็นกำลังใจให้ และขอติดตามผลงานต่อไปค่ะ
อ่อ อยากรบกวนขอรายละเอียดการทำโครงการไว้ดูเป็นแนวทางด้วยได้ไหมคะ ลิงค์ก็ได้ค่ะ ที่ keng_pt_hcu@hotmail.com ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ